Skip to main content

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้า

ข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http://ictmasterplan.setec.nectec.or.th/)

หลักจากได้อ่านร่างแผนแม่บทข้างต้นแล้ว ทำให้เกิดประเด็นหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอยากนำมาพูดถึงในวันนี้คือ ประเด็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของแผนฯ ซึ่งมีใจความว่า

ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างชาญฉลาด ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Smart People: Information Literate) มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”

จากสาระสำคัญข้างต้น ข้าพเจ้ามีความเข้าใจว่า กระทรวงฯในฐานะตัวแทนของรัฐบาลซึ่งอยู่ในฐานะตัวแทนของประชาชนในการบริหารประเทศ ให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่การเป็นประเทศแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างมีธรรมภิบาลของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้แต่ภาคประชาชน

และหากความเข้าใจข้างต้นของข้าพเจ้าถูกต้อง 2 ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญมากและจำเป็นต้องรีบหาคำตอบ รวมทั้งการทำให้เกิดความสอดคล้อง ทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติ นั่นคือ

  1. หากรัฐต้องการสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง การใช้งาน ICT จะเข้าไปมีบทบาทอย่างไร และต้องมีนโบาย แผนการดำเนินการ และการประเมินผลที่สะท้อน ความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร

  2. ปัญหาสำคัญทางด้าน ICT ที่รัฐตระหนักตอนนี้คือ ปัญหาการใช้งานและบริหารจัดการ ICT อย่างไม่มีธรรมภิบาลของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นปัญหาที่ที่มีมิติทางสังคม มากกว่าทางเทคโนโลยี โดยต้องการการรณรงค์แก้ไขทัศนคติ จิตสำนึก และค่านิยมทางสังคม มากกว่าการใช้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งสะท้อนภาพสำคัญที่ว่า กระทรวงฯต้องเน้นการดำเนินการในมิติทางสังคมมากขึ้น คำถามก็คือกระทรวงจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร และจะมีการประเมินผล ที่สะท้อน ความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร


สิ่งที่ข้าพเจ้ากังวลจากปัญหาแรกข้างต้น คือ ข้าพเจ้าไม่เห็นภาพสะท้อน ของการให้ความสำคัญกับการประยุกต์หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนอื่นของร่างแผนฯ นอกจากในวิสัยทัศน์เท่านั้น

อีกทั้งตัววัดผลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยังเป็นการนำตัวชี้วัดจากระดับสากลมาใช้ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรหากประเทศไทยจะอิงกับมาตรฐานสากล แต่แน่นอนว่าเป็นแนวทางการวัดผลที่ใช้ประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐกิจอื่น มากกว่าที่จะสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นสอดคล้องกับปัญหาข้อที่ 1 ซึ่งข้าพเจ้าอยากเพิ่มเติมคือ กระทรวงฯและรัฐควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาการใช้งาน ICT ของภาคการเกษตร อย่างมากถึงมากที่สุด ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าภาคการเกษตรยังคงเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในความคิดของข้าพเจ้า ยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ยังมีอัตราการรับรู้ ยอมรับ และใช้งาน ICT เพื่อการพัฒนาความสามารถ อยู่น้อยมากถึงน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคอุตสาหกรรมหลักต่างๆของประเทศ

ในส่วนของปัญหาข้อที่ 2 ข้าพเจ้ามีความกังวลใจเกี่ยวกับ แนวโน้มความต้องการการดำเนินการในมิติทางสังคมที่มากขึ้น ซึ่งต้องการการวัดผลที่สะท้อนความสอดคล้อง ระหว่างผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้าพเจ้ายอมรับว่ามีความยาก ทั้งในส่วนของการกำหนดวิธีการวัดผล และในส่วนของการดำเนินการวัดผล ด้วยความเข้าใจในมิติทางสังคม ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าต้องการการวัดผลเชิงคุณภาพ เช่นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ มากกว่าเป็นการวัดผลผ่านตัวแปรเชิงปริมาณ เช่นการสำรวจทางด้านปริมาณต่างๆ อย่างเช่นที่ได้กำหนดไว้ในร่างแผนแม่บทดังกล่าว

ข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.. 2552 – 2556 ซึ่งมีวิสัยทัศน์หลักคือ การมุ่งสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นแผนที่มีความตั้งใจและมีเป้าหมายที่ดี โดยเปลี่ยนความสนใจจากการมุ่งสร้างและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้าน ICT พื้นฐานของประเทศ มาเป็นการมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับการใช้งาน ICT อย่างมีธรรมภิบาล

อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาและผ่านหลายขั้นตอนในช่วงของการพัฒนาแผน เกิดปัญหาการตกหล่นและความไม่สอดคล้อง ระหว่างความตั้งใจในตอนต้น(วิสัยทัศน์) กับผลลัพธ์ในบั้นปลาย(เป้าหมายทางยุทธศาสตร์) ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นปัญหาที่ 1

นอกจากนี้ ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นปัญหาที่ 2 ข้าพเจ้ามีความห่วงใยเกี่ยวกับแนวทางการวัดผลภายใต้ร่างแผนแม่บทนี้ เนื่องจากเป้าหมายการดำเนินการส่วนใหญ่ มีแนวโน้มของการมีมิติทางสังคมมากขึ้น ซึ่งต้องการการวัดผลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เพื่อสะท้อนความสอดคล้องระหว่างผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การวัดผลการดำเนินการส่วนใหญ่ภายใต้ร่างดังกล่าว ยังมีแนวโน้มการวัดผลในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ

ประเด็นปัญหาข้างต้น เป็นประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในการจัดทำนโยบายของภาครัฐ ซึ่งต้องใช้เวลานานและมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย การทบทวนใน 2 ประเด็นปัญหาข้างต้น ย่อมจักทำให้เกิดความสอดคล้องตลอดการดำเนินการนามแผน และทำให้การวัดผลสะท้อนภาพความสำเร็จที่แท้จริง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแผนการดำเนินการดีๆฉบับนี้ได้อย่างแน่นอน

อยากเห็นประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา โดยไม่ลืมปิดจุดบกพร่องสองจุดข้างต้นนี้เร็วๆ เพราะเบื่อสังคมไทยที่อุดมแต่ปัญหาในปัจจุบันเต็มที


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…