Skip to main content

หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........

เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้ว

ผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า พูดในสิ่งที่มันไม่จีรังยั่งยืนให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นกัน 

ถามว่าพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนนั้นบางชุมชนในลาวเขาทำกันอย่างไร? พิธีกรรมนี้ชุมชนทำขึ้นเนื่องด้วยเหตุว่า ปีใดฟ้าแล้งไม่มีฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำเพื่อสนองให้แก่การผลิตผล เช่น การทำนาทำไร่ การเพาะปลูกต่างๆ ในเวลานั้นชุมชนจะรวมตัวกันแล้วถือ ชาม หม้อ ถ้วย และเครื่องไม้เครื่องมือ เดินเที่ยวไปตามบ้านต่างๆ เพื่อขอน้ำ โดยมีคำกลอน หรือกวีที่คนโบรานเคยใช้กันมานาน  เช่น

“โอลมเอ๋ยโอลาง     ขอกินส้มผักพานางแด่     อ้อแอ้แม่เจ้าเฮือน
เฮือนนี้มีควายเถิก     เฮือนนี้มีควายสื่อ
ซื่อเฮือนนี้ซื่อดี        สามปีกูยังเต้า        รุ่งเช้ากูยังมา มาขอต้นผักพานางแด่”

1

ชาวบ้านจะใช้กวีนี้ท่องขิ้นบ้านโน้นบ้านนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไปถึงบ้านใด คนบ้านนั้นก็จะมารวมตัวด้วยแล้วแห่กันไปตามหมู่บ้านต่างๆ เผื่อเป็นการขอ ในความเชื่อของชาวบ้านเชื่อกันว่า พิธีกรรมนี้จะทำให้คำขอของชาวบ้านในเรื่องทุกข์ร้อนไม่มีน้ำสนองแก่การผลิตผลขิ้นไปถึงเทวดาฟ้าแถนให้ช่วยบันดาลประทานน้ำฟ้าน้ำฝนให้

ในบทกวีบรรจุถ้อยคำที่บ่งบอกให้เทวดาทราบว่า ทว่าชาวบ้านมาขอกันอย่างนี้แล้ว หากไม่มีฝนโปรยลงมาแม้แต่เม็ดเดียว ชาวบ้านก็จะเที่ยวขอกันอย่างนี้ตลอดไป จนเกิดผลจริงๆขึ้นมา ชาวบ้านจึงหยุดพิธีกรรมการขอ

ในพิธีกรรมการขอน้ำฟ้าน้ำฝนของเผ่าไตแดง แขวงหัวพัน ไม่ได้หมายความว่า ด้วยความจน หรือเดือดร้อนจึงทำ แต่พิธีกรรมนี้มีมาช้านานนับเป็นหลายร้อยปี นับตั้งแต่เผ่าชนนี้ได้กำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินที่ราบสูงแห่งนี้ มาหลายชั่วอายุคนแล้ว การขอในความคิดของเผ่าไตแดง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความจริงใจ บริสุทธิ์ใจของพี่น้องในเผ่า เพราะว่าเผ่าไตแดงไม่ได้คิดว่าการขอนั้นเป็นเรื่องที่เสียหายอะไร แต่กลับถือว่าเป็นการทานน้ำใจให้กันมากกว่าการดูถูกเหยียดหยาม

พิธีกรรมแบบนี้ส่วนมากแล้วเป็นพิธีกรรมของเผ่าไตแหลง (ไตแดง) ในลาวทางภาคเหนือ เช่น แขวงหัวพันแล้วล่องลงไปเมืองเวียงไช ซึ่งเป็นแดนฐานที่มั่นของการปฏิวัติตอนสงครามเมื่อครั้ง 30 ปีก่อน พิธีกรรมสิ้นลงผลก็ปรากฎให้เห็นว่า สายฝนก็โปรยปรายลงมา ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อกันสืบมา

แต่ในทุกวันนี้พิธีกรรมนั้นได้หายไปนานแล้ว จนไม่มีใครจำได้ว่า มันหายไปนานเท่าไร กี่ปีกี่เดือนที่พิธีกรรมนี้ไม่คงตัวสืบอยู่คู่ลูกๆ หลานๆ ของชุมชน ถามว่า ทำไมไม่สืบสานพิธีกรรมอย่างนี้ล่ะ? คนเฒ่าคนแก่ก็ตอบว่า เราจะทำไปทำไมในเมื่อทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เหตุผลของชุมชนก็คือ การพัฒนาเข้ามามีบทบาทมากในหมู่ชุมชนคนชนบท ทำให้อะไรหลายๆ อย่างต้องถูกลืมเลือนไป หรือสูญเสียไป  ทางพิธีกรรมก็คือวัฒนธรรมของชุมชน เพราะบางครั้งการทำพิธีกรรมถูกมองว่าเป็นเรื่องงมงายเกินไป พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับไม่มีชลประทาน พื้นที่ที่มีท้องทุ่งนากลับมีชลประทาน

2

ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างในบางชุมชนของลาวจึงไม่มีให้เห็นเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว แม้ว่าพิธีกรรมนั้นจะทำให้ชาวบ้านมีความพยายามที่จะรักษาและหวงแหนไว้  ปีนี้น้ำฟ้าน้ำฝนมาช้าไป แม้ว่าจะถึงเดือนสิงหาคมแล้วก็ตามที บางครอบครัวไม่ได้ปักดำต้นกล้าแม้ต้นเดียวลงในท้องนา ยิ่งทุกวันนี้โครงการปลูกไม้เข้าไปลงในชุมชนมากขึ้นทุกวัน ป่าไม้ถูกนายทุนรุกราน ต้นไม้ใบหญ้าทางธรรมชาติเหลือน้อยลง ฉะนั้นพิธีกรรมนี้จึงอาจจะไม่ได้มีความหมายมากนักสำหรับชาวบ้านอีกต่อไป

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
  น้องกล่าวว่าสะพานข้ามของโยงใจรัก เชื่อมสัมพันธ์แน่นหนักสองฝั่งของ แต่อ้ายว่าสะพานขัวนั้นมันเชื่อมโยง สองฝั่งของของน้องพี่คู่เคียงกัน
แสงพูไช อินทะวีคำ
 
แสงพูไช อินทะวีคำ
      สุขลุลาภได้.....................ชัยประเสริฐยอถืง เลิงๆเบยบานสุข...............ทุกข์อย่าเวินมาต้อง ความหมองเหยหายเสี้ยง....เหลือเพียงความซ้อยชื่น หมื่นปีสุข์อยู่สร้าง..............ปางฟ้าสหง่างาม....ท่านเอ๋ย  
แสงพูไช อินทะวีคำ
  คนสมัยนี้ ช่างแปลกดี เปลี่ยนแปลงไป ลบทิ้งได้ ความดีงาม ที่มีอยู่ ความดีแท้ เขาสร้างสรรค์ ครารุ่นปู่ ไม่เหลืออยู่ คนรุ่นนี้ ลบทิ้งไป  
แสงพูไช อินทะวีคำ
   
แสงพูไช อินทะวีคำ
เดือนสว่างพรางแพรวแล้วแก้วตา คราตามองยังไม่ชัดดูมืดมัว ไม่ใช่ว่ากลัวผีคืนเดือนดับเป็นสลัว เพราะตามัวหรือมั้ยรู้จริงดูขรึม
แสงพูไช อินทะวีคำ
  แสงพูไชย อินทะวีคำ เขียนสุมาตร ภูลายยาว แปล  จำปีพยายามปั่นจักรยานเก่าๆ คู่ชีพของตนไปตามถนนเรื่อยๆ ทั้งวันตามคำแนะนำของป้าจำเริญ ที่หลายคนขนานนามให้แก่ว่า ‘คุณป้าแสนรู้' เพราะคนจะขายบ้านอยู่ตรงไหน ถนนใด ซอยใด คุ้มใดในขอบเขตเมืองเวียงจัน ไม่เป็นอันหลุดรอดสายตาป้าไปได้ จำปีทั้งปั่นทั้งยกมือขึ้นเอาชายเสื้อเช็ดเหงื่อที่ไหลลงมาราวกับน้ำจากรางริน เพราะความร้อนของอากาศเมืองเวียงจันในช่วงเดือน ๕ ของปี ๒๐๐๓
แสงพูไช อินทะวีคำ
เขียน: แสงพูไชย อินทะวีคำ แปล: สุมาตร ภูลายยาว แม้จะบิดเร่งคันเร่งเท่าไหร่ รถจักรยานยนต์ยังวิ่งช้าเหมือนเต่าคลาน  ที่เป็นอย่างนี้คงเพราะความเร่งรีบอย่างไปถึงไปรษณีย์ให้เร็ว เพราะชั่วโมงทำงานใกล้มาถึง มือบิดคันเร่งพอๆ กับหัวใจที่ร้อนรนกลัวไม่ทันเวลา  สายตาจึงต้องเพ่งมองไปตามถนนเพื่อหลบรถคันแล้วคันเล่าก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าไปสู่ไปรษณีย์กลาง
แสงพูไช อินทะวีคำ
พระอาทิตย์ยามใกล้ค่ำสาดแสงอ่อนๆ ลอดผ่านปลายไม้ตามถนนล้านช้าง บนถนนรถยังคงแน่นขนัดวิ่งสวนกันไปมา ข้าพเจ้าประคับประคองร่างกาย ค่อยๆ ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่าช้าๆ สายตามองสองส่องหาเศษขยะ  ปากก็กลืนน้ำลายลงคอ  สมองก็เริ่มคิดว่า ในบรรดาถังขยะเหล่านั้นจะมีสิ่งใดที่พอทำให้ข้าพเจ้ามีชีวิตรอดต่อไปอีกหนึ่งวัน
แสงพูไช อินทะวีคำ
ที่ร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่ง บนริมถนนล้านช้าง เช้าเช้าอย่างนี้เป็นเวลาที่ผู้คนกำลังเดินเข้าเดินออกเพื่อที่จะมาลิ้มรสกาแฟปากช่องที่ขึ้นชื่อที่สุด ชายหนุ่มชื่อต่ายเดินไปในร้านกาแฟ แกมองซ้ายมองขวา ก่อนที่จะนั่งลง อีกไม่ถืงสามนาที ก็มีหญิงสาวอายุประมาณยี่สิบกว่านิดๆ เดินเข้ามานั่งลงม้านั่งด้านตรงกันข้าม เสียงสนทนาแว่วๆ เข้าหู "นึกว่าพี่จะไม่มา""ไม่มาได้ไง?""ขอบคุณค่ะ""ไม่เป็นไร ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว""ไอ้เรื่องไหนๆ ที่พี่ว่ามีความหมายว่าอย่างไร?""ไม่มีอะไรหรอก คิดมากไป...""ถามจริงๆเถอะ...พี่ชอบหนูจริงหรือเปล่าคะ?""เรื่องนี้เราคุยกันรู้เรื่องแล้วไม่ไช่หรือ? ทำไมต้องคุยอีก""ก็กลัวพี่ไม่รักหนูจริงนี่นา"
แสงพูไช อินทะวีคำ
สมสีเป็นลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของพ่อเผย ชาวบ้านต่างกล่าวขานกันว่า เป็นผู้หญิงที่สวยเพียบพร้อมด้วยสมบัติบารมี ตรงตามตำราโบราณ รูปร่างสมส่วน ผิวขาวเหมือนไข่ปอก เข้ากับภาษิตที่ว่า ‘ตีนมือสวยลงน้ำหมานปลา ตีนมือหว้าลงนาหมานข้าว ไผได้เอาฮ่วมซ้อนคำไร้แม่นบ่มี’ เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านห้วยจิก วันนี้จ่อยกลับจากไปสู่ขวัญบ้านใต้ มองเห็นพ่อเผยกำลังนั่งเหลาตอกอยู่เพียงลำพัง จึงร้องทักอย่างคนคุ้นเคย “พ่อเผยเอ้ย! ข้อยขอเป็นลูกเขยได้บ่” จ่อยทั้งร้องทักทั้งส่งเสียงหัวเราะแหะๆ “บักจ่อย! มึงกล้าแต่ฮ้องใส่กูนี้แล้ว ถ้ามึงกล้าเว้ากับอี่สี แล้วมันตกลงแต่งงานกับมึง กูจะบ่ขัดทั้งสิยกให้มึงโลด”…
แสงพูไช อินทะวีคำ
พอเข้าบ้านปุ๊บ เสียงแปลกประหลาดก็วิ่งเข้าสู่รูหูทันที เสียงแบบนี้ข้าพเจ้าไม่คุ้นหูเอาเสียเลย และมันก็ไม่เคยเกิดขึ้นกับภรรยาสุดที่รักของข้าพเจ้าสักครั้ง เธอนั่งร้องไห้น้ำตาไหลพราก น้ำมูกย้อยเหมือนได้รับความระทมขมขื่นอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ข้าพเจ้าสืบเท้าเข้าไปหาเธอ เพื่อถามไถ่เรื่องราวต่างๆ แต่ข้าพเจ้าต้องหยุดชะงักอยู่กับที่ เมื่อเธอชี้หน้าทำตาขวางเหมือนจะบดขยี้ข้าพเจ้าให้แหลกคามือ คำพูดที่หลุดออกมาจากปากของเธอไม่ต่างอะไรกับน้ำที่ไหลออกมาจากรางรินรับน้ำฝน ข้าพเจ้าฟังจนเกือบไม่ทัน เธอพูดว่า ''เจ้ามันบ้า! บ้าแท้ๆ! เจ้าบ่มีเวียกบ่? เดี๋ยวนี่คำเว้าของชาวบ้านแล่นเข้าหูข้อยจนล้นออกมาแล้ว…