Skip to main content

20080214 ป้ายป่าชุมชนบ้างแม่เหียะใน

เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน

หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร

แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน
“ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก
“อือ...แสดงว่าท่านเข้าใจ” ฉันแสดงความคิดเห็น
ฉันคิดว่าเพียงแค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและชาวบ้าน

เมืองไทยเราเรื่องพื้นที่อุทยานกับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานมีปัญหาจริง ๆ เคยคุยกับเจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ พวกเขาบอกว่า พวกเขารับหน้าที่ในการดูแลป่า ดูแลพื้นที่ป่าภายใต้กฎหมาย เขาต้องรักษาป่าไว้ให้มากที่สุด

แต่ในเมืองไทยเรานั้น มีผู้คนอาศัยอยู่ในป่ามากมาย หรือเรียกว่าทุกแห่งนั่นแหละ ข้อหนึ่งที่ถกเถียงกันอยู่เสมอคือ ชาวบ้านบอกว่ามาอยู่ก่อนที่อุทยานจะประกาศพื้นที่  การพิสูจน์การเข้ามาอยู่ก่อนหลังจึงเป็นข้อเสนอหนึ่ง แต่ดูเหมือนกับว่าการพิสูจน์แบบนี้ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก เพราะว่าคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นไม่ว่าจะมาก่อนหรือหลัง ส่วนใหญ่เขาก็ไม่อยากย้ายออกจากบ้านที่เคยอยู่  หรือถ้าย้ายก็ต้องเป็นที่ซึ่งทำมาหากินได้  ปลูกผักปลูกข้าวได้ หรือหาของป่า เท่าที่ฉันไปเที่ยวดูจากที่ต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ของชนเผ่า ในพื้นที่อุทยานและไม่ใช่คนชนเผ่า พวกเขาจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นป่าใช้สอยพื้นที่ทำกิน ป่าอนุรักษ์  ถ้าเป็นชนเผ่าก็มีป่าที่ใช้สำหรับพิธีกรรมด้วย เท่าที่รู้ป่าพิธีกรรมเขาจะไม่ตัดไม้อยู่แล้ว และได้ไปดูพื้นที่ที่ถูกย้ายออกมา และกำลังจะถูกย้าย ที่ถูกย้ายออกมานั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องที่ทำกิน คือที่ซึ่งย้ายออกมาทำกินไม่ได้ แห้งแล้ง มีที่เพียงนิดเดียว ที่ซึ่งฉันไปดูมาชื่อบ้านลีซูหัวน้ำ แม่อาย อันนี้ย้ายลงมารวมกันข้างล้างและมีปัญหาไม่มีที่ทำกิน อดอยาก  กับอีกแห่งหนึ่งที่ไปดูมา คือบ้านนาอ่อน ช่วงที่ไปนั้นพวกเขากำลังจะถูกย้าย แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนดี ทั้งสองแห่งเป็นที่อยู่ของชนเผ่า

ส่วนที่บ้านแม่เหียะในนั้น ก็เหมือนกัน อยู่ในพื้นที่อุทยานเหมือนกัน แต่ต่างที่ไม่ใช่ชนเผ่าไม่ใช่ชาวเขา และพื้นที่ป่าบ้านแม่เหียะเป็นพื้นที่ใกล้เมืองมาก ๆ หรือเรียกว่าผืนป่าที่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด  

ที่บ้านแม่เหียะในมันเป็นหลายเรื่องหลายกรณีมาก ๆ  มีจำนวนมากที่เป็นคนเก่าแก่ดั้งเดิมคืออยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แต่มีอยู่จำนวนหนึ่งมาอยู่ใหม่ และบางคนถูกหลอกมา เขาหลอกว่าไม่นานก็จะได้เอกสารสิทธิ์หรือว่าไม่มีใครเขามาไล่หรอก อยู่ไปเถอะ อย่างนี้เป็นต้น

ยังมีปัญหาเรื่องขายที่ดินซ้ำซ้อน ทั้งที่ไม่มีสิทธิ์ขาย คือขายคนหนึ่งแล้วไปขายอีกคนหนึ่ง เพราะการซื้อขายไม่มีหลักฐานใด ๆ ซื้อขายแบบไปชี้ ๆ เอามา  ดังนั้นเมื่อมีเรื่องราวก็ไปฟ้องร้องเอาผิดกันไม่ได้  นอกจากฟ้องร้องฉ้อโกงกันเท่านั้น

20080214 ภาพถนน มีต้อไม้เต็มสองข้างทาง

เห็นไหมเมื่อเข้าไปดูรายละเอียดมันมีเรื่องมากมาย และคนแบบนี้แหละที่ทำให้ส่วนรวมเสีย การที่จะต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐในที่อยู่อาศัยก็ยากขึ้น หรือไม่สามารถทำได้

การจัดการป่าในเมืองไทยเป็นเรื่องยากมากจริง ๆ จัดการตามหลักกฎหมายอย่างเดียวก็ไม่ได้ ครั้งจะเรียกร้องให้คนดูแลป่า ก็ต้องมาดูรายละเอียดกันว่า คนของเราหรือประชาชนเราพร้อมหรือยัง

เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า เธอมีเพื่อนเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และยืนยันว่าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายดี ทำงานอย่างตั้งใจ เรียกว่ามือสะอาด เขาบอกว่า ชาวบ้านยังไม่พร้อม

แต่ก็มีบางแห่งที่พร้อม ดังนั้นก็ต้องพิจารณาเป็นกรณี  ๆ อย่างเช่นบางชุมชนชาวบ้านเข้มแข็ง จัดการป่าได้จริง เขามีกฎระเบียบของหมู่บ้าน และพิสูจน์แล้วว่า ทำได้อยู่ได้อย่างยาวนาน อย่างน้อยก็ห้าปีสิบปี ของจริงของปลอมมันพิสูจน์กันได้ และหากว่า ต่อไปไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ได้ก็เพิกถอนสิทธิ์ได้ อย่างนี้เป็นต้น แต่สิทธิในการซื้อขายคงจะไม่ได้ แต่มีสิทธิในการครอบครองชั่วลูกหลาน เป็นมรดกตกทอดได้ เพราะเมื่อสิทธิในการซื้อขายเกิดขึ้น ทันทีที่กลุ่มทุนเข้าไป วอดวายแน่ โครงการยักษ์ใหญ่นี่แหละน่ากลัวมาก  เพื่อนบอกอย่างนี้

ส่วนที่บ้านแม่เหียะนั้น จากการพูดคุยกับชาวบ้าน เขาบอกว่า “พื้นที่อุทยานดอยสุเทพนั้น ไนท์ซาฟารีเอาพื้นที่ไปใช้เท่าไหร่ พืชสวนโลกเอาไปเท่าไหร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอาไปใช้เท่าไหร่ รวมแล้วส่วนอื่นขอใช้พื้นที่ได้นับพันนับหมื่นไร่ ชาวบ้านทั้งที่อยู่ก่อนและอยู่ใหม่ขอใช้พื้นที่อยู่อาศัยไม่ได้หรือ  ทำไมมารังเกียจชาวบ้าน ถ้าจะจัดการก็ต้องจัดการให้เหมือนกัน ดูเถอะในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอื่นมีไฟฟ้าใช้ แต่ส่วนของชาวบ้านไม่มี พื้นที่ใกล้ ๆ อย่างไนท์ซาฟารีก็มีไฟฟ้าใช้ ส่วนที่มหาวิทยาลัยก็มีไฟฟ้าใช้”  เออ...ก็จริงของเขาเหมือนกัน
 
บ้านแม่เหียะในเป็นหมู่บ้านลับตาจริง ๆ หากว่าไม่มีโครงการพืชสวนโลกกับไนท์ซาฟารี บ้านแม่เหียะในก็ไม่ได้ถูกเปิดตัวขึ้นมาแน่นอน

ฉันรู้จักบ้านแม่เหียะในครั้งแรก จากโครงการอุทยานช้าง ที่เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการไนซาฟารี ฉันเข้าไปเพราะถูกชวนไปปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ต่อมามีการคัดค้านอุทยานช้าง ชาวบ้านในพื้นที่แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทั้งที่เห็นด้วยอยากได้อุทยานช้าง เพราะเชื่อว่าหากมีอุทยานช้างเข้ามาพวกเขาจะได้ทำมาค้าขายกับนักท่องเที่ยว และความเจริญต่าง ๆที่เข้ามา แต่บางคนบางกลุ่มก็กลัวว่า จะไม่ได้ใช้ประโยชน์กับการท่องเที่ยวจริง อาจจะมีการประมูลมาจากข้างนอก และไม่แน่ใจว่า พวกเขาจะถูกย้ายออกจาพื้นที่หรือไม่เมื่อมีโครงการใหญ่ใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งกลัวเรื่องขี้ช้างจำนวนมากที่อาจจะทำให้อากาศเสีย หรือน้ำเสีย  

ตอนนี้โครงการนี้หยุดลง แต่ไม่แน่ว่าจะกลับมาในรัฐบาลชุดใหม่ ยุคนายสมัคร สุนทรเวชหรือไม่ และชาวบ้านต้องการโครงการเหล่านั้นจริงหรือไม่ 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย