Skip to main content

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้า

ข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http://ictmasterplan.setec.nectec.or.th/)

หลักจากได้อ่านร่างแผนแม่บทข้างต้นแล้ว ทำให้เกิดประเด็นหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอยากนำมาพูดถึงในวันนี้คือ ประเด็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของแผนฯ ซึ่งมีใจความว่า

ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างชาญฉลาด ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Smart People: Information Literate) มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”

จากสาระสำคัญข้างต้น ข้าพเจ้ามีความเข้าใจว่า กระทรวงฯในฐานะตัวแทนของรัฐบาลซึ่งอยู่ในฐานะตัวแทนของประชาชนในการบริหารประเทศ ให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่การเป็นประเทศแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างมีธรรมภิบาลของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้แต่ภาคประชาชน

และหากความเข้าใจข้างต้นของข้าพเจ้าถูกต้อง 2 ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญมากและจำเป็นต้องรีบหาคำตอบ รวมทั้งการทำให้เกิดความสอดคล้อง ทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติ นั่นคือ

  1. หากรัฐต้องการสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง การใช้งาน ICT จะเข้าไปมีบทบาทอย่างไร และต้องมีนโบาย แผนการดำเนินการ และการประเมินผลที่สะท้อน ความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร

  2. ปัญหาสำคัญทางด้าน ICT ที่รัฐตระหนักตอนนี้คือ ปัญหาการใช้งานและบริหารจัดการ ICT อย่างไม่มีธรรมภิบาลของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นปัญหาที่ที่มีมิติทางสังคม มากกว่าทางเทคโนโลยี โดยต้องการการรณรงค์แก้ไขทัศนคติ จิตสำนึก และค่านิยมทางสังคม มากกว่าการใช้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งสะท้อนภาพสำคัญที่ว่า กระทรวงฯต้องเน้นการดำเนินการในมิติทางสังคมมากขึ้น คำถามก็คือกระทรวงจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร และจะมีการประเมินผล ที่สะท้อน ความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร


สิ่งที่ข้าพเจ้ากังวลจากปัญหาแรกข้างต้น คือ ข้าพเจ้าไม่เห็นภาพสะท้อน ของการให้ความสำคัญกับการประยุกต์หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนอื่นของร่างแผนฯ นอกจากในวิสัยทัศน์เท่านั้น

อีกทั้งตัววัดผลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยังเป็นการนำตัวชี้วัดจากระดับสากลมาใช้ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรหากประเทศไทยจะอิงกับมาตรฐานสากล แต่แน่นอนว่าเป็นแนวทางการวัดผลที่ใช้ประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐกิจอื่น มากกว่าที่จะสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นสอดคล้องกับปัญหาข้อที่ 1 ซึ่งข้าพเจ้าอยากเพิ่มเติมคือ กระทรวงฯและรัฐควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาการใช้งาน ICT ของภาคการเกษตร อย่างมากถึงมากที่สุด ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าภาคการเกษตรยังคงเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในความคิดของข้าพเจ้า ยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ยังมีอัตราการรับรู้ ยอมรับ และใช้งาน ICT เพื่อการพัฒนาความสามารถ อยู่น้อยมากถึงน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคอุตสาหกรรมหลักต่างๆของประเทศ

ในส่วนของปัญหาข้อที่ 2 ข้าพเจ้ามีความกังวลใจเกี่ยวกับ แนวโน้มความต้องการการดำเนินการในมิติทางสังคมที่มากขึ้น ซึ่งต้องการการวัดผลที่สะท้อนความสอดคล้อง ระหว่างผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้าพเจ้ายอมรับว่ามีความยาก ทั้งในส่วนของการกำหนดวิธีการวัดผล และในส่วนของการดำเนินการวัดผล ด้วยความเข้าใจในมิติทางสังคม ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าต้องการการวัดผลเชิงคุณภาพ เช่นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ มากกว่าเป็นการวัดผลผ่านตัวแปรเชิงปริมาณ เช่นการสำรวจทางด้านปริมาณต่างๆ อย่างเช่นที่ได้กำหนดไว้ในร่างแผนแม่บทดังกล่าว

ข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.. 2552 – 2556 ซึ่งมีวิสัยทัศน์หลักคือ การมุ่งสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นแผนที่มีความตั้งใจและมีเป้าหมายที่ดี โดยเปลี่ยนความสนใจจากการมุ่งสร้างและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้าน ICT พื้นฐานของประเทศ มาเป็นการมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับการใช้งาน ICT อย่างมีธรรมภิบาล

อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาและผ่านหลายขั้นตอนในช่วงของการพัฒนาแผน เกิดปัญหาการตกหล่นและความไม่สอดคล้อง ระหว่างความตั้งใจในตอนต้น(วิสัยทัศน์) กับผลลัพธ์ในบั้นปลาย(เป้าหมายทางยุทธศาสตร์) ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นปัญหาที่ 1

นอกจากนี้ ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นปัญหาที่ 2 ข้าพเจ้ามีความห่วงใยเกี่ยวกับแนวทางการวัดผลภายใต้ร่างแผนแม่บทนี้ เนื่องจากเป้าหมายการดำเนินการส่วนใหญ่ มีแนวโน้มของการมีมิติทางสังคมมากขึ้น ซึ่งต้องการการวัดผลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เพื่อสะท้อนความสอดคล้องระหว่างผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การวัดผลการดำเนินการส่วนใหญ่ภายใต้ร่างดังกล่าว ยังมีแนวโน้มการวัดผลในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ

ประเด็นปัญหาข้างต้น เป็นประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในการจัดทำนโยบายของภาครัฐ ซึ่งต้องใช้เวลานานและมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย การทบทวนใน 2 ประเด็นปัญหาข้างต้น ย่อมจักทำให้เกิดความสอดคล้องตลอดการดำเนินการนามแผน และทำให้การวัดผลสะท้อนภาพความสำเร็จที่แท้จริง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแผนการดำเนินการดีๆฉบับนี้ได้อย่างแน่นอน

อยากเห็นประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา โดยไม่ลืมปิดจุดบกพร่องสองจุดข้างต้นนี้เร็วๆ เพราะเบื่อสังคมไทยที่อุดมแต่ปัญหาในปัจจุบันเต็มที


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…