Skip to main content

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

 

 

 
 
เช้าตรู่ของวันที่  6  ตุลาคม  2519  กำลังทหาร  ตำรวจ บุกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้อาวุธสงครามหนักนานาชนิดยิงถล่มนิสิตนักศึกษา ซึ่งชุมนุมกันดดยสงบล้มตายเป็นใบไม้ร่วม ผู้คนวิ่งหนีความตาย แต่ถูกกลุ่มอันธพาลการเมืองรุมทำร้ายทุบตี สังหารด้วยความโหนดเหี้ยม อำมหิต ผิดมนุษย์ด้วยการจับแขวนคอ เผาศพทั้งเป็น ข่มขืน ฆ่า ลิ่มตอกอกอย่างป่าเถื่อนทารุณ  ด้วยความสะใจและกระหยิ่มยิ้มย่องของกลุ่มคนไทยที่คลั่งไคล้ในอุดมการณ์ ชาติ – ศาสนา – พระมหากษัตริย์
 
เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 เป็นความต่อเนื่องมาจากการลุกขึ้นสู้ของประชาชนต่อต้านเผด็จการทหารเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ทั้งสองเหตุการณ์แยกไม่ออกจากเจตนารมณ์ของคณะราษฎร ซึ่งทำการปฏิวัติประชาธิปไตย เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
 
เจตนารมณ์ของคณะราษฎรระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยกำหนดให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย แต่ปรากฏว่าหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ไม่ได้มีการรื้อถอนโครงสร้างทางการเมืองแบบเก่าออกไป  รัฐจารีตนิยมจึงฟื้นตัวขึ้นมามีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองจนสามารถกำจัดคณะราษฎรจนหมดสิ้นไปจากสังคมไทย
 
80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจึงมีการรัฐประหาร 11 ครั้ง  กบฏ  11 ครั้ง  มีรัฐบาล  60  ชุด ได้นายกมาจากทหาร หรือได้รับการสนับสนุนจากทหารอยู่ในอำนาจเป็นเวลา  50  ปี และที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในอำนาจไม่ถึง 30 ปี ประเทศไทยจึงเป็นประชาธิปไตยกันแค่เปลือก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นประชาธิปไตยใต้ส้นตีนที่ถูกควบคุมโดยรัฐจารีตนิยมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
 
รัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์  ธนรัชต์ในปี 2500 นำพาประเทศไทยสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ จากอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ามาสู่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ด้วยการปราบปราม เข่นฆ่าประชาชนอย่างทารุณโหดร้าย ต่อเนื่องด้วยจอมพลถนอม – ประภาส – ณรงค์ สืบทอดเผด็จการทหารจนประชาชนคนไทยลุกขึ้นสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
 
หลัง 14 ตุลาคม 2516 นักศึกษา กรรมกร ชาวนา มีความตื่นตัวในสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และประชาธิปไตย ความคิดลัทธิสังคมนิยมเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในขณะที่กลุ่มอำนาจเก่านิยมเจ้า (ULTRA  ROYALISTS) ได้แก่กลุ่มอำมาตย์ ข้าราชการ ทหาร ตุลาการ นักวิชาการ กลุ่มอันธพาลการเมือง หวาดกลัวการเปลี่ยนแปลง ได้ใช้ความรุนแรงลอบสังหารผู้นำนักศึกษา กรรมกร ชาวนา จนกระทั่งร่วมกันก่อการรัฐประหารหฤโหด 6 ตุลาคม 2519
 
การมีส่วนร่วมของประชาชน และการเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา ประชาชนไปไกลเกินกว่าที่รัฐจารีตนิยมจะควบคุมได้อีกต่อไป ความหวั่นวิตกที่จะต้องสูญเสียความเป็นอภิสิทธิ์ชน และผลประโยชน์ของชนชั้นผู้กดขี่ ทำให้มีการวางแผนก่อการรัฐประหารเริ่มในวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม เดินทางกลับมาบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศ นักศึกษาออกมาชุมนุมต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม  ในขณะนั้น มรว.เสนีย์   ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี  ปล่อยให้ฝ่ายนิยมเจ้า ทั้งนักวิชาการ  สื่อมวลชน  นักการเมือง  ปลุกระดมประชาชนด้วยอุดมการณ์ชาติ – ศาสนา – พระมหากษัตริย์  กล่าวหานักศึกษาเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ต้องการโค่นล้มกษัตริย์ หรือเป็นขบวนการล้มเจ้า ในที่สุดกำลังทหาร ตำรวจ กลุ่มอันธพาลการเมือง ลูกเสือชาวบ้านได้ร่วมกันสังหารโหดนิสิต นักศึกษา ประชาชน เสียชีวิตนับร้อยคนด้วยความป่าเถื่อน อำมหิต ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลางท้องสนามหลวง
 
ในตอนเย็นวันที่  6  ตุลาคม  2519  ทหารก่อการรัฐประหาร หนึ่งในคณะรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ที่ยังมีบทบาททางการเมือง การทหาร อยู่จนถึงทุกวันนี้ก็คือ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ทหารที่ก่อการรัฐประหารครั้งนี้ใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีนายธานินทร์  กรัยวิเชียร อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศด้วยเผด็จการเต็มรูปแบบ จนนักศึกษา ประชาชนพากันหลบหนีในเขตป่าเขาร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ  บาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก จนต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรม หลังจากนี้การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธสิ้นสุดลงราวปี 2524
 
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 คือบาดแผลร้าวลึกในสังคมไทยไม่ใช่เพียงการสูญเสียชีวิตในแง่บุคคล และครอบครัวเท่านั้น หากเป็นการสูญเสียของสังคมครั้งยิ่งใหญ่ เหตุการณ์ครั้งนั้นฆาตรกรลอยนวล เป็นอาชญากรรมของรัฐที่ไม่มีการดำเนินคดี เอาผิด ไม่มีการเยียวยาใด ๆ ทั้งสิ้น กลายเป็นเหตุการณ์ดำมืด ซึ่งเต็มไปด้วยข้อสงสัย และคำถามมากมายว่าใคร หรือกลุ่มคนใดที่บงการวางแผน หรือสั่งการให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
 
หลังเหตุการณ์สยดสยอง 6 ตุลาคม 2519 มีการคาดหวังกันว่าจะไม่มีความรุนแรง ป่าเถื่อนทางการเมืองเกิดจึ้นอีก แต่แล้ว 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกสุจินดา  คราประยูร ก่อการรัฐประหารขึ้นอีก จบลงด้วยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เช่นกัน  ผู้ก่อการรัฐประหารและผู้สั่งการสังหารประชาชนทั้งหมดลอยนวล และยังคงดำรงตำแหน่งเกียรติยศเช่นเดิม ไม่มีใครต้องรับผิดชอบต่อโศกนาฎกรรมครั้งนี้ จนถึงขณะนี้ผู้เสียชีวิตยังไม่มีแม้แต่อนุสาวรีย์รำลึกถึง

แม้ว่าหลังเหตุการณ์นี้จะมีรัฐธรรมนูญ 2540 มีนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร บริหารงานได้ 6 ปี แต่ก็ต้องถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีส่วนที่เหมือนกับการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 นั่นคือการปลุกระดมด้วยอุดมการณ์คลั่งเจ้าที่มีการผลิตซ้ำ (Roproduction) ในสังคมไทยด้วยการกล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ว่ามีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถึงขนาดให้ร้ายป้ายสีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร เป็นผู้นิยมการปกครองประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา
 
ประชาชนคนไทยต่อต้านการรัฐประการ 19 กันยายน 2549 แม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากการรัฐประหาร แต่การเลือกตั้ง 2 ครั้งในปี 2550 และ 2554 พรรคไทยรักไทย ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อไทย ก็ยังชนะการเลือกตั้ง 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา การต่อสู้ขับเคี่ยวของกลุ่มอำนาจเก่า และกลุ่มอำนาจใหม่ เป็นไปอย่างเข้มข้น สังคมไทยแตกแยกเป็น 2 กลุ่มสี ต่อสู้ห้ำหั่นกันถึงเลือดถึงเนื้อ จนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ใช้แบบแผนเดียวกันกับการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการใช้กำลังทหารปราบปรรม เข่นฆ่าประชาชน กล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็นขบวนการล้มเข้า เข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมด้วยกระสุนสงครามถึง 98 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน
 
การรัฐประหาร 3 ครั้ง  หลังสุดนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างน้อยที่สุดมีการพัฒนาการจากการตั้งคำถาม และข้อสงสัยที่เคยถูกปิดหูปิดตามาช้านาน มาสู่การรับรู้ และความจริงที่ชัดเจน มองเห็นรากเหง้า สาเหตุความรุนแรง ป่าเถื่อนทางการเมืองที่ผ่านมานั้นมาจากกลุ่มคน หรือขบวนการเดียวกัน
 
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้เปิดเผยโฉมหน้าทางการเมืองของกลุ่มอำมาตย์ – พวกคลั่งเจ้า – กลุ่มคนเสื้อเหลือง – หลากสี ซึ่งเป็นพลังล้าหลังทางการเมือง ฉุดรั้งความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย ในขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ผ่านการต่อสู้ เรียกร้องประชาธิปไตย ขนเกิดปรากฎการณ์ตาสว่าง (Clear - Sighted) ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงกลายเป็นขบวนการต่อสู้ เพื่อสิทธิ เสรีภาพ  ความเสมอภาค และประชาธิปไตยที่มีคุณค่าความหมายมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยจาก 6 ตุลาคม 2519 ถึง 19 กันยายน 2549
 
ปรากฎการณ์ตาสว่างแห่งชาติ จะเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ประชาชนได้ใช้สติปัญญาที่ชึกซึ้ง มองทะลุเมฆหมอกบังตา ไปสู่การเข้าใจที่ทะลุปรุโปร่งในโครงสร้างการเมืองรัฐจารีตนิยม ซึ่งนับวันความคิด ความเชื่อ และความหลงใหลในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และความน่าเชื่อถือที่เคยมีกันมาได้ลดน้อยถอยลงอยู่ทุกวัน
 
ผู้ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ต่อจากนี้ไปไม่ได้ผูกขาดไว้กับกลุ่มชนชั้นนำ และกลุ่มคนที่ซื่อสัตย์อย่างงมงายต่อโครงสร้างอำนาจเก่าอีกต่อไป ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ และผู้อยู่ริมขอบแห่งศูนย์กลางอำนาจที่เคยซ่อนตัวอยู่ในซอกหลืบ  บัดนี้ได้เคลื่อนตัวออกมาอย่างมีพลัง การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งปวงอยู่ในมือของพวกเขา และนี่คือภารกิจทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
 
วันที่  2  ตุลาคม  2555
 

 

 

 

 

ที่มาภาพ : Prainn Rakthai


บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง