Skip to main content

การชุมนุม เป็นเครื่องมือของใคร?


หากยึดตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้อย่างเสมอภาคกัน

แต่หากมองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสิทธิการชุมนุม จะพบว่า การชุมนุมเป็นเครื่องมือขั้นท้ายๆ ในการต่อรองของกลุ่มคนที่มีความเดือดร้อนในชีวิต แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น ชาวนาชุมนุมเรียกร้องเรื่องที่ดินกับเจ้าของที่ผูขูดรีดค่าเช่า หรือต่อต้านขุนนางศักดินาผู้ขูรีดภาษีเกินควร หรือกรรมกรเรียกร้องสวัสดิการและค่าตอบแทนจากนายจ้างและรัฐ

การชุมนุมจึงเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ ชาวนา กรรมกร ได้อ้อนวอนขอความเห็นใจก็แล้ว พูดคุยเจรจาก็แล้ว ยื่นหนังสือ ฯลฯ ยังไม่เป็นผล เพราะอาจถูกโต้แย้งจากนายจ้าง เจ้าของที่ดิน และผู้มีอำนาจรัฐว่า การเรียกร้องเป็นขอคนบางกลุ่ม ข้อเรียกร้องไม่สำคัญ ไม่มีน้ำหนัก หรือไม่มีความจำเป็นให้ตอบสนอง

การรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงความจำเป็นและเรียกร้องร่วมกันอย่างสันติด้วยการชุมนุม จึงเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่ความขัดแย้งจะรุนแรงถึงขั้นแตกหัก ระหว่างผู้มีอำนาจ กับ ผู้ด้อยอำนาจ

 

การชุมนุมควรกระทำด้วยวิธีการใด?

คนที่จำเป็นต้องลุกขึ้นมารวมตัวกันชุมนุมเรียกร้องมักอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่า เช่น ลูกจ้างที่ต้องยอมทำงานหรือรับเงื่อนไขสภาพการจ้างงานเพราะต้องการรายได้  ชาวนาที่จำเป็นต้องเช่านาแพงเพราะไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง หรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐแต่ก็ยังต้องการให้มีรัฐเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่   ดังนั้นคนเหล่านี้มีอำนาจน้อยกว่าโดยสภาพ หากแยกกันไปต่อรองเองรายคน ย่อมไม่สำเร็จแน่

พวกเขาจึงต้องทำใช้วิธิการเพิ่ม "เสียง"  โดยอาจเพิ่มจำนวนเสียงด้วยการรวมคนจำนวนมากขึ้น   หรือเพิ่มเนื้อหาสาระของเสียงให้มีน้ำหนักด้วยการฉวยเอา สิทธิต่างๆที่กฎหมายรับรอง หรือสะท้อนความยุติธรรมในการดำรงชีพ  (เพราะมีหลายครั้งเป็นการเรียกร้องสิ่งที่กฎหมายยังไม่ให้สิทธิ เช่น เพิ่มค่าแรง สวัสดิการ หรือความปลอดภัยในการทำงาน)

ดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก คือ ไม่ทำลาย "เสียง" ของการเคลื่อนไหว  แต่ต้องเพิ่มแนวร่วมออกไปให้มากที่สุด   การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องยึดถือ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และสร้างอันตรายให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงคนในขบวนการเคลื่อนไหวของตน

เนื่องจากในหลายครั้ง การได้ชัยชนะเกิดจากการสร้างกระแสสังคมในการหนุนเสริมผู้ที่ชุมนุมเรียกร้องเข้ามาด้วย   เช่น เมื่อ แรงงานชุมนุมโดยสงบแต่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม   ชาวนาชุมนุมโดยสงบแต่ถูกลอบสังหาร หรือประชาชนต่อต้านกฎหมายที่ริดลอนสิทธิแล้วถูกจับกุมคุมขัง   ทำให้คนในสังคมที่รู้ข่าว เกิดความรู้สึกเห็นด้วยกับการชุมนุมและรับไม่ได้กับการกระทำของผู้มีอำนาจ

ดังนั้น การชุมนุมจึงต้องดึงดูดสังคมโดยการรักษากรอบกติกาโดยรวมของสังคม การยอมรับผลของกฎหมายบางข้อเพื่อหวังผลที่ใหญ่กว่าจึงสำคัญมาก

 

การชุมนุมมีความสำคัญอย่างไรในสังคม?

ดังนั้น คนที่จำเป็นต้องใช้การชุมนุม คือ คนที่โดยสภาพไม่มีเครื่องมืออื่นมากนักในการต่อรอง เช่น ไม่มีรายได้สายป่านยาวนักในการต่อรองนานๆ ไม่มีเส้นสายในการเจรจาต้าอวยกับผู้มีอำนาจ ไม่มีความสามารถในการสื่อสารแบบสละสลวยเหมือนผู้มีการศึกษาในระบบ และไม่มีสื่อในการส่งเสียงออกไปให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง

การชุมนุม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจในสังคม กลับกันผู้ที่มีอำนาจ บารมี อิทธิพล เส้นสาย สื่อ และรายได้ ย่อมมีวิธีการเจรจาต่อรองมากมายในการเรียกร้องให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ เช่น ยกหูโทรศัพท์ไปขอ เอาผลประโยชน์ทางธุรกิจมาแลก ด่าอีกฝ่ายผ่านสื่อ 24 ชม. หรือแม้กระทั่งเปิดโปงทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม

ต้องไม่ลืมว่า แรงงานไม่มีเครื่องมือเหล่านั้น   การชุมนุมจึงเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายที่ต้องเหลือไว้ให้แรงงาน ดีกว่าปล่อยให้เกิดการแย่งชิงโดยใช้กำลัง
 

สถานการณ์ "การชุมนุม" ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

ในระยะ 7-8 ปีหลังที่มีการชุมนุมทางการเมืองถี่ขึ้น กลับพบว่าการชุมนุมขนาดใหญ่ทางการเมือง แกนนำไม่ถูกดำเนินคดีอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แม้ในหลายครั้งจะปรากฏชัดว่า การชุมนุมได้สร้างผลกระทบในวงกว้าง หรือถึงขั้นทำให้เกิดการสูญเสียด้วยการตัดสินใจของแกนนำ เป็นระยะ

แต่เมื่อสำรวจคดีเกี่ยวกับการชุมนุมในระดับพื้นที่ พบว่า ชาวบ้านที่มีความจำเป็นในการชุมนุมเพื่อปัญหาปากท้อง แรงงานที่ชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมทางกฎหมาย กลับต้องเผชิญกับการดำเนินคดีหลากหลายรูปแบบ จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่ของรัฐ   และมีหลายคดีที่ต้องคำพิพากษาเด็ดขาดต้องรับโทษทางอาญาทันที โดยไม่มีการรอลงอาญา เสมือนว่าเป็นการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" เพื่อให้ประชาชนเข็ดหลาบไม่กล้าชุมนุมอีก

แต่สิ่งที่คาใจหลายๆท่าน คือ "เชือดไก่น้อย" ให้ "ลิงมากบารมี" ดู แล้วจะได้ผลอะไร กลับสะท้อนให้เห็น "มาตรฐานที่ลักลั่น" ของกระบวนการยุติธรรม และการปกครองรัฐให้เกิดแพร่หลายในสังคมมากขึ้นไปอีก   ซึ่งความรู้สึก "อยุติธรรม" นี้ย่อมมีผลต่อความเคารพกฎหมาย และความมั่นคงของสังคมที่ประกาศว่าจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือผดุงความยุติธรรม   เป็นการข่มขู่ที่ผิดฝาผิดตัวอย่างแท้จริง

จะเห็นได้ว่า การชุมนุมของกลุ่มทางการเมืองมากบารมีนั้นปลอดจากการบังคับกฎหมายในหลายกรณี แต่ผู้ที่มีอำนาจบารมีน้อยนั้นเสี่ยงคุกเสี่ยงตารางมาก

 

การรักษาภาพลักษณ์ของ "การชุมนุม" จำเป็นไหม?

การชุมนุมขนาดใหญ่ที่ไม่มีความชอบธรรมทั้งวิธีการ และข้อเสนอที่เรียกร้องขัดกับกฎหมาย ได้ทำลาย "ความอดทน" ของคนทั้งสังคมที่มีต่อการชุมนุมเป็นอันมาก จนนำไปสู่การเหมารวมว่า "การชุมนุมทั้งหมดสร้างความเดือดร้อน"   ได้นำไปสู่แนวนโยบายของรัฐและกระบวนการยุติธรรมในการ "ลงโทษขั้นเด็ดขาด" กับผู้ชุมนุมที่รัฐและกระบวนการสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ 

ชะตากรรมอันมืดหม่นของแรงงาน ผู้ชุมนุมด้วยเหตุที่ไม่มีเครื่องมืออื่นๆเหลืออยู่ จึงตกอยู่ในมือของการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ว่าได้ "ทำลายภาพลักษณ์" ของการชุมนุมไปมากขนาดไหนด้วย  ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง และความจำเป็นของแรงงานก็ต่างกว่าลิบลับ

 

หากสังคมยังเห็นความสำคัญในการรักษาการชุมนุมให้เป็นเครื่องมือต่อรองของ "ผู้ด้อยอำนาจ"    ก็ย่อมต้องควบคุมการชุมนุมทั้งหลายไม่ให้สร้างความเสื่อมทรามไปในความรู้สึกของสังคม  

ขอฝากไปยังผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งหลายว่า ให้เข้าใจความจำเป็นของผู้ใช้แรงงาน และกรุณาเชือดไก่ให้ถูกตัวด้วย

บล็อกของ ยาจกเร่ร่อน

ยาจกเร่ร่อน
ท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อยคงเคยบนบานศาลกล่าวหรือขอพรจากสิ่งศักดิ์ในยามคับขัน หรือประสงค์ในสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่ตัวเองจะกำหนดผลกันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย   ยังมินับรวมกระแสความนิยมการใช้ศาสตร์ทางโหราและความรู้ที่สืบทอดกันมานับพันปีอย่างฮวงจุ้ย โหงวเฮ้งในทางธุรกิจที่ทราบกันดีว่ามีอยู่ในกระ
ยาจกเร่ร่อน
หากสิทธิสตรีและเสรีภาพระหว่างเพศ มีอุปสรรคขัดขวางคือ "สังคมชายเป็นใหญ่" มีชายครองอำนาจการเมืองกุมการปกครอง ควบคุมเทคโนโลยี เป็นใหญ่ในครอบครัวบังคับให้คนในบ้านรับบทบาทโน่นนี่   หรือมีความบริสุทธิ์กว่าตามความเชื่อของศาสนา  
ยาจกเร่ร่อน
หาก “เวลา” คือ สิ่งสำคัญอย่างแท้จริงในชีวิต มนุษย์จะเลือกเติมอะไรลงไปในเวลาที่ตนมีอย่างจำกัด
ยาจกเร่ร่อน
เราซึมเศร้า เพราะเราเข้าใจและใส่ใจเพื่อนมนุษย์ผู้หงอยเหงา (Sympathy)เราเห็นใจคนเศร้า เพราะเราก็สิ้นหวังในวันที่พ่ายแพ้เราลุกขึ้นจากความพ่ายแพ้ เพราะเห็นทางแก้อยู่ตรงหน้าเราจะไปให้ถึงขอบฟ้า เพราะรู้ว่ามีคนรุ่นใหม่มุ่งหน้าไปเช่นกัน
ยาจกเร่ร่อน
ในคืนอันเฉอะแฉะของปลายฤดูร้อน มีคนเข้ามาคืนความสุขให้คนไทยพักผ่อนกันถ้วนหน้า หลังจากล้าเพราะสงครามมากึ่งปีแต่ทว่าความสุขที่ได้มาพร้อมเงื่อนไข ไม่เปิดโอกาสให้แสดงออกเต็มที่หลบไปแสวงหาความสุขด้วยมหกรรมกีฬาระดับโลกแล้วก็หายไป ต้องกลับมาอยู่กับวันใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม
ยาจกเร่ร่อน
คนไทยกับคนอิตาลี มีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง คือ เกิด เติบโต และอาศัยอยู่ในดินแดนที่อากาศดี อาหารอร่อย มีทรัพยากรให้ใช้สอยมากมาย ทั้งเกษตร และท่องเที่ยว เรียกว่าไม่ต้องออกไปนอกประเทศเลยก็มีความสุขได้   แต่ก็กลายเป็นดาบสองคมเพราะมันคือสังคมที่คนอาจคิดไปว่า “เราคือศูนย์กลางจักรวาล”
ยาจกเร่ร่อน
หลังจากความล้มเหลวของทีมชาติเปน ทำให้เกิดคำถามอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวไทยว่าเกิดอะไรขึ้น   แต่ความถดถอยนี้มีเค้าลางมาตั้งแต่ศึกฟีฟ่าคอนเฟดเดอเรชั่นคัฟ   เมื่อปี 2013   ซึ่งเป็นปีที่โลกรับรู้ว่า สถานะทางเศรษฐกิจของสเปนอยู่ในภาวะล้มละลาย   คนในยุโรปทราบดีว่าสิ
ยาจกเร่ร่อน
จากผลการแข่งขันฟุตบอลโลกนัดแรกของทีมขวัญใจมหาชนอย่าง อังกฤษ คงสร้างความหงุดหงิดและคลางแคลงใจให้กับคนจำนวนไม่น้อย  เหมือนทุกครั้งที่แฟนบอลชาวไทยต้องช้ำใจเพราะอังกฤษ  ทำไม คนไทยจำนวนมากถึงส่งแรงใจเชียร์อังกฤษ ?
ยาจกเร่ร่อน
เถียงกันไป เถียงกันมา เรามัวแต่ทำงานจนลืมเวลา พอหันกลับมาก็รัฐประหารเสียแล้วแรงงานในประเทศไทยหลายสิบล้านคนทั้งที่เป็นคนไทย และที่ขยับขยายมาจากต่างชาติ ก็คงสงสัยไม่ต่างกันว่า เปลี่ยนแล้วชีวิตเราดีขึ้นไหม
ยาจกเร่ร่อน
ทำไมคนต้องทำงาน?  ยังมีคนถามเรื่องนี้อยู่อีกหรือไม่?แต่คำตอบที่ได้ ย่อมสะท้อนตัวตน ชนชั้น และความจำเป็นในชีวิตแต่ละคนอย่างแน่นอนคนมีมรดกตกทอด อาจไม่ต้องดิ้นรนทำมาหากินมากนัก แต่มีกินมีใช้จากดอกเบี้ย และค่าเช่าที่ได้จากทรัพย์สิน ซึ่งบรรพบุรุษส่งมอบไว้ให้
ยาจกเร่ร่อน
วันแรงงาน จัดขึ้นเพื่อ ให้แรงงานหยุดงานมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิต่อนายจ้าง และรัฐแต่สิ่งที่เห็น คือ มีคนต้องทำงานในวันนี้เต็มไปหมดคนที่ไม่ได้ทำงาน ก็ถือเอาเวลานี้ไปโรงพยาบาลเพื่อซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอจากการทำงาน หรือพาครอบครัว/ตัวเองไปพักผ่อน
ยาจกเร่ร่อน
มีเสียงบ่นเข้ามาหนาหู จากเหล่าครูบาอาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ที่ควรเป็นชนชั้นนำทางปัญญา ใช้สติปัญญาและเวลามาแก้ปัญหาสังคม ว่า เขากำลังอยู่ในภาวะเตี้ยอุ้มค่อม หากต้องออกมาช่วยเหลือสังคมหรือเคลื่อนไหวทางการเมือง   เพราะการจ้างงานของตนในมหาวิทยาลัย เข้าสู่ยุคมหาวิทยาลัยนอกระบบที่จะต