Skip to main content
คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"

เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”

เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน
ICT

การที่องค์กรในระดับต่างๆ กระโจนเข้าใส่เทคโนโลยีอันทันสมัยหนึ่งๆ โดยใช้เหตุผลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ ยังมีมุมมองที่ค่อนข้างแคบ เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ คือมองว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ อย่างที่เทคโนโลยีในอดีตไม่สามารถทำได้ สามารถสร้างประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ ให้กับประเทศหรือองค์กรอื่นๆ ดังนั้นเทคโนโลยีดังกล่าว ต้องทำให้ประโยชน์อย่างเดียวกัน เกิดขึ้นกับประเทศหรือองค์กรของเรา เลยกระโจนเข้าใส่อย่างไม่รั้งรอ


นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นว่า การตัดสินใจลงทุนทางเทคโนโลยีในระดับองค์กร ส่วนใหญ่ถูกผลักดันโดยเหตุผลฉาบฉวย คือไม่อยาหล้าหลังและเสียหน้า มากกว่าที่จะวิเคราะห์ถึงความต้องการที่แท้จริง หรือความพร้อมขององค์กรตน


ผลที่ตามมาคือ องค์กรซึ่งดำเนินนโยบายตามแห่ นอกจากจะไม่ได้รับประโยชน์อย่างที่คาดคิดแล้ว กลับประสบปัญหาต่างๆมากมาย


ผลลัพธ์ดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญมาจาก การมองถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นเพียงอย่างเดียว โดยขาดการศึกษาถึงผลกระทบของเทคโนโลยีดังกล่าว ที่มีต่อองค์กรในด้านต่างๆอย่างรอบด้าน


เนื่องจากเทคโนโลยีแต่ละตัว ต้องการความพร้อมของปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งไม่ได้มีปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น หากแต่ต้องการความพร้อมของทั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความรู้พื้นฐานของสมาชิกภายในองค์กร เพื่อการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดังกล่าว การพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเพียงพอ ทั้งในแง่ของความรู้ความสามารถและปริมาณ เพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีดังกล่าว และการมีเครื่องมือทางการบริหารองค์กรที่เหมาะสม ในวันที่เทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กร เช่น การมีการดำเนินนโยบายที่คลอบคลุม สอดคล้อง และต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนา การใช้ประโยชน์ รวมถึงการแก้ปัญหาอันสืบเนื่องจากเทคโนโลยีนั้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้ การที่
ICT เป็นเทคโนโลยีซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง หมายถึง ICT ถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อพัฒนาระบบหรือวิธีการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และความสามารถของผู้ที่นำมันไปใช้ จึงทำให้มันเป็นเทคโนโลยี ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างมหาศาล

หรือมองในมุมกลับ
ICT คือเทคโนโลยีที่คนจำนวนมาก เข้าไปมีบทบาทและร่วมกันปั้นแต่ง ให้เป็นไปในลักษณะที่สังคมนั้นๆต้องการ

นั่นหมายความว่า สังคมสองสังคม ซึ่งสมาชิกมีความแตกต่างกัน ในหลากบริบท เช่น ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และพื้นฐานการศึกษา ย่อมมีการยอมรับ มีการใช้ประโยชน์ และมีมุมมอง ในการปั้นแต่งเทคโนโลยี
ICT ที่แตกต่างกันไป ซึ่งหมายรวมถึง การมีสภาพปัญหาและความต้องการวิธีการแก้ปัญหา ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จึงทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า การที่องค์กรหนึ่งๆนั้น จะกระโจนเข้าหาเทคโนโลยีหนึ่งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ICT ย่อมไม่สามารถรองรับด้วยเหตุผลที่ฉาบฉวย หรือด้วยเหตุผลที่มองแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว หากแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบของมันอย่างรอบด้าน ควบคู่ไปกับการมีความพร้อม ในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน และความเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะของ ICT ที่กล่าวไว้ข้างต้น

การโยนเม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยีอันทันสมัย เพื่อหวังว่ามันจะช่วยแก้ปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และเพื่อรับประโยชน์เฉกเช่นเดียวองค์กรอื่นๆ โดยไม่ได้ศึกษาและเข้าใจอย่างถ่องแท้และรอบด้าน ไม่เพียงจะไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวัง หากแต่จะนำไปสู่สภาพปัญหาใหม่ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที มีแต่จะนำไปสู่สภาวะที่ย่ำแย่กว่าเดิม


การลงทุนทางเทคโนโลยีแบบตามแห่...นอกจากองค์กรผู้ดำเนินนโยบาย จะต้องเผชิญกับความลำบาก อย่างที่ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นไว้ในเบื้องต้น ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุน กลับไม่ได้ตกอยู่กับองค์กรตนเอง

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการตามแห่ในครั้งนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นบริษัทผู้ผลิตและผู้ขายเทคโนโลยี ซึ่งได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนในทันที

ผลประโยชน์ของการลงทุนทางเทคโนโลยีแบบตามแห่ นอกจากจะตกอยู่กับผู้ผลิตและผู้ขายเทคโนโลยีแล้ว ในหลายๆครั้ง ผู้ที่ได้รับประโยชน์ อาจหมายรวมถึงปัจเจกบุคคล ผู้ผลักดันให้โครงการลงทุนทางเทคโนโลยีต่างๆเกิดขึ้น

โดยไม่ได้ขึ้นกับว่า สุดท้ายโครงการจะสำเร็จหรือไม่ ก่อโทษมากกว่าประโยชน์อย่างไร ปัจเจกบุคคลดังกล่าวก็ได้รับผลตอบแทนส่วนบุคคล จากบริษัทผู้ขายหรือผู้ผลิตเทคโนโลยี หรือเป็นการผลักดันโครงการเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ซึ่งนั่นโยงไปถึงสภาวะปัญหา การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากนี้


หากองค์กรที่ท่านเป็นสมาชิกอยู่ กำลังมีความพยายามผลักดันโครงการทางICT ใดๆ หวังว่าทุกท่านจะตระหนักถึงประเด็นนำเสนอในวันนี้ และสามารถนำไปใช้สอดส่อง เพื่อทำให้แน่ใจว่า การลงทุนในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ กับกับองค์กรของท่าน ไม่ใช่ไปตกกับบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายเทคโนโลยี อีกทั้งประโยชน์จากการลงทุนนี้ ต้องตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ขององค์กรอย่างแท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่พยายามผลักดันโครงการ


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…