Skip to main content

ในสังคมที่ปืนเป็นใหญ่ ตรรกะมักบิวเบี้ยวผิดเพี้ยนไปเสมอเพราะการถกเถียงอย่างเสรีมักทำมิได้

หลายวันที่ผ่านมา ผู้นำคณะรัฐประหาร คสช.และผู้นำรัฐบาลทหาร (ซึ่งหลายคนคือคนๆเดียวกัน) ได้เรียงคิวกันออกมายืนยันผ่านสื่อว่ารัฐบาล และ คสช.ไม่มีการชี้นำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ในการพิจารณาถอดถอนนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกรณีทุจริตจำนำข้าว

  เสียงยืนยันยิ่งถี่และซ้ำมากเพียงไร ความพิกลพิการของการใช้ตรรกะในเรื่องนี้ของคนจำนวนมิน้อยก็ยิ่งเด่นชัดขึ้น ดังจะเห็นได้จากข้อสังเกตสองประเด็นเรื่องการใช้ตรรกะดังต่อไปนี้:


1)ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

ผิดก็ว่ากันไปตามผิด’ นั้นฟังดูดี แต่กรณี สนช. ถูกตั้งโดยหัวหน้าคณะรัฐประหาร หรือ คสช.ที่ยึดอำนาจรัฐบาลที่ยิ่งลักษณ์เคยเป็นหัวหน้า แล้วมาพิจารณาถอดถอนยิ่งลักษณ์ ทำอย่างไรย่อมหลึกเลี่ยงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนและไม่ชอบธรรมได้ (ไม่ว่ายิ่งลักษณ์จะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม ซึ่งน่าเสียดาย แทนที่จะทำกระบวนการให้ชอบธรรมและเป็นกลางอย่างแท้จริง)

สำหรับผู้ที่ห่วงเรื่องความเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องความเป็นกลางของ สนช. เพราะผู้นำ คสช.คัดสรรแต่งตั้งมากับมือ

ผู้อ่านสามารถมั่นใจได้เพระในจำนวนสมาชิก สนช. 220 คน มีทหารทั้งที่เกษียณและยังรับราชการอยู่ถึง 109 คน

หรือเปรียบเทียบอีกวิธีก็เหมือนการที่รถสองคันชนกัน แล้วต่างฝ่ายต่างบอกว่าฝ่ายตนถูก อีกฝ่ายผิด มันจะยุติธรรมไหมหากฝ่ายหนึ่งจะตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อตัดสินคู่กรณีว่าผิดหรือไม่  ใครช่วยบอกทีว่าการที่คู่กรณีอย่าง คสช.ล้มรัฐบาลที่ยิ่งลักษณ์เคยเป็นหัวหน้าแล้วแต่งตั้ง สนช.มาพิจารณาตัดสินถอดถอนยิ่งลักษณ์มันจะเป็นกลาง ชอบธรรม หรือเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างไร?


2)ปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน

ใครทำผิดก็ควรว่ากันไปตามกฎหมาย’ นั้นฟังดูดี แต่ถ้า ‘คนดี’ ก่อรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญกลับสามารถนิรโทษตนเองได้ ไม่เป็นไร
มันเป็นเหตุเป็นผลไหม?
หรือลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ก็ได้
สภาจากการเลือกตั้งพยายามแก้รัฐธรรมนูญ = พยายามล้มล้างการปกครอง
แต่ทหารฉีกรัฐธรรมนูญ = ไม่เป็นไร


สรุป: ในสภาพที่ปืนเป็นใหญ่ ตรรกะมักเป็นตกเหยื่อรายแรกๆ แม้อำนาจปืนทำให้บ้านเมืองดูสงบ แต่ก็เป็นความสงบจอมปลอมชั่วคราวภายใต้ความกลัวกระบอกปืน แม้คนจำนวนมากจะมิกล้าหรือสามารถถกเถียงดังๆ แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าอะไรๆเป็นเหตุเป็นผลภายใต้ระบอบกระบอกปืนเป็นใหญ่

ขอจบโดยการยืนยันว่าการตั้งคำถามคือบ่อเกิดแห่งการใช้เหตุผล และขอฝากคำถามแบบอยากได้คำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลดังนี้:


ถาม: คุณคิดว่าเพลง ‘คืนความสุขให้กับประชาชน’ ซึ่งเปิดถี่มากทางวิทยุโทรทัศน์จะเปิดบ่อยแค่ไหนหากไม่มีอำนาจเผด็จการเกื้อหนุน? การที่ผู้ที่ฉีกรัฐธรรมนูญแต่สามารถพร่ำสอนให้ผู้อื่นเคารพกฎหมายได้หน้าตาเฉย ถ้าไม่หน้าด้าน หรือขี้ลืม ก็น่าจะมีปัญหาภาวะตรรกะจางอย่างรุนแรง


ปล. มันมิใช่เรื่องบังเอิญหรอกหากเพลงของผู้นำคณะรัฐประหารติดปากคุณ

 

 

บล็อกของ ประวิตร โรจนพฤกษ์

ประวิตร โรจนพฤกษ์
หนึ่งในเครื่องมือหลักของการยึดอำนาจของคณะรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หาใช้อาวุธสงครามเพียงอย่างเดียวไม่ หากรวมถึงการใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความพร่ามัวหรือแม้กระทั่งการมองความจริงแบบที่คณะรัฐประหารหรือที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ต้องการ
ประวิตร โรจนพฤกษ์
บันทึกนี้ขออุทิศแด่ทุกๆท่านที่รัก เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย 
ประวิตร โรจนพฤกษ์
  เรื่องปัญหาการเซ็นเซอร์ เหมือนเป็นหัวข้อที่ไม่ต้องอธิบายว่าเป็นปัญหาถ่วงความเจริญทางการรับรู้และสติปัญญาของสังคมอย่างไร
ประวิตร โรจนพฤกษ์
ไม่ว่าคุณจะเอา ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ หรือไม่ คุณควรออกไปใช้สิทธิวันพรุ่งนี้ เพราะมันได้กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างเลือกตั้งกับลากตั้งโดยปริยาย
ประวิตร โรจนพฤกษ์
 วิกฤติการเมืองปัจจุบันอาจทำให้หลายคนหน้ามืดตามัวตกหล่มความเกลียดชัง แต่สำหรับผม ผมถือว่ามันช่วยให้ผมได้คิดและเข้าใจสังคมไทยดีขึ้น
ประวิตร โรจนพฤกษ์
ความหมายของสัญลักษณ์และชื่อกลุ่มต่างๆ เป็นสิ่งที่ดิ้นได้ และในกรณีของการโบกธงชาติ เป่านกหวีดและเรียกขานตนเองของม็อบ กปปส. ว่า 'มวลมหาประชาชน' ก็เช่นกัน
ประวิตร โรจนพฤกษ์
เราทุกคนคงจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองอย่างสันติและสร้างสรรค์ เคารพเสียงทุกเสียง ยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพรับฟังเสียงส่วนน้อย