Skip to main content

 

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

23 เมษายน 2556

 

 

โลกทั้งโลกร่วมไว้อาลัยการจากไปของนางมากาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และคนเดียวของอังกฤษ ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดสมองอุดตันวัย 87 ปี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีอังกฤษนายคาเมรอน สดุดีแธตเชอร์ว่าเป็นผู้กอบกู้โชคชะตาของอังกฤษ

แธตเชอร์ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1979 ครองอำนาจยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 20 ระหว่างปี 1979 – 1990 เป็นเวลา 3 สมัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นสตรีเหล็กผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงการเมืองโลก ในยุคเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี เป็นที่กล่าวขวัญในอังกฤษว่า เป็นนักการเมืองขวาจัดของพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งชื่นชมกับระบบทุนนิยม เปิดทางให้กับเอกชนในตลาดแข่งขันเสรี ผู้เป็นต้นแบบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน แม้ว่าในเวลานั้นขบวนการสหภาพแรงงานได้ออกมานัดหยุดงาน ชุมนุมประท้วงตอบโต้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ก็เจอกับมาตรการแข็งกร้าวของแธตเชอร์กำหราบปราบปรามจนแปรูปรัฐวิสาหกิจสำเร็จ จนหลายประเทศเอาอย่าง ทำให้เกิดลัทธิแธตเชอร์ขั้นมาอย่างกว้างขวาง

นางแธตเชอร์มักจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเด็ดเดี่ยว ไม่กลัวความขัดแย้ง พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง นางแธตเชอร์เคยกล่าวไว้เป็นวลีเด็ดว่า “ที่ไหนมีความไม่ลงรอยกันที่นั่นย่อมมีความสามัคคี  ที่ไหนมีความผิดพลาดที่นั่นย่อมมีความจริง  ที่ไหนมีความสงสัยที่นั่นย่อมมีความศรัทธา  ที่ไหนมีความสิ้นหวังที่นั่นย่อมมีความหวัง”

นางแธตเชอร์มักจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเด็ดเดี่ยว ไม่กลัวความขัดแย้ง พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เป็นผู้นำชาติตะวันตกที่เข้าถึง และคบหาสมาคมกับอดีตประธานาธิบดีมิคาเอล กอร์บอซอบแห่งโซเวียต เป็นตัวเชื่อมกับประธานาธิบดีเรแกน แห่งอเมริกา จนในที่สุดทำให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง โลกก้าวสู่ยุคทุนนิยมครอบโลกในทุกวันนี้

แธตเชอร์มีบุคลิกแข็งกร้าว ฉลาดหลักแหลม มีวินัย ยึดมั่นในหลักการเข้างวด เมื่ออาเยนติน่ายึดครองเกาะฟอล์กแลนด์ แธตเชอร์ไปบัญชาการรับด้วยตนเองในปี 1982 เป็นเวลา 9 สัปดาห์จนชนะสงครามเป็นที่ยอมรับของชาวอังกฤษให้ครองอำนาจ 3 สมัย

หันมาดูที่เมืองไทย เป็นครั้งแรกที่เรามีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคือ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เมื่อพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงที่มีความงามสวยเด่น และมีความตั้งใจขยันทำงาน เป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ แต่กลับมีลักษณะที่แตกต่างไปจากแธตเชอร์ในลักษณะที่ตรงกันข้ามเป็นอย่างมาก

ในสถานการณ์ความขัดแย้งนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ มักจะหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ปล่อยให้คนอื่นตอบโต้แทน มุ่งเน้นการบริหารงานของรัฐบาลให้สัมฤทธิ์ผล เป็นจุดแข็งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในบางกรณีเป็นผลดี ที่ยิ่งลักษณ์ไม่ตองเผชิญกับอัตราเสี่ยงต่อการเป็นเป้าหมายการโจมตี แต่ทว่าในประเด็นสำคัญที่ต้องแสดงความคิดเห็น เป็นจุดยืนฝ่ายประชาธิปไตย ยืนยันในเจตนารมณ์ประชาชน นำพาสังคมสู่ความทันสมัยนั้น กลับหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นอันแสดงให้เห็นได้ว่านายกรัฐมนตรียังขาดความกล้าหาญในภาวะการนำทางการเมือง หรือเป็นการแสดงถึงภาวะตื้นเขินทางการเมืองได้เช่นกัน เช่น ถือเป็นการสูญเสียฐานะการนำความคิดที่ก้าวหน้าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในหลายโอกาสด้วยกัน

ความนอบน้อมถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่ดีของนายกรัฐมนตรีที่จะรับฟัง และเรียนรุ้จากทุกฝ่าย แต่การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ไม่ใช่หนทางการปรองดอง แต่เป็นการซุกซ่อนความขัดแย้งเอาไว้

การไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ออกมาเลย เป็นจุดอ่อนของผู้นำการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โชคดีของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ที่มีผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่ไม่เอาไหน มีแนวความคิดอนุรักษ์นิยม หัวโบราณ รักษาผลประโยชน์ของพวกอำมาตย์ และพวกอภิสิทธิ์ชนดีแต่พูด กระช่อน เล่นลิ้น ค้านได้ดีแต่ทางเทคนิค วนเวียนอยู่กับเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ จนน่าสะอิดสะเอียน ทำให้นายกรัฐมนตรีที่พูดน้อยทำงานมากเป็นที่ยอมรับในสังคมได้ แต่ในระยะยาว ในระยะการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง จะกลายเป็นจุดอ่อนที่บดบังภาวการณ์เป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง

แธตเชอร์ เป็นสตรีเหล็กในเวทีการเมืองระดับโลก ส่วนยิ่งลักษณ์ในปัจจุบันเป็นได้แค่เพียงนายหญิงของพรรคเพื่อไทยเท่านั้น แต่ยังมีเวลาเหลืออีก 2 ปีข้างหน้า สำหรับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยที่จะต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำทางการเมือง ที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง อันเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในขณะนี้

 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง