Skip to main content
บี.เจ.ลี (B.J.LEE)
ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012 
 
สำหรับประเทศที่ยึดถือประเพณีชายเป็นใหญ่ ในคำสอนลัทธิขงจื้ออย่างเกาหลีใต้ ความเท่าเทียมทางเพศจึงเป็นเส้นทางอีกยาวไกล ถ้าผลสำรวจความเห็นในปัจจุบันนี้ถูกต้อง เกาหลีใต้อาจจะมีประธานาธิบดีผู้หญิงคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมปีนี้ “ปักจุงไฮ” ลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีปักจุงฮี จะกลายเป็นประมุขรัฐเพศหญิงคนแรกในเอเชียตะวันออก
 
ขณะนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงมีถึง 16% ซึ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เกาหลีใต้ได้ผลิตผู้นำสตรีมากมาย ได้เป็นรัฐมนตรี ผู้นำกองทัพ นักบินต่อสู้อากาศยาน ผู้พิพากษาศาลฎีกา แม้กระทั่งนักบินอวกาศ ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างน่าทึ่งในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ทว่าผู้หญิงยังอยู่ในสถานภาพที่นั่งแถวหลังของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก
 
ในที่สุด เพดานแก้วอันสุดท้ายก็ต้องแตกละเอียด ในสถานประกอบการระดับนำหลายแห่ง รวมทั้งซัมซุง ยักษ์ใหญ่ของวงการอีเล็คโทรนิค (electronic giant Samsung)
 
เมื่อต้นปีนี้การปรับเปลี่ยนตำแหน่งฝ่ายบริหารจัดการบริษัทซัมซุง กลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้มีพนักงานกว่า 210,000 คน ด้วยยอดขาย 200 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ได้สนับสนุนผู้หญิงเป็นฝ่ายบริหารระดับสูง 3 คน ข้อสังเกตก็คือทั้ง 3 คน เป็นพนักงานซัมซุงที่ทำงานมายาวนาน ซึ่งแต่เดิมมักจะว่าจ้างผู้บริหารสตรีระดับสูงจากภายนอกบริษัท แต่ทว่าผู้บริหารผู้หญิงชุดใหม่ทั้ง 3 คน คือผู้หญิงกลุ่มแรกที่ทำงานในซัมซุง หลังจากได้ยกเลิกการกีดกันทางเพศ ในการรับสมัครงานเมื่อปี 1992
 
เป็นครั้งแรกของบริษัทระดับโลก การตัดสินใจของลี-คุณ-ฮี (Lee-Kun-Hee) ประธานบริษัทซัมซุงถือว่าค่อนข้างก้าวหน้าในช่วงนั้น ปัจจุบันนี้มีผู้หญิง 56,000 คน ทำงานในซัมซุง และจำนวนมากเดินตามความสำเร็จของผู้บุกเบิกทั้งสามคน
 
การยกระดับสถานภาพของสตรี ด้วยการเลื่อนชั้นตำแหน่งให้สูงขึ้นคือ การโหมโรงอันหนึ่งที่จะทำให้ผู้หญิงก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงในซัมซุงมากยิ่งขึ้น คิม ซัง ฮอง (Kim-Sung-Hong) โฆษกซัมซุงเน้นย้ำว่าผู้นำสตรีเหล่านี้จะนำความเจริญเติบโตให้กับซัมซุงในอนาคต
 
การอนุมัติครั้งนี้ เป็นหนทางไปสู่ความเสมอภาคทางเพศอย่างแท้จริง ผู้หญิงมีสัดส่วนหนึ่งในสี่ของกำลังแรงงานทั้งหมดของซัมซุง ซึ่งไม่ห่างเกินไปนักกับคู่แข่งการค้ารายอื่นๆ ในจำนวนผู้บริหาร 1,760 คน มีเพียง 34 คน หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง ยังต่ำกว่า ฮิวเล็ท แพคการ์ด (Hewlett-Packard) ซึ่งมี 18 เปอร์เซ็นต์ และ 23 เปอร์เซ็นต์ที่ไอบีเอ็ม (IBM) ซึ่งเป็นรายงานของสมาคมคนงานหญิงแห่งอเมริกา
 
การกีดกันผู้หญิงระดับผู้บริหารในบริษัทคู่แข่งกลับมีมากกว่า อย่างเช่นที่ฮุนได (Hyundai) หรือ แอลจี (LG) อย่างดีที่สุด มีอยู่แค่หนึ่งโหลในแต่ละแห่ง ในขณะที่ 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่แต่งงานแล้วทำงานทั่วประเทศ และ 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ทำงานซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับงานที่ต่ำกว่าผู้ชาย คิม แท ฮอง (Kim Tae Hong) จากสถาบันพัฒนาสตรีเกาหลีใต้ กล่าวว่า “เป็นการสูญเปล่าอย่างใหญ่หลวง ที่จะไม่จ้างงานผู้หญิงที่มีการศึกษาทำงานในเกาหลีใต้” ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ถูกทำให้ตกต่ำลง เพราะยังขาดแรงงานหญิงอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับผู้บริหารของบริษัท
 
 
ประธานบริษัทซัมซุง ลีได้เห็นศักยภาพของแรงงานหญิงในช่วงแรกเริ่มของการทำงานฝ่ายบริหารจัดการหลังจากที่เขาได้รับตำแหน่งสูงสุดของซัมซุงในปี 1987 จากพ่อของเขา  เขาตกใจที่มีการจ้างงานผู้หญิงในบริษัทที่ต่ำมาก ในช่วงเวลานั้นคนงานหญิงจบการศึกษาโรงเรียนวิชาชีพ และมีการจ้างงานหลักในตำแหน่งงานเลขานุการ แต่ทว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 คลื่นใหญ่ของผู้จบการศึกษาระดับวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเติบโตวัยทารก (Baby Boom) กลายเป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศที่จบการศึกษาสูง ส่วนใหญ่พบว่าวุฒิการศึกษาระดับวิทยาลัย ยังไม่สอดคล้องกับโอกาสการจ้างงาน
 
มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่จบการศึกษาระดับวิทยาลัย 4 ปี ที่ได้รับการจ้างงานในปี 1992 ในประเทศอื่นๆ ผู้หญิงผู้ชายทำงานร่วมกัน แต่ว่าในเกาหลีมีแต่ผู้ชายเท่านั้นได้ทำงาน ลีตั้งข้อสังเกตทันทีหลังจากได้รับตำแหน่งประธานบริษัท “สิ่งนี้เหมือนกับการแข่งจักรยาน ซึ่งคันหนึ่งยางล้อแบน”
 
ดังนั้นในปี 1992 ผู้หญิงส่วนใหญ่จบระดับวิทยาลัยจำนวน 250 คน เป็นที่ยอมรับโดยผ่านโครงการจ้างงานผู้หญิงกรณีพิเศษ จนกระทั่งขยับเพิ่มขึ้นเป็น 500 คนในปีหน้า พวกเธอถูกส่งไปทำงานยังแผนกซอฟแวร์ ดีไซน์ และอื่นๆ ที่เหมาะสม แต่ว่ายังมีแรงต่อต้านจากฝ่ายจัดการผู้ชายที่เหนือกว่า ผู้บริหารระดับสูงปฏิเสธที่จะยอมรับลูกจ้างหญิง เพราะเชื่อว่าผู้หญิงนั้นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมการดื่มสุรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบันเทิงในวงการธุรกิจ พวกที่ไม่ให้ความร่วมมือมักจะให้ผู้หญิงทำงานประเภทรับใช้ที่น่าเบื่อหน่าย เช่น ชงกาแฟ หรือทำความสะอาด
 
“ในตอนเช้า ฉันต้องทำความสะอาดโต๊ะให้ผู้อาวุโส 10 คน และเตรียมทำชาบาร์เลย์ (barley tea) ให้พวกเขา” ซอย อิน เอ (Choi In A) ผู้บริหารหญิงคนหนึ่งที่ Cheil Communication ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแผนกโฆษณาซัมซุง “ฉันมาทำงานล่วงหน้า 1 ชั่วโมงก่อนคนอื่น เพื่อพวกเขาจะได้ไม่รู้ว่าฉันกำลังทำอะไรอยู่” เธอกล่าว
 
 
ด้วยตระหนักถึงแรงต่อต้าน ลีออกคำสั่งให้มีการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลในปี 1994 และบังคับให้ฝ่ายบริหารสูงสุดปฏิบัติต่อหญิงและชายเท่าเทียมกัน ลีโต้แย้งว่าซัมซุงจะไม่มีทางเป็นผู้นำการผลิตผลิตภัณฑ์ภายในครัวเรือน ถ้าพวกเขาไม่ใช่ประโยชน์จากผู้บริหารสตรี ซึ่งสามารถคาดหวังต่อความต้องการของผู้ที่อยู่กับบ้านได้ดีกว่าผู้ชาย  ในปี 1995 เขาห้ามแต่งกายด้วยชุดฟอร์มสตรีเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ เนื่องจากชุดทำงานสตรี โดยเฉพาะพวกพนักงานคอปกขาว (white collar workers) หรือพวกทำงานอยู่ภายในสำนักงาน เคยถูกนำมาใช้บังคับผู้หญิง ให้ทำตามวัฒนธรรมแบบทหาร “ชุดทำงานเป็นสัญลักษณ์ของการทำตามและความมีระเบียบวินัย” ลี-นา-ยัง (Lee Na Young) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโซล ซัง อัง (Seoul Chung-Ang University) กล่าวว่า “การห้ามใส่ชุดทำงานแบบผู้หญิงในที่ทำงานเป็นการปลดปล่อยผู้หญิง และเสริมสร้างความภาคภูมิใจของพวกเธอ หลังจากซัมซุงดำเนินการไปแล้ว บริษัทอื่นๆ ก็ได้จัดทำนโยบายแบบเดียวกัน”
 
การปฏิรูปของลี ไม่ได้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น เขายังเรียกร้องให้อย่างน้อยที่สุด 20% ของลูกจ้างต้องเป็นเพศหญิง และยังได้สร้างศูนย์เด็กเล็ก (day care centers) สำหรับพนักงานที่เป็นแม่เลี้ยงลูกอยู่
 
ในช่วงที่เอเชียเกิดวิกฤติการณ์การเงิน ผู้หญิงจะถูกเลิกจ้างก่อนเป็นคนแรก และย่อมเป็นคนสุดท้ายที่จะได้รับการจ้างงาน แต่ทางซัมซุงจะรักษาการจ้างงานสตรีต่อไป ปัจจุบันซัมซุงมีศูนย์เลี้ยงเด็ก 57 แห่งในเกาหลีใต้รองรับเด็กได้ 7,000 คน ในทุกสถานประกอบการยังมีห้องสำหรับคุณแม่ได้พักผ่อน
 
ผู้จัดการหญิงที่ซัมซุงเอ็นจิเนียริ่ง ซัง มิ จิน (Chung Mi Jin) รู้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในปี 2005 เธอคิดหนักที่จะต้องลาออกจากงาน เพราะว่าเธอมีลูกคนแรก เธอเพิ่งกลับไปทำงานหลังจากลาคลอดได้ 3 เดือน เธอจะเจ็บปวดเป็นอย่างมาก หากลูกเธอป่วย แต่ทว่าเมื่อบริษัทของเธอมีห้องพักสำหรับแม่และลูก เธอรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อใช้ห้องในการพักผ่อน ขณะเดียวกันยังสามารถทำงานในหน้าที่ได้สำเร็จ เธอพูดว่า เป็นชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยที่ไม่ต้องออกจากงานในช่วงนั้น
 
ซัมซุงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารสตรีจากปัจจุบัน 2% เป็น 10% ในปี 2020 ค่อนข้างจะเป็นความมุ่งมั่นที่สูง เพราะวัฒนธรรมในองค์กรยังเป็นแบบชายครอบงำ เจ้านายผู้หญิงมักไม่ได้รับความนับถือเท่าที่ควรและกระทั่งอาจถูกคุกคามจากลูกน้องเพศชายใต้บังคับบัญชา อีกทั้งการดื่มสุราอย่างหนักซึ่งเป็นเสมือนพิธีกรรมความเป็นชายยังอาละวาดอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ตัวผู้หญิงเองยังมีความเชื่อที่ว่าพวกเธอนั้นเป็นผู้ต่ำต้อยมาแต่กำเนิด
 
เพื่อที่จะกำจัดอุปสรรคขวางกั้นผู้หญิง ชิน วอน ดอง (Shin Won Dong) จากสถาบันยุทธศาสตร์กำลังแรงงานกล่าวว่าบริษัทในเกาหลีใต้จะต้องพยายามหานวัตกรรมใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เพื่อที่จะส่งเสริมความสามัคคีของลูกจ้าง ได้มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม กีฬา และดนตรี แทนการดื่มกิน พนักงานหญิงลาคลอดได้ยาวนานขึ้น มีการสร้างศูนย์เลี้ยงเด็กเพิ่มขึ้น มาตรการให้รางวัล สิทธิพิเศษ เป็นคะแนนสำหรับผู้ชายที่ต้องรับราชการทหาร เพื่อจะได้งานทำ ซึ่งออกแบบเอาใจพนักงานชายถูกยกเลิก ประธานบริษัทลี มักจะลงมากินอาหารตอนกลางวันกับพนักงานหญิง และให้กำลังใจ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของพวกเธอ
 
ในการประชุมครั้งหนึ่ง เขาแสดงความคิดเห็นว่า เขานั้นปรารถนาให้ซัมซุงมีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้หญิง เป็นการประเมินความก้าวหน้าระหว่างปี 1992 ถึงปัจจุบันซึ่งบางทีไม่ไกลเกินไปนัก
 
กับ ลี กี จัน (Lee-Ki-Jun) ในกรุงโซล
ต้นฉบับของบทความนี้ปรากฏครั้งแรกที่นิวส์วีค แฮน-กุ๊ก-แพน
 
 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สวัสดีค่ะลุงสมยศ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สุกัญญา พฤกษาเกษมสุขเขียนจดหมายถึงสามีผู้ต้องขังข้อหากระทำความผิดตามกฏหมายอาญา มาตรา112 /เป็นเวลา 80สัปดาห์แล้วที่สมยศไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจาก The Economist Caracus , Mexico city, Santiago, Sao Paulo
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  สมยศ พฤกษาเกษมสุข 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 โดย  ..  จิม  ยาร์ด  เล (Jim  Yard  Ley) ถอดความโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข