Skip to main content

คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใด

หลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเรา

อย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...ผลที่ตามมาอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ก็คือ การที่คนไทยเรา ปล่อยให้ความผิดพลาดเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่รู้จักเรียนรู้และป้องกัน และทำให้เราไม่สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร หรือบางครั้งย่ำอยู่กับที่เสียด้วยซ้ำ

และผลลัพธ์ของการไม่รู้จักเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต ทำให้เราต้องสูญเสียอย่างมากมาย ทั้งในแง่ของเงินทอง และในเรื่องของโอกาส เพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งด้วยความสูญเสียเช่นนี้ เป็นการยากที่ประเทศไทยและคนไทยของเรา จะอยู่รอดในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูง เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และด้วยอัตราเร็วที่เพิ่มขึ้นทุกทีๆ

ทางเดียวที่จะสามารถก้าวตามกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมทางการแข่งขันในโลกปัจจุบัน คือต้องขยายขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง หรือถ้าให้เข้ากับยุคสมัยก็คือ ต้องสามารถพัฒนาขีดความสามารถ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของตน ได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

เพื่อให้มีความสามารถในลักษณะข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด และไม่ปล่อยให้ความผิดพลาด ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการพัฒนา เกิดขึ้น ผ่านไป และกลับมาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

การผลักดันให้ “การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต” เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในสังคมไทย ถึงแม้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นเรื่องในระดับของค่านิยม ที่จำเป็นต้องปลูกฝังลงในสังคมไทย แต่ถือเป็นเรื่องจำเป็น สำคัญ และต้องรีบดำเนินการอย่างที่สุด

หากไม่นับเรื่องการปรับทัศนคติทางสังคม ซึ่งจำเป็นต้องใช้แนวทางการรณรงค์ เพื่อยกระดับค่านิยมในสังคม และเป็นการดำเนินการที่ต้องใช้เวลา การเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต สามารถดำเนินการได้ง่าย เป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากความสามารถของ ICT ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต เพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต ประกอบขึ้นด้วยกิจกรรมในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาด การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลดดังกล่าว การจัดทำบทสรุป การดำเนินการให้ผลของการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการตีแผ่ผลการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจและผู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงต่อไป

ด้วยพลังและความสามารถของ ICT ทั้งในแง่ของการประมวลผล จัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล ในแง่ของการควบคุมชั้นการเข้าถึงข้อมูลแต่ละประเภท ในแง่ของการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารจากระยะไกล และในแง่ของการปรับปรุงรูปแบบการทำงานของระบบได้ค่อนข้างยืดหยุ่น ทำให้กิจกรรมและขั้นตอนต่างๆข้างต้น สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

ด้วยความสามารถทั้งหมดข้างต้นของ ICT การดำเนินการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต สามารถเกิดขึ้นได้ดังนี้

เมื่อมีการดำเนินโครงการหรือมีการทำงานใดแล้วเกิดความผิดพลาดล้มเหลว จักต้องมีการประเมินผลโครงการหรือการทำงานนั้นทันที ซึ่งด้วยความสามารถของ ICT ในด้านการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารระยะไกล จักช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดกับโครงการหรือการทำงานนั้น เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาด การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำบทสรุป การดำเนินการให้ผลของการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยความสามารถของ ICT ในด้านการสนับสนุนการประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจักช่วยให้การทำงานระหว่างกลุ่มคนกับข้อมูลในลักษณะต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และในต้นทุนที่ประหยัด

การจัดเก็บข้อมูลการประเมินผล ในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ก็เป็นอีกขั้นตอนสำคัญ ที่ทำให้ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากความผิดพลาด มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงในการผิดพลาดหรือล้มเหลวอย่างซ้ำซากในวงกว้าง ซึ่งตรงจุดนี้ความสามารถของ ICT ในแง่ของการควบคุมชั้นการเข้าถึงข้อมูลแต่ละประเภท เข้ามาช่วยบริหารชั้นความลับของการเปิดเผยข้อมูล เพื่อทำให้การเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลทำได้อย่างถูกต้อง และด้วยความสบายใจของทุกฝ่ายว่า ผู้เข้ามาใช้ประโยชน์ข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับที่เหมาะสม หากการควบคุมชั้นความลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับข้อมูลนั้นๆ

การที่ ICT มีรูปแบบการทำงานที่สามารถถูกปรับปรุงรูปได้ค่อนข้างยืดหยุ่น เป็นอีกความสามารถหนึ่ง ที่ทำให้ระบบการทำงานหรือโครงการต่างๆ นิยมนำ ICT เข้ามาใช้งาน เพื่อช่วยให้การทำงานต่างๆ เมื่อมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้ว สามารถนำข้อแก้ไขต่างๆ มาพัฒนารูปแบบการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากการเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้ว ความสามารถของ ICT ยังถูกประยุกต์ใช้ในทำนองเดียวกัน หากแต่เพื่อเรียนรู้จากความสำเร็จได้อีกด้วย

โครงการหรือการทำงานใด ที่ประสบความสำเร็จ เราต้องนำมาวิเคระห์และสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ และดำเนินการตีแผ่ผลการวิเคราะห์นี้ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อสนับสนุนให้โครงการหรือการทำงาน ในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกัน ตระหนักถึงและนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้เป็นกรอบการดำเนินการ เพื่อการมีแนวโน้มในการประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันต่อไป

ข้าพเจ้ามั่นใจว่า หากสังคมไทยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ จากทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จที่ผ่านไป ย่อมทำให้สังคมไทยสามารถหลีกเลี่ยงสภาพแห่งการผิดพลาดหรือล้มเหลวซ้ำซาก พร้อมทั้งทำให้การดำเนินการต่างๆของเรา ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น ยอมทำให้ประเทศของเรามีแนวโน้มแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และสามารถก้าวทันกับอัตราเร็วแห่งการเปลี่ยนแปลงไปของโลกใบนี้ ได้ในท้ายที่สุด

ความสามารถของ ICT ช่วยเราได้มากมายขนาดนี้แล้ว เหลือเพียงแต่ว่าเราจะช่วยกันรณรงค์ เพื่อยกระดับให้ การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต เป็นค่านิยมสำคัญลำดับต้นๆของสังคมเรา ได้รวดเร็วและมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น

ข้าพเจ้าไม่อยากให้เราปล่อยโอกาสอันดีนี้หลุดลอยไป


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์