Skip to main content

หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........

เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้ว

ผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า พูดในสิ่งที่มันไม่จีรังยั่งยืนให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นกัน 

ถามว่าพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนนั้นบางชุมชนในลาวเขาทำกันอย่างไร? พิธีกรรมนี้ชุมชนทำขึ้นเนื่องด้วยเหตุว่า ปีใดฟ้าแล้งไม่มีฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำเพื่อสนองให้แก่การผลิตผล เช่น การทำนาทำไร่ การเพาะปลูกต่างๆ ในเวลานั้นชุมชนจะรวมตัวกันแล้วถือ ชาม หม้อ ถ้วย และเครื่องไม้เครื่องมือ เดินเที่ยวไปตามบ้านต่างๆ เพื่อขอน้ำ โดยมีคำกลอน หรือกวีที่คนโบรานเคยใช้กันมานาน  เช่น

“โอลมเอ๋ยโอลาง     ขอกินส้มผักพานางแด่     อ้อแอ้แม่เจ้าเฮือน
เฮือนนี้มีควายเถิก     เฮือนนี้มีควายสื่อ
ซื่อเฮือนนี้ซื่อดี        สามปีกูยังเต้า        รุ่งเช้ากูยังมา มาขอต้นผักพานางแด่”

1

ชาวบ้านจะใช้กวีนี้ท่องขิ้นบ้านโน้นบ้านนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไปถึงบ้านใด คนบ้านนั้นก็จะมารวมตัวด้วยแล้วแห่กันไปตามหมู่บ้านต่างๆ เผื่อเป็นการขอ ในความเชื่อของชาวบ้านเชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้จะทำให้คำขอของชาวบ้านในเรื่องทุกข์ร้อนไม่มีน้ำสนองแก่การผลิตผลขิ้นไปถึงเทวดาฟ้าแถนให้ช่วยบันดาลประทานน้ำฟ้าน้ำฝนให้

ในบทกวีบรรจุถ้อยคำที่บ่งบอกให้เทวดาทราบว่า ทว่าชาวบ้านมาขอกันอย่างนี้แล้ว หากไม่มีฝนโปรยลงมาแม้แต่เม็ดเดียว ชาวบ้านก็จะเที่ยวขอกันอย่างนี้ตลอดไป จนเกิดผลจริงๆขึ้นมา ชาวบ้านจึงหยุดพิธีกรรมการขอ

ในพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนของเผ่าไตแดง แขวงหัวพัน ไม่ได้หมายความว่า ด้วยความจน หรือเดือดร้อนจึงทำ แต่พิธีกรรมนี้มีมาช้านานนับเป็นหลายร้อยปี นับตั้งแต่เผ่าชนนี้ได้กำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินที่ราบสูงแห่งนี้ มาหลายชั่วอายุคนแล้ว การขอในความคิดของเผ่าไตแดง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความจริงใจ บริสุทธิ์ใจของพี่น้องในเผ่า เพราะว่าเผ่าไตแดงไม่ได้คิดว่าการขอนั้นเป็นเรื่องที่เสียหายอะไร แต่กลับถือว่าเป็นการทานน้ำใจให้กันมากกว่าการดูถูกเหยียดหยาม

พิธีกรรมแบบนี้ส่วนมากแล้วเป็นพิธีกรรมของเผ่าไตแหลง (ไตแดง) ในลาวทางภาคเหนือ เช่น แขวงหัวพันแล้วล่องลงไปเมืองเวียงไช ซึ่งเป็นแดนฐานที่มั่นของการปฏิวัติตอนสงครามเมื่อครั้ง 30 ปีก่อน พิธีกรรมสิ้นลงผลก็ปรากฎให้เห็นว่า สายฝนก็โปรยปรายลงมา ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อกันสืบมา

แต่ในทุกวันนี้พิธีกรรมนั้นได้หายไปนานแล้ว จนไม่มีใครจำได้ว่า มันหายไปนานเท่าไร กี่ปีกี่เดือนที่พิธีกรรมนี้ไม่คงตัวสืบอยู่คู่ลูกๆ หลานๆ ของชุมชน ถามว่า ทำไมไม่สืบสานพิธีกรรมอย่างนี้ล่ะ? คนเฒ่าคนแก่ก็ตอบว่า เราจะทำไปทำไมในเมื่อทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เหตุผลของชุมชนก็คือ การพัฒนาเข้ามามีบทบาทมากในหมู่ชุมชนคนชนบท ทำให้อะไรหลายๆ อย่างต้องถูกลืมเลือนไป หรือสูญเสียไป  ทางพิธีกรรมก็คือวัฒนธรรมของชุมชน เพราะบางครั้งการทำพิธีกรรมถูกมองว่าเป็นเรื่องงมงายเกินไป พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับไม่มีชลประทาน พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับมีชลประทาน

2

ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างในบางชุมชนของลาวจึงไม่มีให้เห็นเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว แม้ว่าพิธีกรรมนั้นจะทำให้ชาวบ้านมีความพยายามที่จะรักษาและหวงแหนไว้  ปีนี้น้ำฟ้าน้ำฝนมาช้าไป แม้ว่าจะถึงเดือนสิงหาคมแล้วก็ตามที บางครอบครัวไม่ได้ปักดำต้นกล้าแม้ต้นเดียวลงในท้องนา ยิ่งทุกวันนี้โครงการปลูกไม้เข้าไปลงในชุมชนมากขึ้นทุกวัน ป่าไม้ถูกนายทุนรุกราน ต้นไม้ใบหญ้าทางธรรมชาติเหลือน้อยลง ฉะนั้นพิธีกรรมนี้จึงอาจจะไม่ได้มีความหมายมากนักสำหรับชาวบ้านอีกต่อไป

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
จริงๆแล้วผมพยายามถอดความจากกวีที่เป็นสำนวนภาษาลาวมาเป็นคำไทย.... แต่คงไม่ไพเราะเหมือนคำลาวที่ผมแต่งไว้เพราะการเขียนภาษาไทยไม่ดีพอ..... อย่างไรก็ตาม ผมมีความตั้งใจมากเพื่อการสื่อความเข้าใจทั้งสองด้านให้กลายเป็นพลังแห่งความรักของสองชาติลาวไทย  ผมมีความต้องการสูงสุดให้คนลาวและไทยมีความเข้าใจกันมากขื้น  ผมเข้าใจว่าในโลกใบนี้หากไม่มีคำว่า “ศัตรู” คงดีที่สุดพี่สัญญากับน้องว่าจะเปลี่ยนพี่จะเพียรแต่งแต้มแปลงเรือนผมผมไม่แดงเหมือนฝรั่งหลอกพี่ว่าแต่มาเจอเธอยิ่งกว่าเดีมผมก็แดงแทงใจน้องหูก็บ๋องมีต่างช่างเปลียนไปหูก็บ๋อง ผมก็แดงมันแทงใจก็นั้นไง…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วันนี้ผมมีของฝากจากเมืองลาว มาให้พี่น้องได้อ่านกัน สิ่งที่ผมจะนำมาให้อ่านในประชาไทเป็นบทกลอนที่ผมแต่งขื้นเมื่อปี 2003 ระยะนั้นผมมองเห็นอะไรสักอย่างหนิ่งที่มันแฝงตัวอยู่กับสังคมลาว บางทีสิ่งที่พูดอาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกีดขื้นในเมืองลาวเพียงอย่างเดียว......แต่มันอาจเป็นสิ่งที่เกีดขื้นในทั่วโลกก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผมขอใช้เป็นสำนวนภาษาลาว ด้านหนิ่งสมบูรณ์ด้วย  มูนมากเงินคำด้านหนิ่งต่ำเพียงดิน  คอบความจนไฮ้(ไร้)เปลียบเหมือนไฟลามไหม้  มะไลกันบ่ดับมอด   เป็นแล้วสองส้นเตาะต่อยดั้น  ครือพ้าบั่นขวานยามเมื่องกางต่อน้ำ  พัดขาดเป็นวังกางต่อฟังคำหวาน …
แสงพูไช อินทะวีคำ
ที่ ESCUDERO, ประเทศ Philippines“ไปทานข้าวกันเถอะ!”..............เธอเป็นคนค่อนข้างอ้วนท้วน  ยักไหล่เบาๆ...ปล่อยคำทักทายเหมือนกับเธอมีอำนาจสูงสุด ใช่จริงด้วยเพราะเวลานี้มันเลยเที่ยงไปแล้ว หลายคนท้องร้อง คอยให้ผู้รับผิดชอบงานสัมมนาบอกให้หยุดพักได้“วันนี้ไปรับประทานอาหารในสถานที่แปลกๆ กันนะ”....เธอร้องบอก ขณะที่ทุกคนเร่งเดินออกจากห้องประชุมมุ่งหน้าไปที่ร้านอาหาร......“เขาบอกว่าจะทานข้าวบนผิวน้ำ!”....หนุ่มฟิลิปปินส์คนหนึ่งเดินเข้ามาพูดกับผม“อ้าว! จะไปทานได้ไงล๋ะ?”“ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน”ผมมองหน้าเขา แล้วหนุ่มคนนั้นก็มองหน้าผม ในที่สุดเราทั้งสองก็หัวเราะ เพราะไม่รู้จะพูดอะไรอีก…
แสงพูไช อินทะวีคำ
หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้วผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วรรณคดีปฏิวัติที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คงจะเป็นปรปักษ์สองด้าน คือ การปฏิวัติและระบบการปกครองเก่า การสะท้อนให้เราได้เห็นความอยุติธรรม นักประพันธ์ปฏิวัติสะท้อนให้เห็นภาพในระบบการปกครองเก่าได้ชัดเจน ว่า ระบบการปกครองเก่า เวลาใดก็เป็นปรปักษ์อย่างที่สุดต่อกับการปฏิวัติ ความอยุติธรรมส่วนมากก็คงเกิดขื้น บนแผ่นดินที่นอนอยู่ใต้แห่งการควบคุมของระบบการปกครองของระบบเก่าที่เวลาใดก็เป็นศัตรูสุดขีดต่อการปฏิวัติลาว ในบทประพันธ์สะท้อนให้เห็นมากที่สุดก็คงเป็น หนุ่มสาวพร้อมเพรียงกันหลบหนีจากแผ่นดินเกิดของเขา ไปหาการปฏิวัติวรรณคดีปฏิวัติที่พบเห็นส่วนมาก นักประพันธ์ชอบใช้ในรูปของการบันทึกเป็นส่วนใหญ่…
แสงพูไช อินทะวีคำ
มีหลายอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นและคิด เมื่อมองเห็นภาพโดยรวมที่ว่า- -ทำไมนักเขียนถึงกำเนิดขึ้นในระยะที่ประเทศชาติทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย? นักเขียนปฏิวัติมีจุดยืนของตัวเองอย่างไร เพื่อเขียนบทประพันธ์ของตน? นักประพันธ์ปฏิวัติมองเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้างของระบบล่าอาณานิคมแบบเก่าและใหม่?  พวกเขาใช้หลักการประพันธ์อย่างไรเพื่อให้คนอ่านได้มองเห็นความสมจริงของเรื่อง?  นักประพันธ์ปฏิวัติมีความต้องการให้เข้าใจการปฏิวัติอย่างไรและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่อระบบจักรววตินิยม? คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อการหาคำตอบว่า นักประพันธ์มีจุดยืนของตนอย่างไรเพื่อการเขียน!…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ในประเทศลาว หากเอ่ยถึงวรรณคดีปฏิวัติแล้ว หลายคนก็เข้าใจทันทีที่เอ่ยถึง ว่าเป็นบทวรรณคดีที่แต่งขึ้นในยุคที่ทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศชาติลาวตกเป็นอาณานิคมของจักรพรรดิเก่าและใหม่  ระยะนี้วรรณคดีเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือรับใช้ให้แก่การปฏิวัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติและประชาชนออกจากการกดขี่ของจักรวรรดินิยม เพื่อให้ชาติและประชาชนมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณคดีปฏิวัติระยะนี้จึงมีความสำคัญมากในการประกอบส่วนเข้าในการโฆษณาเผยแพร่ผลงาน และการชนะสงครามของการปฏิวัติ,…