Skip to main content

อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”


แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร

 

ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ

 


ที่บ้านตีนผา บ้านหลังดอยอินทนนท์ ชาวบ้านส่วนหนึ่งปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด และในช่วงหน้าแล้งก็ทำอะไรไม่ได้เพราะขาดน้ำ จึงต้องออกไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน บางคนเดินทางเข้าเมือง


เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ถูกกำหนดเงื่อนไขจากภายนอกชุมชน ไม่สามารถอยู่รอดด้วยเศรษฐกิจภายในชุมชน หรืออยู่แบบพึ่งตนเองไม่ได้เหมือนเดิม


แต่หมู่บ้านนี้ยังรักษาความเขียวของหมู่บ้านเอาไว้ได้บางส่วน คือบริเวณที่เป็นชุมชนตั้งบ้านเรือน และผู้คนส่วนหนึ่งทำการเกษตรผสมผสาน

 

ชาวบ้านตีนผามีที่ดินทำกินไม่มากนัก ครอบครัวหนึ่งประมาณ 5-6 ไร่ มีเพียงหนึ่งหรือสองครอบครัวที่มีมากที่สุดคือ 15 ไร่ ทุกครอบครัวจะปลูกข้าวเป็นหลัก ทั้งนาข้าวและข้าวไร่ ดังนั้นทุกครอบครัวจึงมีข้าวกิน


แม้จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือปลูกพืชชนิดอื่น แต่พื้นที่ส่วนหนึ่งต้องกันไว้ปลูกข้าว เพราะการมีข้าวกินคือหลักประกันของชีวิต

ซื้อแต่เกลือกับผงชูรส อย่างอื่นไม่ซื้อก็อยู่ได้ มีพริกมีผัก” พะตีคนหนึ่งว่า

 

หลายครอบครัวหันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และประสบกับปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะลงทุนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ปุ๋ยมีราคาสูง ในทุกปีการใช้ปุ๋ยจะเพิ่มขึ้นเพราะพื้นดินเสื่อมลงเรื่อยๆ ดินแข็งและแห้ง นอกจากปุ๋ยแล้วยังต้องใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงด้วย อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวโพดก็ราคาตกต่ำลงด้วย


ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีอัตราการแลกเปลี่ยนปุ๋ยกับข้าวเปลือก คือปุ๋ยหนึ่งกระสอบต่อข้าวเปลือก 13 กระสอบ และหากซื้อเป็นเงินก็ 1,300 บาท

 

อย่างเช่น ชุมพล และผ่องศรี นัดดาศรี สามีภรรยาที่มีลูกชายสองคน


ผ่องศรีบอกว่า “ปีนี้ทำข้าวสองไร่ครึ่ง แค่พอกิน แต่ยังต้องปลูกข้าวโพดอยู่เพราะว่ามีหนี้เยอะ เผื่อข้าวโพดราคาดีจะได้ใช้หนี้ เป็นหนี้จากซื้อรถมอเตอร์ไชค์ ไปยืมเงินของญาติพี่น้องมาซื้อก็เลยติดหนี้ญาติพี่น้องหลายราย ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะลูกป่วยบ่อย ไปโรงพยาบาลบ่อย เป็นโรคหืดหอบ”

 

แต่ชุมพลสามีของเธอบอกว่า “ข้าวโพดราคาตกต่ำเหลือ 4 บาท คิดแล้วไม่คุ้ม ปีนี้ขาดทุนเพราะปุ๋ยแพง ราคาข้าวโพดถูก ใช้ปุ๋ยไป 11 กระสอบ กระสอบละ 1,300 บาท ที่คิดว่าจะใช้หนี้ก็ไม่ได้ใช้”

 

หนี้สินของผู้คนที่นี่ส่วนหนึ่งมาจากการกู้เงินกองทุนของรัฐบาล เช่น กองทุน กขคจ (กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน) แต่กลายเป็นหนี้กัน

 


ชาวบ้านตีนผาส่วนหนึ่งจึงหันกลับมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน แทนพืชเชิงเดี่ยว อย่างเช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนายยืนยง ลำเนาพงศ์ไพรงาม

 

 

ผู้ช่วยเล่าว่า “เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือปลูกข้าวโพด ปลูกอยู่ปีเดียวและเลิกกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเก่าเพราะคิดดูแล้วไม่คุ้ม มันเป็นของคนอื่น จะเอาของคนอื่นมาเป็นของเราจะได้อย่างไร ทุกอย่างเป็นของเขาหมดเลย”


ผู้ช่วยยืนยงกลับมาทำการเกษตรผสมผสานเหมือนเดิม ทำข้าวไร่ ปลูกผักต่างๆ ไว้กินและขาย ในสวนของผู้ช่วยมีทั้งถั่ว มะเขือ และที่มีมากเป็นไร่ๆ คือ ฟักทอง และเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ


การกลับมาทำการเกษตรผสมผสานหรือการทำเกษตรยั่งยืนน่าจะเป็นทางรอดหนึ่งเพราะเป็นการพึ่งตนเองมากกว่าการพึ่งตลาดภายนอก ปลูกเพื่อกินก่อนที่จะปลูกเพื่อขาย ทำปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี และหยุดการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีใด ๆ ในการเร่งผลผลิต ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรก็ลดน้อยลง

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย