Skip to main content

                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และคุกคามประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง

                กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็น ซากอารยธรรมที่เหลือค้างมาตั้งแต่ก่อนประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ตัวกฎหมายมีเนื้อหาที่ จำกัดสิทธิ และขัดกับระบอบประชาธิปไตยมาก   ซึ่งจะขอเล่าให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

1)      การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นของฝ่ายทหารโดยแท้ ครั้งนี้ ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยไม่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ

2)      การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร  หากจำได้สมัยอดีตนายกฯสมัคร เคยประกาศกฎอัยการศึก   แต่ ผบ. ในขณะนั้นแถลงออกโทรทัศน์ว่าจะไม่ใช้อำนาจใดๆ ในการยุติความรุนแรง    แต่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์และรองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ  กองทัพใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุม และผู้ไม่เกี่ยวข้อง ตาย! เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน คนเร่ร่อน ฯลฯ

3)      อำนาจในการออกกฎหมายลูกมาจำกัดสิทธิเพิ่มเติมอยู่ในมือของฝ่ายทหาร เช่น การประกาศห้ามออกอากาศ ห้ามเสนอข่าว ห้ามเดินทาง ห้ามอยู่อาศัย ไปจนถึงการยึดสถานที่ต่างๆ   อันเป็นการจำกัดสิทธิอย่างร้ายแรง โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล   ลองเทียบกับรัฐบาลพลเรือน หากจะออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิประชาชนต้องผ่าน รัฐสภา ซึ่งมีการอภิปราย ตรวจสอบหลายขั้นตอน

4)      การกีดกันกระบวนการยุติธรรมออกไปจากพื้นที่ เพราะให้อำนาจทหารตั้งป้อม สร้างด่าน ตรวจกัก ตรวจค้น   ที่ต่างจากการตั้งด่านปกติที่ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดชัดเจน    ทั้งยังมีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล  และยืดเวลาฝากขังโดยไม่ต้องไปพบศาลได้ยาวนานกว่าปกติมาก แถมยังต่อเวลาได้อีกด้วย   ต่างจากรัฐธรรมนูญและกฎวิธีพิจารณาความอาญา

5)      การเลือกระงับสิทธิของประชาชนบางพื้นที่/บางเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและรายละเอียดที่แน่ชัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียสิทธิหลายประการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น  คนในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นผู้รับเคราะห์บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เท่ากับพี่น้องใน 3-4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ต้องอยู่กับภาวะนี้ยาวนาน  ครั้งนี้ประกาศใช้ทั้งประเทศ เท่ากับ ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา! ทั้งประเทศ!!!

6)      ในบางกรณีไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย มีหลักฐานชี้มูลความผิดเจาะจงไปที่ใคร แต่ใช้การประกาศหว่านคลุมหลายพื้นที่ หลายถนนเพื่อเข้าคุมพื้นที่ แล้วตรวจค้น จับกุม ประชาชาน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการจับผิดตัว ยัดหลักฐาน ปรักปรำคนผิด  พูดง่ายๆ  “จับแพะ”   หรือ จัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ง่ายๆ

7)      การประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องมีพระบรมราชโองการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พูดง่ายๆ รัฐบาลต้องชนกับกองทัพในสถานการณ์ที่รัฐบาลรักษาการกำลังโงนเงน

8)      การยกเว้นโทษและความรับผิดทางกฎหมายทั้งหมด พูดง่ายๆ ถ้าเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชน/บริษัทห้างร้านใดๆ   ทหารไม่ต้องรับผิดชอบ   แม้ประชาชนผู้เดือดร้อนจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจโดยทุจริต เลือกประติบัติ เกินสมควรแก่เหตุ  เพราะทหารทำไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากศัตรูภายนอกและภายใน

 

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า ภาวะอัยการศึกได้ทำลาย “ความจริง” ลงตั้งแต่แรกเพราะประกาศปิดสื่อได้ทุกรูปแบบ   ทำให้ประชาชนโดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ยากจะพิสูจน์ความจริง ว่า ประเทศกำลังประสบภัยคุกคามจาก "ศัตรู" ของประเทศ จริงหรือไม่   ฤาแท้จริงเป็นเพียงประชาชนผู้ต้องการใช้สิทธิทางการเมืองแต่ไม่ตรงใจกองทัพ?

โดยศึกนี้มี "ต้นทุน" สูงลิบ คือการทำลายอำนาจของ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ลงทันที   โดยมี สิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เป็น "ดอกเบี้ย"   ที่แพงลิบ!!!

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
6. ต่อสู้กับอาชญากรรม
ทศพล ทรรศนพรรณ
3.การกำกับดูแล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทนำ            การมีชีวิตอยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “เกม” (Ga
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media
ทศพล ทรรศนพรรณ
5. ความหละหลวมทางความมั่นคงทางไซเบอร์นำไปสู่ชัยชนะของทรัมป์        
ทศพล ทรรศนพรรณ
 1.         บทนำเข้าสู่กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล    
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีว
ทศพล ทรรศนพรรณ
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล
ทศพล ทรรศนพรรณ
            สถานการณ์เขม็งเกลียวทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการพยายามผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย(ตัน) ของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีคะแนนเสียงในสภาล่างถึง 310 เสียงนั้น   ได้ผลักให้ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2553 และประชาชนผู้รัก