Skip to main content
บี.เจ.ลี (B.J.LEE)
ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012 
 
สำหรับประเทศที่ยึดถือประเพณีชายเป็นใหญ่ ในคำสอนลัทธิขงจื้ออย่างเกาหลีใต้ ความเท่าเทียมทางเพศจึงเป็นเส้นทางอีกยาวไกล ถ้าผลสำรวจความเห็นในปัจจุบันนี้ถูกต้อง เกาหลีใต้อาจจะมีประธานาธิบดีผู้หญิงคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมปีนี้ “ปักจุงไฮ” ลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีปักจุงฮี จะกลายเป็นประมุขรัฐเพศหญิงคนแรกในเอเชียตะวันออก
 
ขณะนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงมีถึง 16% ซึ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เกาหลีใต้ได้ผลิตผู้นำสตรีมากมาย ได้เป็นรัฐมนตรี ผู้นำกองทัพ นักบินต่อสู้อากาศยาน ผู้พิพากษาศาลฎีกา แม้กระทั่งนักบินอวกาศ ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างน่าทึ่งในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ทว่าผู้หญิงยังอยู่ในสถานภาพที่นั่งแถวหลังของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก
 
ในที่สุด เพดานแก้วอันสุดท้ายก็ต้องแตกละเอียด ในสถานประกอบการระดับนำหลายแห่ง รวมทั้งซัมซุง ยักษ์ใหญ่ของวงการอีเล็คโทรนิค (electronic giant Samsung)
 
เมื่อต้นปีนี้การปรับเปลี่ยนตำแหน่งฝ่ายบริหารจัดการบริษัทซัมซุง กลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้มีพนักงานกว่า 210,000 คน ด้วยยอดขาย 200 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ได้สนับสนุนผู้หญิงเป็นฝ่ายบริหารระดับสูง 3 คน ข้อสังเกตก็คือทั้ง 3 คน เป็นพนักงานซัมซุงที่ทำงานมายาวนาน ซึ่งแต่เดิมมักจะว่าจ้างผู้บริหารสตรีระดับสูงจากภายนอกบริษัท แต่ทว่าผู้บริหารผู้หญิงชุดใหม่ทั้ง 3 คน คือผู้หญิงกลุ่มแรกที่ทำงานในซัมซุง หลังจากได้ยกเลิกการกีดกันทางเพศ ในการรับสมัครงานเมื่อปี 1992
 
เป็นครั้งแรกของบริษัทระดับโลก การตัดสินใจของลี-คุณ-ฮี (Lee-Kun-Hee) ประธานบริษัทซัมซุงถือว่าค่อนข้างก้าวหน้าในช่วงนั้น ปัจจุบันนี้มีผู้หญิง 56,000 คน ทำงานในซัมซุง และจำนวนมากเดินตามความสำเร็จของผู้บุกเบิกทั้งสามคน
 
การยกระดับสถานภาพของสตรี ด้วยการเลื่อนชั้นตำแหน่งให้สูงขึ้นคือ การโหมโรงอันหนึ่งที่จะทำให้ผู้หญิงก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงในซัมซุงมากยิ่งขึ้น คิม ซัง ฮอง (Kim-Sung-Hong) โฆษกซัมซุงเน้นย้ำว่าผู้นำสตรีเหล่านี้จะนำความเจริญเติบโตให้กับซัมซุงในอนาคต
 
การอนุมัติครั้งนี้ เป็นหนทางไปสู่ความเสมอภาคทางเพศอย่างแท้จริง ผู้หญิงมีสัดส่วนหนึ่งในสี่ของกำลังแรงงานทั้งหมดของซัมซุง ซึ่งไม่ห่างเกินไปนักกับคู่แข่งการค้ารายอื่นๆ ในจำนวนผู้บริหาร 1,760 คน มีเพียง 34 คน หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง ยังต่ำกว่า ฮิวเล็ท แพคการ์ด (Hewlett-Packard) ซึ่งมี 18 เปอร์เซ็นต์ และ 23 เปอร์เซ็นต์ที่ไอบีเอ็ม (IBM) ซึ่งเป็นรายงานของสมาคมคนงานหญิงแห่งอเมริกา
 
การกีดกันผู้หญิงระดับผู้บริหารในบริษัทคู่แข่งกลับมีมากกว่า อย่างเช่นที่ฮุนได (Hyundai) หรือ แอลจี (LG) อย่างดีที่สุด มีอยู่แค่หนึ่งโหลในแต่ละแห่ง ในขณะที่ 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่แต่งงานแล้วทำงานทั่วประเทศ และ 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ทำงานซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับงานที่ต่ำกว่าผู้ชาย คิม แท ฮอง (Kim Tae Hong) จากสถาบันพัฒนาสตรีเกาหลีใต้ กล่าวว่า “เป็นการสูญเปล่าอย่างใหญ่หลวง ที่จะไม่จ้างงานผู้หญิงที่มีการศึกษาทำงานในเกาหลีใต้” ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ถูกทำให้ตกต่ำลง เพราะยังขาดแรงงานหญิงอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับผู้บริหารของบริษัท
 
 
ประธานบริษัทซัมซุง ลีได้เห็นศักยภาพของแรงงานหญิงในช่วงแรกเริ่มของการทำงานฝ่ายบริหารจัดการหลังจากที่เขาได้รับตำแหน่งสูงสุดของซัมซุงในปี 1987 จากพ่อของเขา  เขาตกใจที่มีการจ้างงานผู้หญิงในบริษัทที่ต่ำมาก ในช่วงเวลานั้นคนงานหญิงจบการศึกษาโรงเรียนวิชาชีพ และมีการจ้างงานหลักในตำแหน่งงานเลขานุการ แต่ทว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 คลื่นใหญ่ของผู้จบการศึกษาระดับวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเติบโตวัยทารก (Baby Boom) กลายเป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศที่จบการศึกษาสูง ส่วนใหญ่พบว่าวุฒิการศึกษาระดับวิทยาลัย ยังไม่สอดคล้องกับโอกาสการจ้างงาน
 
มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่จบการศึกษาระดับวิทยาลัย 4 ปี ที่ได้รับการจ้างงานในปี 1992 ในประเทศอื่นๆ ผู้หญิงผู้ชายทำงานร่วมกัน แต่ว่าในเกาหลีมีแต่ผู้ชายเท่านั้นได้ทำงาน ลีตั้งข้อสังเกตทันทีหลังจากได้รับตำแหน่งประธานบริษัท “สิ่งนี้เหมือนกับการแข่งจักรยาน ซึ่งคันหนึ่งยางล้อแบน”
 
ดังนั้นในปี 1992 ผู้หญิงส่วนใหญ่จบระดับวิทยาลัยจำนวน 250 คน เป็นที่ยอมรับโดยผ่านโครงการจ้างงานผู้หญิงกรณีพิเศษ จนกระทั่งขยับเพิ่มขึ้นเป็น 500 คนในปีหน้า พวกเธอถูกส่งไปทำงานยังแผนกซอฟแวร์ ดีไซน์ และอื่นๆ ที่เหมาะสม แต่ว่ายังมีแรงต่อต้านจากฝ่ายจัดการผู้ชายที่เหนือกว่า ผู้บริหารระดับสูงปฏิเสธที่จะยอมรับลูกจ้างหญิง เพราะเชื่อว่าผู้หญิงนั้นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมการดื่มสุรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบันเทิงในวงการธุรกิจ พวกที่ไม่ให้ความร่วมมือมักจะให้ผู้หญิงทำงานประเภทรับใช้ที่น่าเบื่อหน่าย เช่น ชงกาแฟ หรือทำความสะอาด
 
“ในตอนเช้า ฉันต้องทำความสะอาดโต๊ะให้ผู้อาวุโส 10 คน และเตรียมทำชาบาร์เลย์ (barley tea) ให้พวกเขา” ซอย อิน เอ (Choi In A) ผู้บริหารหญิงคนหนึ่งที่ Cheil Communication ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแผนกโฆษณาซัมซุง “ฉันมาทำงานล่วงหน้า 1 ชั่วโมงก่อนคนอื่น เพื่อพวกเขาจะได้ไม่รู้ว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่” เธอกล่าว
 
 
ด้วยตระหนักถึงแรงต่อต้าน ลีออกคำสั่งให้มีการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลในปี 1994 และบังคับให้ฝ่ายบริหารสูงสุดปฏิบัติต่อหญิงและชายเท่าเทียมกัน ลีโต้แย้งว่าซัมซุงจะไม่มีทางเป็นผู้นำการผลิตผลิตภัณฑ์ภายในครัวเรือน ถ้าพวกเขาไม่ใช่ประโยชน์จากผู้บริหารสตรี ซึ่งสามารถคาดหวังต่อความต้องการของผู้ที่อยู่กับบ้านได้ดีกว่าผู้ชาย  ในปี 1995 เขาห้ามแต่งกายด้วยชุดฟอร์มสตรีเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ เนื่องจากชุดทำงานสตรี โดยเฉพาะพวกพนักงานคอปกขาว (white collar workers) หรือพวกทำงานอยู่ภายในสำนักงาน เคยถูกนำมาใช้บังคับผู้หญิง ให้ทำตามวัฒนธรรมแบบทหาร “ชุดทำงานเป็นสัญลักษณ์ของการทำตามและความมีระเบียบวินัย” ลี-นา-ยัง (Lee Na Young) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโซล ซัง อัง (Seoul Chung-Ang University) กล่าวว่า “การห้ามใส่ชุดทำงานแบบผู้หญิงในที่ทำงานเป็นการปลดปล่อยผู้หญิง และเสริมสร้างความภาคภูมิใจของพวกเธอ หลังจากซัมซุงดำเนินการไปแล้ว บริษัทอื่นๆ ก็ได้จัดทำนโยบายแบบเดียวกัน”
 
การปฏิรูปของลี ไม่ได้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น เขายังเรียกร้องให้อย่างน้อยที่สุด 20% ของลูกจ้างต้องเป็นเพศหญิง และยังได้สร้างศูนย์เด็กเล็ก (day care centers) สำหรับพนักงานที่เป็นแม่เลี้ยงลูกอยู่
 
ในช่วงที่เอเชียเกิดวิกฤติการณ์การเงิน ผู้หญิงจะถูกเลิกจ้างก่อนเป็นคนแรก และย่อมเป็นคนสุดท้ายที่จะได้รับการจ้างงาน แต่ทางซัมซุงจะรักษาการจ้างงานสตรีต่อไป ปัจจุบันซัมซุงมีศูนย์เลี้ยงเด็ก 57 แห่งในเกาหลีใต้รองรับเด็กได้ 7,000 คน ในทุกสถานประกอบการยังมีห้องสำหรับคุณแม่ได้พักผ่อน
 
ผู้จัดการหญิงที่ซัมซุงเอ็นจิเนียริ่ง ซัง มิ จิน (Chung Mi Jin) รู้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในปี 2005 เธอคิดหนักที่จะต้องลาออกจากงาน เพราะว่าเธอมีลูกคนแรก เธอเพิ่งกลับไปทำงานหลังจากลาคลอดได้ 3 เดือน เธอจะเจ็บปวดเป็นอย่างมาก หากลูกเธอป่วย แต่ทว่าเมื่อบริษัทของเธอมีห้องพักสำหรับแม่และลูก เธอรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อใช้ห้องในการพักผ่อน ขณะเดียวกันยังสามารถทำงานในหน้าที่ได้สำเร็จ เธอพูดว่า เป็นชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยที่ไม่ต้องออกจากงานในช่วงนั้น
 
ซัมซุงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารสตรีจากปัจจุบัน 2% เป็น 10% ในปี 2020 ค่อนข้างจะเป็นความมุ่งมั่นที่สูง เพราะวัฒนธรรมในองค์กรยังเป็นแบบชายครอบงำ เจ้านายผู้หญิงมักไม่ได้รับความนับถือเท่าที่ควรและกระทั่งอาจถูกคุกคามจากลูกน้องเพศชายใต้บังคับบัญชา อีกทั้งการดื่มสุราอย่างหนักซึ่งเป็นเสมือนพิธีกรรมความเป็นชายยังอาละวาดอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ตัวผู้หญิงเองยังมีความเชื่อที่ว่าพวกเธอนั้นเป็นผู้ต่ำต้อยมาแต่กำเนิด
 
เพื่อที่จะกำจัดอุปสรรคขวางกั้นผู้หญิง ชิน วอน ดอง (Shin Won Dong) จากสถาบันยุทธศาสตร์กำลังแรงงานกล่าวว่าบริษัทในเกาหลีใต้จะต้องพยายามหานวัตกรรมใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เพื่อที่จะส่งเสริมความสามัคคีของลูกจ้าง ได้มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม กีฬา และดนตรี แทนการดื่มกิน พนักงานหญิงลาคลอดได้ยาวนานขึ้น มีการสร้างศูนย์เลี้ยงเด็กเพิ่มขึ้น มาตรการให้รางวัล สิทธิพิเศษ เป็นคะแนนสำหรับผู้ชายที่ต้องรับราชการทหาร เพื่อจะได้งานทำ ซึ่งออกแบบเอาใจพนักงานชายถูกยกเลิก ประธานบริษัทลี มักจะลงมากินอาหารตอนกลางวันกับพนักงานหญิง และให้กำลังใจ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของพวกเธอ
 
ในการประชุมครั้งหนึ่ง เขาแสดงความคิดเห็นว่า เขานั้นปรารถนาให้ซัมซุงมีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้หญิง เป็นการประเมินความก้าวหน้าระหว่างปี 1992 ถึงปัจจุบันซึ่งบางทีไม่ไกลเกินไปนัก
 
กับ ลี กี จัน (Lee-Ki-Jun) ในกรุงโซล
ต้นฉบับของบทความนี้ปรากฏครั้งแรกที่นิวส์วีค แฮน-กุ๊ก-แพน
 
 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง