Skip to main content

คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใด

หลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเรา

อย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...ผลที่ตามมาอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ก็คือ การที่คนไทยเรา ปล่อยให้ความผิดพลาดเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่รู้จักเรียนรู้และป้องกัน และทำให้เราไม่สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร หรือบางครั้งย่ำอยู่กับที่เสียด้วยซ้ำ

และผลลัพธ์ของการไม่รู้จักเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต ทำให้เราต้องสูญเสียอย่างมากมาย ทั้งในแง่ของเงินทอง และในเรื่องของโอกาส เพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งด้วยความสูญเสียเช่นนี้ เป็นการยากที่ประเทศไทยและคนไทยของเรา จะอยู่รอดในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูง เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และด้วยอัตราเร็วที่เพิ่มขึ้นทุกทีๆ

ทางเดียวที่จะสามารถก้าวตามกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมทางการแข่งขันในโลกปัจจุบัน คือต้องขยายขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง หรือถ้าให้เข้ากับยุคสมัยก็คือ ต้องสามารถพัฒนาขีดความสามารถ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของตน ได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

เพื่อให้มีความสามารถในลักษณะข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด และไม่ปล่อยให้ความผิดพลาด ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการพัฒนา เกิดขึ้น ผ่านไป และกลับมาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

การผลักดันให้ “การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต” เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในสังคมไทย ถึงแม้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นเรื่องในระดับของค่านิยม ที่จำเป็นต้องปลูกฝังลงในสังคมไทย แต่ถือเป็นเรื่องจำเป็น สำคัญ และต้องรีบดำเนินการอย่างที่สุด

หากไม่นับเรื่องการปรับทัศนคติทางสังคม ซึ่งจำเป็นต้องใช้แนวทางการรณรงค์ เพื่อยกระดับค่านิยมในสังคม และเป็นการดำเนินการที่ต้องใช้เวลา การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต สามารถดำเนินการได้ง่าย เป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากความสามารถของ ICT ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต เพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต ประกอบขึ้นด้วยกิจกรรมในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาด การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลดดังกล่าว การจัดทำบทสรุป การดำเนินการให้ผลของการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการตีแผ่ผลการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจและผู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงต่อไป

ด้วยพลังและความสามารถของ ICT ทั้งในแง่ของการประมวลผล จัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล ในแง่ของการควบคุมชั้นการเข้าถึงข้อมูลแต่ละประเภท ในแง่ของการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารจากระยะไกล และในแง่ของการปรับปรุงรูปแบบการทำงานของระบบได้ค่อนข้างยืดหยุ่น ทำให้กิจกรรมและขั้นตอนต่างๆข้างต้น สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

ด้วยความสามารถทั้งหมดข้างต้นของ ICT การดำเนินการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต สามารถเกิดขึ้นได้ดังนี้

เมื่อมีการดำเนินโครงการหรือมีการทำงานใดแล้วเกิดความผิดพลาดล้มเหลว จักต้องมีการประเมินผลโครงการหรือการทำงานนั้นทันที ซึ่งด้วยความสามารถของ ICT ในด้านการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารระยะไกล จักช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดกับโครงการหรือการทำงานนั้น เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาด การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำบทสรุป การดำเนินการให้ผลของการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยความสามารถของ ICT ในด้านการสนับสนุนการประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจักช่วยให้การทำงานระหว่างกลุ่มคนกับข้อมูลในลักษณะต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

การจัดเก็บข้อมูลการประเมินผล ในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ก็เป็นอีกขั้นตอนสำคัญ ที่ทำให้ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากความผิดพลาด มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงในการผิดพลาดหรือล้มเหลวอย่างซ้ำซากในวงกว้าง ซึ่งตรงจุดนี้ความสามารถของ ICT ในแง่ของการควบคุมชั้นการเข้าถึงข้อมูลแต่ละประเภท เข้ามาช่วยบริหารชั้นความลับของการเปิดเผยข้อมูล เพื่อทำให้การเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลทำได้อย่างถูกต้อง และด้วยความสบายใจของทุกฝ่ายว่า ผู้เข้ามาใช้ประโยชน์ข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับที่เหมาะสม หากการควบคุมชั้นความลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับข้อมูลนั้นๆ

การที่ ICT มีรูปแบบการทำงานที่สามารถถูกปรับปรุงรูปได้ค่อนข้างยืดหยุ่น เป็นอีกความสามารถหนึ่ง ที่ทำให้ระบบการทำงานหรือโครงการต่างๆ นิยมนำ ICT เข้ามาใช้งาน เพื่อช่วยให้การทำงานต่างๆ เมื่อมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้ว สามารถนำข้อแก้ไขต่างๆ มาพัฒนารูปแบบการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากการเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้ว ความสามารถของ ICT ยังถูกประยุกต์ใช้ในทำนองเดียวกัน หากแต่เพื่อเรียนรู้จากความสำเร็จได้อีกด้วย

โครงการหรือการทำงานใด ที่ประสบความสำเร็จ เราต้องนำมาวิเคระห์และสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ และดำเนินการตีแผ่ผลการวิเคราะห์นี้ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อสนับสนุนให้โครงการหรือการทำงาน ในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกัน ตระหนักถึงและนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้เป็นกรอบการดำเนินการ เพื่อการมีแนวโน้มในการประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันต่อไป

ข้าพเจ้ามั่นใจว่า หากสังคมไทยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ จากทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จที่ผ่านไป ย่อมทำให้สังคมไทยสามารถหลีกเลี่ยงสภาพแห่งการผิดพลาดหรือล้มเหลวซ้ำซาก พร้อมทั้งทำให้การดำเนินการต่างๆของเรา ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น ยอมทำให้ประเทศของเรามีแนวโน้มแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และสามารถก้าวทันกับอัตราเร็วแห่งการเปลี่ยนแปลงไปของโลกใบนี้ ได้ในท้ายที่สุด

ความสามารถของ ICT ช่วยเราได้มากมายขนาดนี้แล้ว เหลือเพียงแต่ว่าเราจะช่วยกันรณรงค์ เพื่อยกระดับให้ การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต เป็นค่านิยมสำคัญลำดับต้นๆของสังคมเรา ได้รวดเร็วและมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น

ข้าพเจ้าไม่อยากให้เราปล่อยโอกาสอันดีนี้หลุดลอยไป


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…