Skip to main content

หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........

เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้ว

ผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า พูดในสิ่งที่มันไม่จีรังยั่งยืนให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นกัน 

ถามว่าพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนนั้นบางชุมชนในลาวเขาทำกันอย่างไร? พิธีกรรมนี้ชุมชนทำขึ้นเนื่องด้วยเหตุว่า ปีใดฟ้าแล้งไม่มีฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำเพื่อสนองให้แก่การผลิตผล เช่น การทำนาทำไร่ การเพาะปลูกต่างๆ ในเวลานั้นชุมชนจะรวมตัวกันแล้วถือ ชาม หม้อ ถ้วย และเครื่องไม้เครื่องมือ เดินเที่ยวไปตามบ้านต่างๆ เพื่อขอน้ำ โดยมีคำกลอน หรือกวีที่คนโบรานเคยใช้กันมานาน  เช่น

“โอลมเอ๋ยโอลาง     ขอกินส้มผักพานางแด่     อ้อแอ้แม่เจ้าเฮือน
เฮือนนี้มีควายเถิก     เฮือนนี้มีควายสื่อ
ซื่อเฮือนนี้ซื่อดี        สามปีกูยังเต้า        รุ่งเช้ากูยังมา มาขอต้นผักพานางแด่”

1

ชาวบ้านจะใช้กวีนี้ท่องขิ้นบ้านโน้นบ้านนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไปถึงบ้านใด คนบ้านนั้นก็จะมารวมตัวด้วยแล้วแห่กันไปตามหมู่บ้านต่างๆ เผื่อเป็นการขอ ในความเชื่อของชาวบ้านเชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้จะทำให้คำขอของชาวบ้านในเรื่องทุกข์ร้อนไม่มีน้ำสนองแก่การผลิตผลขิ้นไปถึงเทวดาฟ้าแถนให้ช่วยบันดาลประทานน้ำฟ้าน้ำฝนให้

ในบทกวีบรรจุถ้อยคำที่บ่งบอกให้เทวดาทราบว่า ทว่าชาวบ้านมาขอกันอย่างนี้แล้ว หากไม่มีฝนโปรยลงมาแม้แต่เม็ดเดียว ชาวบ้านก็จะเที่ยวขอกันอย่างนี้ตลอดไป จนเกิดผลจริงๆขึ้นมา ชาวบ้านจึงหยุดพิธีกรรมการขอ

ในพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนของเผ่าไตแดง แขวงหัวพัน ไม่ได้หมายความว่า ด้วยความจน หรือเดือดร้อนจึงทำ แต่พิธีกรรมนี้มีมาช้านานนับเป็นหลายร้อยปี นับตั้งแต่เผ่าชนนี้ได้กำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินที่ราบสูงแห่งนี้ มาหลายชั่วอายุคนแล้ว การขอในความคิดของเผ่าไตแดง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความจริงใจ บริสุทธิ์ใจของพี่น้องในเผ่า เพราะว่าเผ่าไตแดงไม่ได้คิดว่าการขอนั้นเป็นเรื่องที่เสียหายอะไร แต่กลับถือว่าเป็นการทานน้ำใจให้กันมากกว่าการดูถูกเหยียดหยาม

พิธีกรรมแบบนี้ส่วนมากแล้วเป็นพิธีกรรมของเผ่าไตแหลง (ไตแดง) ในลาวทางภาคเหนือ เช่น แขวงหัวพันแล้วล่องลงไปเมืองเวียงไช ซึ่งเป็นแดนฐานที่มั่นของการปฏิวัติตอนสงครามเมื่อครั้ง 30 ปีก่อน พิธีกรรมสิ้นลงผลก็ปรากฎให้เห็นว่า สายฝนก็โปรยปรายลงมา ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อกันสืบมา

แต่ในทุกวันนี้พิธีกรรมนั้นได้หายไปนานแล้ว จนไม่มีใครจำได้ว่า มันหายไปนานเท่าไร กี่ปีกี่เดือนที่พิธีกรรมนี้ไม่คงตัวสืบอยู่คู่ลูกๆ หลานๆ ของชุมชน ถามว่า ทำไมไม่สืบสานพิธีกรรมอย่างนี้ล่ะ? คนเฒ่าคนแก่ก็ตอบว่า เราจะทำไปทำไมในเมื่อทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เหตุผลของชุมชนก็คือ การพัฒนาเข้ามามีบทบาทมากในหมู่ชุมชนคนชนบท ทำให้อะไรหลายๆ อย่างต้องถูกลืมเลือนไป หรือสูญเสียไป  ทางพิธีกรรมก็คือวัฒนธรรมของชุมชน เพราะบางครั้งการทำพิธีกรรมถูกมองว่าเป็นเรื่องงมงายเกินไป พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับไม่มีชลประทาน พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับมีชลประทาน

2

ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างในบางชุมชนของลาวจึงไม่มีให้เห็นเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว แม้ว่าพิธีกรรมนั้นจะทำให้ชาวบ้านมีความพยายามที่จะรักษาและหวงแหนไว้  ปีนี้น้ำฟ้าน้ำฝนมาช้าไป แม้ว่าจะถึงเดือนสิงหาคมแล้วก็ตามที บางครอบครัวไม่ได้ปักดำต้นกล้าแม้ต้นเดียวลงในท้องนา ยิ่งทุกวันนี้โครงการปลูกไม้เข้าไปลงในชุมชนมากขึ้นทุกวัน ป่าไม้ถูกนายทุนรุกราน ต้นไม้ใบหญ้าทางธรรมชาติเหลือน้อยลง ฉะนั้นพิธีกรรมนี้จึงอาจจะไม่ได้มีความหมายมากนักสำหรับชาวบ้านอีกต่อไป

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
เศษขี้ตะกอนจากแสงพระอาทิตย์เป็นสีสนิมเหล็ก เรี่มหยอดเป็นจุดเล็กจุดใหญ่ตามหุบเขาด้านทิศตะวันตก มองดูไกลๆโน้นเหมือนกับนางระบำในเทพนิยายของชาวตะวันตก เสียงสะอื้น และเสียงก่นด่าราวกับโกรธเกลียดตัวเองมานับพันปีของผู้หญิงคนหนึ่งดังลอดออกมาจากพุ่มไม้ท้ายวัดด้านทิศตะวันออกให้ได้ยิน “เอื้อยขอโทษ เอื้อยบ่ได้ตั้งใจจะให้มันเป็นแนวนั้น! บ่แม่นเอื้อยบ่อยากให้น้องเป็นแนวนั้น! เอื้อยบ่ได้ต้องการให้น้องมาตายจากเอื้อยไป น้องฮู้บ่?” ฟังจากเสียงร้องไห้แบบนี้ก็คงพอเดาได้ว่าผู้ตายต้องเป็นญาติใกล้ชิดกับเจ้าของเสียงร้องไห้นั้น เธอร้องไห้โหยหวนเหมือนกับว่าเธอได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดพลาดอย่างร้ายแรงไว้กับผู้ตาย…
แสงพูไช อินทะวีคำ
  มองฟากฟ้า นพาแจ่ม กระจ่าง ทางเบื้องบนเหมือนดั่งคน พ้นเคราะช้ำ ในกรรมเก่าพ้นจากทุกข์ พ้นจากเวร พ้นจากความเหงาทำให้เรา และท่าน เบีกบานใจ วันนี้แจ่ม วันหน้าหมอง ครองคู่กันผ่านคืนวัน ที่เศร้าหมอง แล้วสุขใจสลับเปรียน หมูนเวียน เช่นนี้ไปพอทนได้ เพราะคู่กัน ดังฉันและเธอ แต่ฟ้าแจ่ม เพียงหน้อยนิด ซิคิดมากทนลำบาก เพราะฟ้าครื้ม กระหื่มฝนขู่คำราม แผดเสียง อยู่เบื้องบนทำเอาคน ใต้ล้า หน้าเศร้าหมอง หลายคนแล ดูฟ้า นพาสลับนอนนั่งนับ เดือนปี ให้เปรียนผลเปรียนจากฟ้า คะนองกระหื่ม อยู่เบื้องบนให้เป็นผล งอกงาม ตามกฎเกณท์ วันใดหนอ ฟากฟ้า จะสดใสพอให้มวล พืชไม้ ได้เกีดผลเกีดไปตาม…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ตะวันรอน ย่อนแสงริมฝั่งของ (โขง)สายตาเธอเหม่อมองอยู่รำไรมองฟากฟ้าที่ไกลแสนไกลเธอร้องไห้โทมนัสโศกระทมมีใครรู้ บ้างหรือเปล่า กันมั้ยหนอ?ใครผู้ก่อ สร้างกรรม ทำเธอหมองเสียงร้องไห้ เธอนั้น น่าขนพองดุดดังเธอ ร่ำร้อง โศกาดูรสายตาเธอ เอ๋ยกล่าว เมื่อเราพบว่าก่อนนี้ เธอคบ กับคนพาลเขาสัญญา กับเธอ ไม่ระรานไม่มีวัน ทำให้เธอ กล้ำกลืนทนความเป็นจริง กับสัญญา ที่มีนั้นไม่สัมพันธ์ มันต่างมุม ต่างภาษาต่างความคิด ต่างกระทำ ต่างเวลาเพราะสัญญา ภาษาคน บนใจมารเธอมายืน ร่ำร้อง บนริมฝั่งเผื่อความหวัง ให้นาคา ได้รับรู้บ่นเจ้ากรรม นายเวร ให้ช่วยกู้ให้รับรู้ สิทธิเธอ ถูกรุกรานใครจะให้ ความเป็นธรรม เธอบ้างหนอพอช่วยก่อ…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ดีให้สัญญาว่าจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีให้สัญญาว่าจะไม่บิดเบี้ยวความจริงแต่แล้วเขาก็ทำในสิ่งที่ใจเขาอยากทำแล้วจะทำอย่างไร?บอกกับประชาชนว่าเพื่อประชาชีบอกกับประชาชนว่าเพื่อความอยู่ดีกินดีบอกประชาชนว่าเพื่อชาติย่อมต้องพลีชีพแล้วในที่สุดก็กดขี่ประชาชีและประชาชนดั่งสำนวนกวีลาว             กล่าวอ้างแปลกใจคือเพี่นเว้า         เฒ่าแก่โบรานจาเป็นสัตว์สาคือควาย        บ่ก้มหัวกินหญ้าเป็นปลาบ่อลอยลื่น        …
แสงพูไช อินทะวีคำ
รักเผ่าพันธุ์ รักเพื่อนผอง ต้องรักป่ารักอาป้า พนาไพรเหมือนหัวใจตนรักพี่น้องทุกแห่งหน บนด่านด้าวประคองเอาพนาไพร ไม่ทำลายรักแม่น้ำ แมกไม้และเขาเขียวยามท่องเที่ยว บนภูเขาอย่าละเลยที้งของเสียให้รกร้างดั่งที่เคยความสวยงามก่อนนี้เอ๋ย ให้เสื่อมโทรมให้รักป่าเท่าชีวิต คิดให้ใกลบ่อนเรไรร่ำร้อง พงพนาถิ่นภูเขาเลากา และสัตว์ป่าบนผืนแผนสนธยา น่าอยู่กินหน้าที่เราทุกเผ่าพันธุ์ขันอาสาป้องผืนป่าให้พ้นภัยอันตรายทุกผืนที่ในแดนลาวมิวอดวายคนและป่าอยู่ร่วมกันไป นานเท่านานหากคนเรารักป่าอย่างจริงจังแม้กระทั้งพลีชีพชีวาวายเพื่อผืนดินและผืนป่าคู่คนไปแม้ตัวตาย ขอผืนป่าและสายน้ำค้ำจุนโลกดงดานบ่อนเรไรร่ำร้อง…
แสงพูไช อินทะวีคำ
เรื่องสั้นเรื่องนี้ ผมเขียนขื้นเมื่อปี คศ. ๑๙๙๕ ในขณะที่ผมเดินทางไปรอบๆ เมืองปากเช แขวงจำปาสัก เป็นระยะแห่งการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ลงพิมพ์ที่วารสารวัณนศิล เมื่อปี คศ. ๑๙๙๕ และลงพิมพ์ที่หนังสือพิมพ์เวียงจันท์ใหม่เมื่อปี คศ. ๒๐๐๐ แปลโดย ทองคร้าม ทองขาว เรื่องสั้นเรื่องนี้จะรวมเล่มเรื่องสั้นที่มีภาษาไทย ลาว และภาษาอังกฤษด้วย โดย Mekong Post
แสงพูไช อินทะวีคำ
แรกๆ ผมว่าจะเขียนเกี่ยวกับเรื่อง ICT camp ต่อ แต่เมื่อตอนค่ำของวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลาประมาณ ๒ ทุ่มครึ่ง เป็นตอนจบของเรื่อง “เพลงดินกลิ่นดาว” ละครโทรทัศน์ช่อง ๗ ทำให้ผมเปลี่ยนใจ หันมาเขียนเรื่องนี้จนได้ กรณีที่ผมนำเรื่องนี้ขื้นมาพูดไม่ใช่เป็นทัศนะของวิชาการ แต่เป็นทัศนะส่วนตัวมากกว่า
แสงพูไช อินทะวีคำ
ขณะที่เดินทางไปพัทยา ผมมองดูกระเป๋าเดินทางของตัวเองด้วยความกังวลใจอยู่ลึกๆ “ขออย่าได้เป็นอะไรเลย ประเดี๋ยวจะขายขี้หน้าหมด” “อ้ายกลัวกระเป๋าเดินทางแตกใช่มั้ย?” น้องคนหนึ่งถาม“ก็....กลัวนะ....”“แต่ดูแล้วน่าจะไม่เป็นไรนี่”“ใช่.....”
แสงพูไช อินทะวีคำ
ถือว่าผมเป็นคนหนึ่งที่มีเพื่อนพ้องน้องพี่มากพอสมควร แต่ละคนชอบส่งข่าวให้กันและกันบ่อยๆ เวลาที่มีเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ เรื่องไอชีที ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เพื่อนส่งข่าวให้รู้ว่า “....คนจากลุ่มน้ำโขงจะมารวมตัวกันที่ ICT Camp มากมาย...เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้พบกับผู้คนมากหน้าหลายตาจากประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม ไทย ลาว .....” ทุกคนดูตื่นเต้นเอามากๆ เมื่อมีคำบอกเช่นนั้นจากเพื่อนๆ ผมจึงตกลงใจว่า “ไป” อีกประการหนึ่งก็คือ มีน้องๆ จากองค์กรเดียวกันไปร่วมด้วยเช่นกัน เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ะในโปรแกรมบอกว่ามีทั้งเรื่อง ไอที ข้อมูลข่าวสาร และเรื่อง Advocacy งานนี้จัดขื้นที่ Learning Resort…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ข่าวการสั่งห้ามชาวบ้านที่หลวงพระบางทำกิจการให้ชาวต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยวเช่าจักรยานและจักรยานยนต์ ได้ส่งผลลบมาสู่การท่องเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง หนังสือพิมพ์บางฉบับในไทยได้ลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากกลัวว่าอาจทำให้ความน่าสนใจ น่าเชื่อถือที่จะมาเยือนหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกลดลงไป การสั่งห้ามไม่ให้ชาวบ้านทำเช่นนั้น เป็นเพราะอะไร หลายคนเข้าใจว่า จากการหยุดไม่ให้ชาวบ้านทำ แต่มอบให้บริษัทเป็นคนทำ อาจทำให้ชาวบ้านสูญเสียรายได้ แล้วกลายเป็นการส่งเสริมนายทุนเพียงฝ่ายเดียว ชื่งไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน ผู้นำเที่ยวท่านหนึ่งบอกผมว่า “การห้ามชาวบ้านทำ เพราะไม่มีประกันความปลอดภัย…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วันที่ผมรู้สึกอบอุ่นมาก ก็คงหนีไม่พ้นงานพบปะของคอลัมนิสต์ประชาไท.....ที่เชียงใหม่เพราะผมไม่ได้นึกว่าจะมีโอกาสมาเจอเพื่อนสหาย นักเขียนไทยมากหลายเอาขนาดนี้ ส่วนมากก็คงเป็นคนเชียงใหม่....รอยยี้ม...เสียงหัวเราะ....ไม่ได้ต่างกันแม๋นิดเดียว....อาจจะต่างภาษา...แต่เรื่องนี้ก็ไม่แปลก เพราะเผ่าพันธุ์ต่างๆ ล้วนมีภาษาที่เป็นตัวของตัวเอง....สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความเข้าใจที่มีต่อกัน และเป็นสิ่งนี้เองที่บ่งบอกถึง “มิตรภาพ”  ซึ่งสื่อออกมาได้จากภาพที่ผมเก็บไว้
แสงพูไช อินทะวีคำ
   โอน้อ เจ้าผู้พ้วดอกอ้ม ผมพี่ดำนิน เฮียมเอยผมดำงามพอดูช่างตื่มสีแดงเข้มดำแดงคนเขาเอี้นสองสีแตกต่างสังมาอยู่ฮ่วมเค้าเกสาเจ้าผู้เดียวน้องบ่ออยากเว้าเลี้ยวเว้าล่ายความจริงมีบ่อนอีงจริงมาจา ว่ากันตามเรื่องย่อนมันเคืองคาข้อง หม้องใจน้องอุ่นความคิดเป็นว่าวุ้น นำอ้ายบ่าวพี่ชายน้องนี้หมายอยู่ซ้อนเฮียงฮ่วมชายเดียว อ้ายเอยคนอื่นนางบ่อเหลียวม่ายตานางซ้ำกรรมหยังนางบ่อฮู้ มาเห็นชายจริงหวังฮ่วมหวังอยากมาฮ่วมซ้อน นำอ้ายแต่ผู้เดียวแต่ว่าอ้ายพัดเบี้ยว แปล เปรียนสัญญาว่าสิแปลงผมยอย ย่อนลงทางหน้าชายสิเอามันถี้ม ให้เป็นสีดำธรรมชาติบาดมาเห็นเทื่อนี้…