ถอดบทสนทนา รายการแรงงานก้าวหน้า
“ปัญหาโรคระบาดและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น
ที่กระทบต่อนักเรียนนักศึกษา”
ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2563
ดำเนินรายการโดย : สินีนาฎ คะมะคต
แขกรับเชิญ : จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย
ประเด็นคำถามสำคัญ “ปัญหาโรคระบาดและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ที่กระทบต่อนักเรียน นักศึกษา”
- วิกฤตครั้งนี้สะท้อนให้เราเห็นความเหลื่อมล้ำอะไรบ้างในภาคการศึกษาไทยที่ชัดเจนที่สุด?
- มาตรการเยียวยาของแต่ละมหาวิทยาลัยและรัฐ ที่ไม่ครอบคลุมถึงนักเรียน นักศึกษาบางกลุ่ม?
- การคืนค่าเทอมกับการมอบทุนการศึกษาแตกต่างกันอย่างไร?
- สถาบันการศึกษาควรมีมาตรการอย่างไร?
สินีนาฏ : วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาและโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อนิสิตและนักศึกษา กับแขกรับเชิญคือ คุณจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิตและนักศึกษา อย่างที่ทราบว่ารัฐบาลได้มีมาตราการสั่งปิดสถานศึกษาและสถานประกอบการหลายแห่งทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ทำงานในระบบและทำงานนอกระบบ อย่างเช่นพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันก็จะไม่มีรายได้เลย แต่ค่าใช้จ่ายยังเท่าเดิมการได้รับค่าจ้างที่น้อยลง ทำให้ต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงจะเป็นแรงงานในระบบยังถูกลดเงินเดือน ทำงานได้ 15 วันก็ได้รับค่าจ้างตามจริง หรือถูกเลิกจ้างเลยก็มี ซึ่งบางคนถึงขั้นถูกบังคับให้เซ็นใบลาออกโดยไม่ได้รับเงินเยียวยาจากสถานประกอบการตามสิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมาย
จากผลกระทบดังกล่าวทำให้รัฐบาลออกมาตราการเยียวยามาหลาย ๆ ด้าน แต่ก็มีความล่าช้าในการตรวจสอบสิทธิและการเข้าข่ายในอาชีพต่าง ๆ การเยียวยา 5,000 บาท เป็นจำนวน 3 เดือนก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลออกมา โดยมีเงื่อนไขในการรับเงินและการลงทะเบียน ซึ่งบางคนถึงจะมีสิทธิแต่เป็นผู้ยากไร้ และการเข้าถึงในระบบออนไลน์เพื่อลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งบางคนไม่มีบัญชีเงินฝาก หนึ่งในนั้นที่ได้รับผลกระทบคือนิสิต นักศึกษาที่โดนตัดสิทธิมาตราการการเยียวยาดังกล่าว บางคนต้องทำงานไปด้วยและเรียนไปด้วยไม่ต่างจากแรงงานนอกระบบเลย เพื่อเป็นทุนการศึกษาและแบ่งเบาภาระในครอบครัว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลละเลยไม่มองถึงผลกระทบที่ตามมา เราจะทำอะไรได้บ้างและมีข้อเสนออย่างไรที่จะสะท้อนถึงความเลื่อมล้ำตรงนี้?
จุฑาทิพย์ : ทางมหาลัยสั่งปิดเรียนช่วงกลางเดือนมีนาคม เมื่อมีเกิดการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากรัฐบาลประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อไม่ให้เป็นการรวมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาด จะมีผลกระทบต่อนิสิต นักศึกษาโดยตรง เพราะมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังต้องแบกรับเหมือนเดิม เช่น ค่าเช่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และของใช้ต่าง ๆ
สินีนาฏ : ช่วงนี้มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ไหม?
จุฑาทิพย์ : มีการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์โดยอาจารย์แต่ละท่านก็จะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันไป ถ้าอาจารย์บางคนไม่พร้อมทางมหาลัยก็ยื่นข้อเสนอให้เกรด i (incomplete) ไปก่อนซึ่งบางวิชาไม่มีการเรียนการสอน
สินีนาฏ : การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์มีอุปสรรคและสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำอะไรบ้าง?
จุฑาทิพย์ : โดยการเรียนการสอนผ่านออนไลน์โดยหลัก ๆ ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนและอินเตอร์เน็ตที่ต้องมีความแรง โดยปัญหาที่พบคือ โปรแกรมไม่เสถียรและบางโปรแกรมไม่รองรับการเข้าถึงได้เป็น 100 คน และการเรียกร้องสิทธิในการใช้เน็ตที่ต้องลงทะเบียน โดยบางมหาลัยจัดการช้าในเรื่องนี้และให้นักศึกษาไปใช้เน็ตจาก กสทช. ที่แจกเน็ต 10 GB แทน
สินีนาฏ : สิทธิและสวัสดิการที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนและนักศึกษามีไหม?
จุฑาทิพย์ : มีผลกระทบคือค่าใช้จ่ายรายวันและค่าเช่าหอพักของนักศึกษาที่ผู้ปกครองต้องจ่ายให้ทุกเดือน เมื่อมีโควิดเข้ามาทำให้รายได้ของผู้ปกครองลดน้อยลง
สินีนาฏ : มาตรการเยียวยาของรัฐ อย่างเช่น มาตรการเยียวยา 5,000 บาท แต่รัฐตัดสิทธิไม่ได้รับเงินในส่วนตรงนี้จะมีผลกระทบอะไรบ้าง? ซึ่งบางคนจะทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วยและเรียนไปด้วยโดยไม่แตกต่างจากงานนอกระบบ
จุฑาทิพย์ : โดยตัวเองก็ทำงานกรุ๊ปทัวร์ไปด้วย แต่พอมีโรคโควิด19 เข้ามาทำให้ทัวร์ยกเลิกซึ่งทำให้ขาดรายได้ แต่บางคนที่ทำพาร์ทไทม์ เช่น ทำงานชั่วโมงละ 40 บาท ทำงาน 9 ชม.(ได้รับค่าจ้าง 8 ชั่วโมง โดยอีก 1 ชั่วโมง เป็นเวลาพักไม่จ่าย) ก็ถูกเลิกจ้างเช่นกัน เมื่อไม่มีงานพิเศษทำก็ต้องพึ่งรายได้จากผู้ปกครองเป็นหลัก
สินีนาฏ : กรณีมีข่าว ที่โรงเรียนปิด และเด็กที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว พ่อแม่ต้องออกไปทำงานหาเงินเพื่อมาเลี้ยงครอบครัว โดยเด็กอยู่ลำพังและพลัดตกลงมาจากอาคารเสียชีวิต และปัญหาจากเด็กที่อาศัยในชุมชนที่ไม่สามารถเรียนรู้และเข้าถึงในการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้ ในส่วนนี้เป็นการตัดโอกาสในการเรียนของเด็กไหม? รัฐบาลและกระทรวงศึกษาควรมีความพร้อมในการรับมือในส่วนนี้อย่างไร?
จุฑาทิพย์ : ยุคนี้ที่เรียกกันยุค 4.0 แต่การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่ได้รับฟรี ทำให้เสียค่าใช้จ่ายไปมากในส่วนนี้ กระทรวงศึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บและอาจจะไม่ต้องเก็บเลย เพราะการศึกษาเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนควรได้รับ และในขณะนี้หลายที่มีการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยคืนค่าเทอมให้กับนักศึกษา
สินีนาฏ : จากการเรียกร้องคืนค่าเทอม โดยสถาบันของรัฐและเอกชนมีมาตราการออกมาอย่างไรบ้าง?
จุฑาทิพย์ : ของมหาลัยเอกชนก็คืนค่าเทอมแล้วเป็นบางส่วนได้แบบถ้วนหน้าทุกคน แต่ของรัฐจะคืนมาในรูปแบบทุนการศึกษาซึ่งทำให้มีนักศึกษาบางส่วนได้และบางส่วนไม่ได้
สินีนาฏ : คืนแบบเป็นทุนการศึกษา ต้องมีการยื่นเรื่องและมีการคัดสรร เพื่อให้เข้าเกณฑ์ได้รับใช่หรือไม่?
จุฑาทิพย์ : การขอรับทุนการศึกษา นักศึกษาต้องไปทำการสมัครและกรอกข้อมูลพร้อมกับแนบหลักฐานของผู้ปกครองว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 หรือไม่ โดยยังเป็นการพิสูจน์ความจนอยู่ ไม่ได้รับถ้วนหน้าและทั่วถึง
สินีนาฏ : หากการได้รับทุนการศึกษาได้น้อยและไม่ได้รับถ้วนหน้า ข้อเสนอที่คืนค่าเทอมแตกต่างอย่างไรจากที่ได้รับทุนการศึกษาตรงนี้บ้าง?
จุฑาทิพย์ : การคืนทุนการศึกษาเป็นการจำกัดสิทธิเพราะต้องพิสูจน์สิทธิที่มีเงื่อนไข ทำให้โอกาสได้รับทุนนั้นยาก โดยไม่รู้ว่าทางมหาลัยใช้เกณฑ์อะไรในการพิสูจน์ ต้องแสดงความลำบากให้กรรมการที่ตรวจสอบคุณสมบัติผู้รับทุน ในขณะที่การคืนค่าเทอมจะได้รับแบบถ้วนหน้า ไม่ต้องพิสูจน์สิทธิและที่สำคัญเป็นเงินค่าเทอมเป็นเงินที่นักศึกษาได้จ่ายไปแล้วซึ่งต้องได้คืนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
สินีนาฏ : การให้ทุนการศึกษามีการคัดเกณฑ์หรือไม่ว่าเป็นภาคอินเตอร์หรือภาคปกติ? เพราะสถานศึกษาอาจมองว่าเป็นกลุ่มคนมีเงิน ไม่น่าเดือนร้อนอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็ณต้องคืนค่าเทอมให้
จุฑาทิพย์ : จากการประกาศจากมหาลัยช่วงแรกจะให้ทุนแต่ภาคปกติ ส่วนภาคอินเตอร์ให้นักศึกษาพูดคุยกับคณะเอง ซึ่งทำให้มีบางคนที่จะได้รับทุนการศึกษา แต่คณะที่เป็นภาคพิเศษที่ได้ทุนการศึกษาแบบถ้วนหน้า เท่าที่ทราบคือวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สินีนาฏ : ข้อเสนอที่เราเรียกร้องแบบถ้วนหน้ามีความจำเป็นอะไรต่อกรณีนี้?
จุฑาทิพย์ : จากการเกิดกรณีวิกฤติแบบนี้ ทุกคนในประเทศควรได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและถ้วนหน้าโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์สิทธิความจนและความรวย สามารถเข้าถึงการศึกษาตามสิทธิที่ทุกคนควรได้รับ
สินีนาฏ : การศึกษาไทยในปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำอะไรบ้างและคืออะไร?
จุฑาทิพย์ : คือการทำให้การศึกษาไม่ใช่เรื่องของทุกคนที่จะเข้าถึงได้ โดยปัจจุบันมาตราฐานในการเรียนการสอนแต่ละแห่งยังแบ่งแยกโรงเรียนดังและเก่งที่สามารถสอบเข้ามหาลัยได้ ทำให้ส่งผลกระทบถึงการทำงานโดยการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษา
สินีนาฏ : จากมาตรการช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าของภาครัฐ นักศึกษาได้รับประโยชน์หรือไม่?
จุฑาทิพย์ : เรื่องมาตรการค่าไฟฟ้าที่ภาครัฐให้การช่วยเหลือ ในส่วนของนักศึกษาไม่ได้รับสิทธ์ค่ะ ด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้เฉพาะผู้มีบ้านเลขที่หรือเจ้าบ้าน นักศึกษาที่ส่วนมากอยู่หอพักไม่ได้รับประโยชน์อะไร
สินีนาฏ : ทางมหาวิยาลัยมีการมาตรการเกี่ยวกับหอพักอย่างไรบ้าง?
จุฑาทิพย์ : ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีการติดต่อเจรจากับหอพักภาคเอกชนให้ลดค่าเช่าห้อง แต่ก็ไม่ได้ลดค่าเช่าทั้งหมด เป็นเพียงการยืดระยะการจ่ายค่าหอพักออกไป จะมีบางหอเท่านั้น
สินีนาฏ : ในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาเรามีข้อเสนอแนะหรืออยากให้รัฐทำมากที่สุด ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาโดยตรง นอกเหนือจากมาตรการที่รัฐลดค่าเทอมให้บางส่วน?
จุฑาทิพย์ : ตอนนี้มีเรื่องกองทุน กยศ. เป็นการกู้เงินเพื่อการศึกษาที่เราก็ต้องจ่ายคืนเหมือนกัน แต่ว่ายังมีการทำเพื่อจิตอาสาอยู่ เป็นเพียงแค่การลดชั่งโมงการทำจิตอาสาจากเดิม 36 ชั่วโมง เหลือ 30 ชั่วโมง
สินีนาฏ : จากผู้ชมรายการ “คุณอาธร นวทิพย์สกุล” นักศีกษาจะกับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกเมื่อไร?
จุฑาทิพย์ : ตอนนี้เรายังเคลื่อนไหวกันอยู่ในประเด็นสวัสดิการที่เราได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ถ้าเป็นการเมืองภาพใหญ่ ๆ ก็จะอยู่ในเพจ “สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย”
สินีนาฏ : เรื่องอยากที่จะพลักดันด้านสิทธิขั้นพื้นฐานให้เป็นรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า อยากให้อธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจมากขึ้นว่าข้อเสนอดังกล่าวระยะยาวมีผลดียังไงกับประเทศเราบ้าง? นอกจากทุกคนเข้าถึงแค่การศึกษาและไม่ต้องมาพิสูจน์สิทธิว่าเราจนขนาดไหนถึงจะได้สิทธิ์หรือทุนนั้น ๆ
จุฑาทิพย์ : สามารถสร้างบุคคลากรให้กับประเทศได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นปัญหาหนักสุดของประชาชน ส่วนมากจะเป็นปัญหาด้านเศรฐกิจและกระทบทุกอย่าง เช่น ค่าใช้จ่ายการศึกษา รักษาพยาบาล เป็นต้นที่เป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของคนไทย ถ้าหากมีรัฐสวัสดิการทุกคนในประเทศก็จะได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ซึ่งเงินที่จะนำมาจัดรัฐสวัสดิการเป็นเงินภาษีที่ทุกคนจ่ายอยู่แล้ว สิทธิขั้นพื้นฐานในสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย ต้องได้รับสิทธิแบบถ้วนหน้า
สินีนาฏ : จากผู้ชมรายการ “คุณอาธร นวทิพย์สกุล” นอกจากการเรียนการสอนที่ปรับมาจากออนไลน์แล้ว ด้านกิจกรรมมีการทำแบบออนไลน์ไหมครับ?
จุฑาทิพย์ : ตอนนี้ยังไม่มีค่ะ แต่ที่ทำอยู่ก็จะมีการเสวนาออนไลน์ แต่เนื่องด้วยเราเป็นสภานักศึกษาจะมีการประชุมออนไลน์ประมาณนี้รวบรวมประเด็นการพิทักสิทธิให้กับนักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
สินีนาฏ : ประเด็นการเรียนออนไลน์ ถ้ามีการสอบจะทำยังไงคะ จะเป็นการสร้างความลำบากให้นักศึกษาหรือเปล่า?
จุฑาทิพย์ : ตอนนี้ก็จะมีการเริ่มปรับหลักสูตรมาเป็นเทคโฮม เช่น การทำรายงาน อาจเป็นการเพิ่มภาระให้นักศึกษาพอสมควร ซึ่งในการเรียนออนไลน์มันเร็วมากมันไม่สามารถมาทบทวนกันแบบเข้าใจได้ ไม่เหมือนนักศึกษาทบทวนกับอาจารย์โดยตรงได้ รวมไปถึงการที่ต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการเรียน ถ้าหากใครไม่มีก็เข้าไม่ถึงแน่นนอน
สินีนาฏ : จากผู้ชมรายการ “คุณยามารุดดิน ทรงศิริ” อยากให้ช่วยวิเคราะห์หน่อยครับ ว่าทำไมการศึกษาฟรีแบบถ้วนหน้า ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่เรามองแล้วประเด็นการศึกษาน่าจะเป็นประเด็นที่เห็นตรงกันหลายฝ่ายมากที่สุด?
จุฑาทิพย์ : จริง ๆ ส่วนตัวอยู่ต่างจังหวัดก็เรียนฟรีมาตลอด ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา แต่ต้องแลกด้วยคุณภาพที่ได้รับ รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดจากวัฒนธรรมบางประการที่ทำให้หล่อเลี้ยงระบบการจัดสวัสดิการแบบนี้ดำเนินต่อไป
สินีนาฏ : จากข้อสังเกตจะเห็นได้ว่างบประมาณการศึกษาอยู่ลำดับต้น ๆ ของประเทศ แต่ทำไมการศึกษาถึงยังไม่ฟรี?
จุฑาทิพย์ : คำว่าการศึกษาฟรี อันที่จริงก็ไม่ฟรีจริง ๆ ผู้ปกครองก็ยังจ่ายค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ อยู่ อีกทั้งตอนนี้ยังเกิดความเหลื่อมล้ำอยู่ในระบบการศึกษาไทย เช่น ในประเด็นเรื่องคุณภาพการศึกษาที่แปรผันตามราคาที่จ่าย
สินีนาฏ : วิกฤติในครั้งนี้ เรามองเห็นโอกาสอะไรบ้าง? และต้องเปลี่ยนอะไรในระบบการศึกษาไทย? เพื่อให้นักศึกษาไทยดีขึ้นมากกว่าเป็นอยู่
จุฑาทิพย์ : ในวิกฤตินี้โอกาสของเราคือการทำให้นักศึกษาหลาย ๆ คนเริ่มตระหนักในสิทธิตัวเองมากขึ้น รวมถึงเข้าใจความสำคัญของสวัสดิการรัฐมากขึ้น มหาวิทยาลัยต้องเริ่มดึงเงินที่มีอยู่ออกมาช่วยนักศึกษา หากเรามีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ก็จะทำให้คนในประเทศนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้นได้ค่ะ