Skip to main content

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

13  พฤษภาคม 2556

 

 

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์  ชินวัตร แสดงปาฐกถาพิเศษต่อที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตยที่เมืองอุลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา เป็นการพูดถึงประชาธิปไตยที่ได้มาด้วยเลือดเนื้อ ชีวิตของประชาชน แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่เชื่อในประชาธิปไตย ใช้กำลังกดขี่เสรีภาพประชาชน ด้วยการก่อการรัฐประหารซึ่งทำให้ประเทศไทยล้าหลัง ประชาชนจึงลุกขึ้นสู้ เรียกร้องเสรีภาพจนถูกเข่นฆ่า แกนนำติดคุก และยังมีกลุ่มการเมืองจากการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยติดคุกอยู่ ในตอนท้ายได้เรียกร้องประเทศในระบอบประชาธิปไตยร่วมกันกดดัน นำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

เป็นปาฐกถากะทัดรัด ใจความครบถ้วน มีพลัง เป็นเสมือนแสงสว่างในความมืดจนพวกผีห่าซาตานที่ชอบอยู่กับความมืดต้องปรากฏตัวออกมาอาละวาด แสดงความโง่เง่า และโฉดชั่วประชานตัวเองให้ชาวโลกได้เห็นกันชัดเจน

อันที่จริงปาฐกถานี้เป็นเพียงความจริงทั่วไปอย่างเช่น “ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อในประชาธิปไตย ใช้กำลังกดขี่เสรีภาพ” เป็นที่รับรู้กันดีอยู่แล้วนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา เป็นเวลา 81 ปีแล้วการเมืองไทยมีแต่ความต่ำช้า ป่าเถื่อนด้วยการรัฐประหาร 22 ครั้ง มีรัฐบาลบริหารประเทศ 60 ชุด ได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร หรือได้รับการสนับสนุนจากคณะทหาร และอยู่ในตำแหน่งบริหารประเทศเป็นเวลา 50 ปี แต่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งไม่ถึง 30 ปี

การรัฐประหารเป็นการใช้กำลังทหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งด้วยข้ออ้างซ้ำซากอยู่ 3 ประกาคือ  1.  สังคมแตกแยก  2.  รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น  3.  หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  แต่ในความเป็นจริงการรัฐประหารเป็นการแย่งชิงอำนาจอย่างป่าเถื่อน เป็นการปล้นบ้านกินเมืองกันอย่างเปิดเผย และมักจบลงด้วยความหายนะทุกครั้ง

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็เช่นกัน ใช้ข้ออ้างตามแบบฉบังดั่งเดิม แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างไปจากทุกครั้งที่ผ่านมา กล่าวคือ หนึ่ง หลังการรัฐประหารอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงมีอิทธิพลทางการเมือง และเรียกร้องความเป็นธรรมจากการถูกรัฐประหาร  สอง ประชาชนให้การสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยผลงานรูปธรรมในขณะเป็นนายกรัฐมนตรี และได้ร่วมกันต่อต้านรัฐประหาร และระบอบอำมาตย์  สาม เกิดความขัดแย้งขั้วอำนาจการเมืองเด่นชัด ต่อสู้ฟาดฟันกันจนสาวไส้ถึงระบบจารีตนิยมจนเกิดสภาพความเสื่อมถอยตามลำดับ

ยังมีแง่มุมที่เป็นหลุมดำอันเป็นต้นเหตุของการรัฐประหารในเมืองไทยที่ทำให้ชายไทย และต่างประเทศตื่นรู้จากถ้อยคำพรั่งพรูโวหารจากชนชั้นนำตัวอย่างเช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดไว้ว่า “บุคคลซึ่งดูเหมือนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เข้ามาวุ่นวายองค์กรที่มีในระบบรัฐธรรมนูญมากไป” ( 29 มิถุนายน 2549)  หรือคำพูดของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กล่าวไว้ว่า “ม้าจะมีคอก มีเจ้าของคอก เวลาแข่งไปเอาเด็กจ๊อกกี้ ไปจ้างมาขี่ม้า เขาไม่ได้เป็นเจ้าของม้า” จนในที่สุดนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

เมื่อประชาชนต่อต้านรัฐประหารจนต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลปรากฏว่าประชาชนเลือกพรรคพลังประชาชนมาเป็นรัฐบาล แต่กลับถูกประท้วงจากกลุ่มคนเสื้อเหลือง ด้วยการยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน แต่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้จน พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ พูดว่าเป็น “ม็อบมีเส้น”

วาสนา นาน่วม ผู้เขียนหนังสือ ลับ ลวง พลาง ภาค 2 บันทึกไว้ว่าในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เคยกล่าวไว้ในวงสนทนาแห่งหนึ่งว่า “รู้ไหมว่า พวกคุณกำลังสู้อยู่กับใคร ไม่มีวันชนะหรอก” เช่นเดียวกัน พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน ซึ่งถูกพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ถามว่า  ใครเป็นคนสั่งให้ทำรัฐประหาร  พลเอกสนธิ ตอบว่า “คำถามบางประการเปิดเผยไม่ได้ แม้ตายแล้วก็เปิดเผยไม่ได้”

วาทะรหัสนัยที่เป็นหลุมดำการเมืองไทยเหล่านี้กลายเป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หลายคนได้ข้อสรุปแบบฟันธงไปแล้ว อีกจำนวนมากที่ยังงุนงงกับการรับประหารครั้งนี้

ปาฐกถาของยิ่งลักษณ์ไม่ได้หวือหว๋า เป็นเพียงลักษณะทั่วไปของพัฒนาการประชาธิปไตยที่ทั่วโลกได้ผ่านประสบการณ์แบบเดียวกันมาก่อน เป็นการเชิดชูประชาชนที่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของเราเองด้วยซ้ำไป  ดังนั้นการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกแถลงการณ์ตอบโต้ส่งไปทั่วโลกจึงเป็นการเปิดเผยธาตุแท้พรรคการเมืองอิงแอบกับเผด็จการ ดังที่คุณอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงความเห็นไว้แจ่มชัด เป็นการประจานตนเองว่าอยู่เคียงข้างกับผด็จการทหาร เป็นการกระทำด้วยความสิ้นคิด โง่เง่า เป็นที่น่าอับอายขายขี้หน้าเหลือเกิน

ส่วนเรื่องถ้อยคำที่ใช้โจมตีนายกรัฐมนตรีอย่างหยาบคายต่าง ๆ นา ๆ นั้น บรรดาผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีได้ตอบโต้สาสมแก่เหตุแล้ว เป็นสีสันประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรีจึงไม่ควรถือสาเอาความ

สาระสำคัญเร่งด่วนหลังจากการปาฐกถาแล้วก็คือ “นิรโทษกรรม ปล่อยนักโทษการเมือง” ให้หมดไป แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แก้ไขความเดือดร้อนของชาวบ้านที่มาชุมนุมอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลโดยเร็ว พัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป มิเช่นนั้นแล้วก็จะกลายเป็นคนดีแต่พูดเหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่นกัน

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง