Skip to main content

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

 

คุณจ้อนหรืออลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เสนอให้มีการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ด้านโครงสร้าง การบริหารงานและบุคลากรของพรรค เปิดกว้างทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ออกแบบพิมพ์เขียวประเทศไทย เสนอนโยบายระยะสั้นและยาว โดยยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยมาตลอด 21 ปี จากปัญหาใหญ่คือการที่พรรคถูกมองว่าอิงแอบเผด็จการ ปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่นอย่างมากตอนเป็นรัฐบาล นอกจากนี้ยังไม่มีการพัฒนาสาขาเท่าที่ควร

ข้อเสนอของคุณจ้อนต่อที่ประชุมสามัญประจำปีของพรรคในนเดือนมีนาคม 2556 ได้รับการสนับสนุนจากนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์มองการบริหารเพียงแค่ระยะสั้น ไม่มีนโยบาย ไม่มีเป้าหมาย รู้สึกเป็นห่วงต่ออนาคตพรรค คิดแต่จะต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้

แต่สำหรับนายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นต้นแบบนักการเมืองในอุดมคติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกลับออกมาตำหนิว่าจะทำอะไรควรแจ้งหัวหน้าพรรคก่อน อย่าทำให้สมาชิกหลายล้านคนเกิดความไม่สบายใจ สอดคล้องกับลูกหาบอย่างเทพไท เสนพงษ์ที่กล่าวว่า “มีอะไรควรนำมาคุยกันในคณะกรรมการบริหารพรรคเสียก่อน”

ข้อเสนอของคุณจ้อนเป็นข้อเสนอที่เกิดจากความรักที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างมิต้องสงสัย แต่ด้วยปฏิกิริยาด้านลบที่มีต่อคุณจ้อนจึงทำให้การปฏิรูปพรรคของคุณจ้อนเป็นไปได้แค่ฝันเปียกตอนกลางวันเท่านั้น ไม่มีทางจะปฏิรูปให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า

พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทยทุกครั้ง และตกต่ำมากยิ่งขึ้น เมื่อพรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นสนามเด็กเล่นที่มีแต่พวกแก๊งไอติม แก๊งลูกเจี๊ยบที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองล้วนแล้วแต่เป็นพวกเด็กเมื่อวานซืน  ดื้อรั้นอย่างโง่เขลา อวดเก่งด้วยโวหาร แม้แต่หัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จบการศึกษาสูงจากอังกฤษ แต่กลับถูกสาวโรงงาน จิตรา คชเดช ถือป้ายขนานนามด้วยวลีสั้นๆที่ว่า “ดีแต่พูด” จนต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งไปอย่างยับเยิน

ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่แค่เรื่องโครงสร้างหรือการบริหารพรรค หรือเป็นปัญหาตัวบุคคล ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาปลีกย่อยของทุกพรรคการเมืองอยู่แล้ว แต่เป็นปัญหาแก่นแท้ เป็นเรื่องของการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นอำมาตย์ และอภิสิทธิชนในสังคม ซึ่งทำให้พรรคมีอุดมการณ์จารีตนิยม อิงแอบอยู่กับเผด็จการทหาร และหาประโยชน์อยู่กับสถาบันกษัตริย์ในการแสวงหาอำนาจรัฐด้วยเทคนิคสกปรกอยู่เสนอ

ความคิดจารีตนิยมแสดงออกอย่างชัดเจน ด้วยการปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นผลผลิตจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แสดงจุดยืนแจ่มชัดรักษาผลประโยชน์กลุ่มทุนขุนนาง – อำมาตย์อย่างไม่ลืมหูลืมตา

การเปลี่ยนแปลงยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล กำลังปฏิวัติพลังการผลิตของสังคมให้ก้าวหน้า ความขัดแย้งแตกแยกในสังคมไม่ได้ล่องลอยมาจากสุญญากาศ แต่เป็นผลสะท้อนมาจากการต่อสู้ทางชนชั้นของกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมการเมืองที่แน่นอน แต่ละชนชั้นจึงเสนออุดมการณ์และกระบวนการทัศน์ที่แตกต่างกัน เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นผลผลิตของกลุ่มทุนขุนนาง จึงมีปฏิกิริยาปกป้องขุนนาง และระบบราชการ ดังเช่น เห็นดีเห็นงามกับการนิรโทษตนเองของคณะรัฐประหาร แต่กลับต่อต้านการนิรโทษกรรมประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร เคยใส่ร้ายป้ายสีปรีดี พนมยงค์และพรรคพวกว่าเป็นคนไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ หรือเป็นพวกมหาชนรัฐ (Republic) มาถึงปัจจุบันก็มีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน ในการใส่ร้ายทักษิณ ชินวัตรว่าต้องการเป็นประธานาธิบดีของเมืองไทย

พรรคประชาธิปัตย์ยังทำหน้าที่ผู้พิทักษ์เหล่าอำมาตย์ที่ได้อำนาจมาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ด้วยการเสกสรรปั้นแต่งองค์กรผลิตผลของรัฐประหารว่าเป็นองค์กรอิสระไว้ตรวจสอบรัฐบาล โดยปกปิดความจริงของการแทรกแซงก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยที่มาจากประชาชน ดังกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้หยุดยั้งขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายนิติบัญญัติ จนเกิดความขัดแย้งระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องกลุ่มสวะสรรหา ขอให้ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ 237 ของฝ่ายนิติบัญญัติ

สิ่งเหล่านี้มิอาจปฏิรูปให้ดีขึ้นมาได้ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางชนชั้น และเป็นเรื่องอุดมการณ์จารีตนิยม ซึ่งหล่อหลอม บุคลากรของพรรคให้กลายสภาพเป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์และเจ้าเล่ห์เพทุบายของระบอบอำมาตย์ ในปัจจุบันนี้

 

 

28 เมษายน 2556

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง