Digital Legacy : วิเคราะห์ชีวิตและผลการกระทำของ Donald J. Trump ผ่านการใช้ Social Media ตอนที่ 2

5. ความหละหลวมทางความมั่นคงทางไซเบอร์นำไปสู่ชัยชนะของทรัมป์        

            ความไม่มั่นคงทางไซเบอร์ที่เกิดจากช่องโหว่ของมาตรการดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้งาน Social media ถูกทรัมป์นำไปใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลของ users ซึ่งถูกนำข้อมูลที่รั่วไหลไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งทาง Facebook ได้ออกมายอมรับถึงการที่ Facebook ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องจริง แต่ในปัจจุบันไม่มีมาตรการในการเชิงลงโทษ หรือ มาตรการในการช่วยเหลือหากเกิดความเสียหายจากการที่ถูกนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งทรัมป์ได้ใช้ประโยชน์ของช่องโหว่ทางเทคโนโลยีนี้ เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี 2016 ซึ่งทรัมป์ดำเนินกิจกรรมการเมืองผ่านวิธีการ ดังนี้

          - Cambridge Analytica

            ทรัมป์ได้ใช้บริการของ Cambridge Analytica (CA) ซึ่งเป็นตลาดขับเคลื่อนข้อมูล (data-driven marketing) CA เป็นบริษัทวิจัยข้อมูลที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ด้านการเมือง และกลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้ง [1] โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบถึงพึงพอใจของผู้ลงคะแนนเสียงว่าชอบอะไร สนใจอะไร โดยไม่ได้สนใจวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล  เห็นได้จากในปี 2018 ทาง Facebook ได้มีการออกมายอมรับถึงข้อมูลที่รั่วไหล เนื่องจาก แบบสอบถามบุคลิกภาพ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2014 ที่มีการลิ้งค์ข้อมูลกับ facebook ทำให้ข้อมูลของผู้ทำแบบสอบถามรั่วไหลไปยัง CA และ CA นำข้อมูลที่รั่วไหลของผู้ใช้ดังกล่าว นำไปวิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์และวิธีการต่อสู้ทางการเมืองที่ถูกจริตกับประชากรอเมริกันที่มีสิทธิในการเลือกตั้ง (Voters)  จนเป็นส่วนหนึ่งในการที่ทำให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง

          - Project Alamo          

          ในปัจจุบันการใช้ facebook ของพลเมืองโลกยังคงครองตลาดผู้ใช้มากที่สุด แม้เนื้อหาในเฟซบุ๊คจะมีส่วนที่ไม่ดี เช่น ข่าวเท็จที่ทำให้คนหลงเชื่อ   โฆษณาที่มากเกินไป จนทำให้เฟซบุ๊คต้องมีการจำกัดการแสดงเนื้อหาในfacebook แต่กระนั้น facebook ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกนี้รวมไปถึง Instragram เจ้าของเดียวกันกับ Facebook การครองตลาด (mass) ของสื่อมีเดียเจ้าดัง จึงเป็นที่มาของการนำไปถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อหาประโยชน์ทางการเมืองของทรัมป์ ที่รู้จักกันในชื่อของ โปรเจคอะลาโม (Project Alamo) ซึ่งสามารถทำให้ทรัมป์พลิกโผเอาชนะตัวเก็งอย่าง ฮิลลารี่ คลินตัน เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 แห่งสหรัฐอเมริกา[2] โดยหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว ทรัมป์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังของการใช้สื่อโซเชีลยมีเดียของโฆษณาในเฟซบุ๊คที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา

          ในโปรเจคนี้ทรัมป์ใช้วิธีการตั้งทีมวิเคราะห์และรวบรวมเนื้อหาโฆษณาใน facebook  ของผู้ใช้อเมริกันว่า 220 ล้านคนว่าโฆษณาใดที่คนอเมริกาคลิกเข้าไปดูเยอะที่สุด หรือ เนื้อหาเรื่องใดที่คนให้ความสนใจ และสร้างฐานข้อมูลและข้อมูลการติดต่อของผู้คนที่สนับสนุนทรัมป์ โดยการสมัครเข้ากลุ่ม “Stand with Trump” หรือ “Support Trump” ซึ่งต้องมีการยืนยันอัตลักษณ์ตัวบุคคลก่อน ทำให้ทราบถึงฐานข้อมูลผู้สนับสนุนทรัมป์ว่า เป็นกลุ่มอายุเท่าใด ประกอบอาชีพใดหรือ อาศัยอยู่ในรัฐใด รวมไปถึงการสร้างโฆษณาหรือข่าวโจมตีเพื่อลดความน่าเชื่อถือของฮิลลารี่  คลินตันจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่เป็นฐานเสียงของฮิลลารี่ คือ กลุ่มคนขาวที่เป็นพวกเสรีนิยม กลุ่มสตรีที่ยังมีอายุน้อยซึ่งทรัมป์ใช้วิธีการโจมตีโดยการกล่าวถึง ข่าวฉาวโฉ่ของสามีฮิลลารี่เมื่อนานมาแล้วเพื่อสร้างความไม่มั่นใจในตัวฮิลลารี่ และอีกพวกหนึ่งคือ กลุ่มแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งทรัมป์ทำลายความเชื่อมั่นของฮิลลารี่โดยการวิธีการปล่อยแอนิแมชั่นเรื่อง “Hillary Thinks African Americans are super Predators” (ฮิลลารี่คิดว่าพวกแอฟริกันอเมริกันเป็นนักล่า) เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยมีประเด็นเรื่อง ฮิลลารี่เรียกกลุ่มวัยรุ่นแอฟริกันอเมริกันที่เข้าร่วมการก่ออาชญากรรมว่า “Super predators ไม่มีความรับผิดชอบชั่วดี และไม่นึกถึงผู้อื่น” [3] ในช่วงที่ฮิลลารี่ได้มีการกล่าวปาฐกถาในนิวแฮมเชียร์เกี่ยวกับการสนับสนุนพระราชบัญญัติการควบคุมอาชญากรรมความรุนแรงและการบังคับใช้กฎหมายในปี 1996 และทรัมป์นำประเด็นมา Tweet อีกครั้งในช่วงหาเสียงในปี 2016 เหตุการณ์ครั้งนั้น ฮิลลารี่ได้ออกมาขอโทษและโต้แย้งในภายหลังว่า ปาฐกถาดังกล่าวเพียงแต่ต้องการให้เห็นถึงผลกระทบของอาชญากรรมความรุนแรงและ ความร้ายแรงของยาเสพติด และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเธอได้ช่วยเหลือเด็กมากมายซึ่งเด็กเหล่านั้น คือ เด็กแอฟริกันอเมริกัน  ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นทรัมป์ใช้ประโยชน์จากการอินเตอร์เน็ตในการเป็นตัวกลางสื่อสารข้อมูลทางการเมืองเพื่อลดความน่าเชื่อถือจากกลุ่มเป้าหมายผู้สนับสนุนของคู่แข่งอย่างฮิลลารี่ คลินตัน

          เห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันการเมืองมิได้ชนะกันด้วยความรุนแรง หรือ การโต้ตอบกันเท่านั้น แต่ชนะกันด้วยข้อมูลข่าวสาร การเมืองสหรัฐอเมริกาไม่ได้เอาชนะคะคานกันด้วยฐานเสียงอีกต่อไปแล้ว ที่เห็นได้ว่า ฮิลลารี่ชนะทรัมป์ในส่วนของคะแนนความนิยม ( popular vote) มากกว่า 2 ล้านคะแนน แต่ก็ไม่เป็นประโยชน์ในการที่จะทำให้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา            

6.         มิติต่างๆ ในอาชญากรรมทางไซเบอร์ของ Donald Trump

          การกระทำของทรัมป์ไม่ว่าจะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลที่ไม่ชอบจาก CA หรือ Project Alamo ล้วนเป็นอาชญากรรมทางไซเบอร์เนื่องจากเป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้มาโดยไม่ชอบ เช่น ข้อมูลที่รั่วไหลจาก CA   หรือ การให้ผู้สนับสนุนตนเองลงชื่อเข้าใช้แล้วนำข้อมูลจากการกระทำดังกล่าว มาใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผนวกกับ การโจมตีคู่ต่อสู้ของตนด้วยคำพูดที่นำไปสู่การเกลียดชัง ผลจากการกระทำดังกล่าวนั้น ทรัมป์ได้ประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว และนำตนเองไปสู่การเป็นผู้นำประเทศ ท่ามกลางความเกลียดชัง และ เสียงสาปแช่งของคนอเมริกัน ซึ่งแนวคิดที่จะนำมาอธิบายการกระทำทางอาชญากรรมของทรัมป์ มี 2 แนวคิด คือ

            - Conspiracy theory

          ในการทำโปรเจคอะลาโมของทรัมป์นั้น ทรัมป์ได้สร้างทีมงานเฉพาะเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งาน facebook  โดยนำพฤติกรรมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เก็บจากผู้ใช้งาน facebook มาวิเคราะห์ รวมไปถึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนทรัมป์  คือ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพศ เชื้อชาติ ช่วงอายุ ภูมิลำเนา เพื่อที่หาช่องโหว่ในการโจมตีคู่แข่งทางการเมืองในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016 ซึ่งการนำเสนอข้อมูลของทรัมป์โดยการใช้ประโยชน์จากการใช้งานอินเตอร์เน็ตมีทั้งข่าวจริงและข่าวลวงและหาอ่านได้ง่ายในอินเตอร์เน็ต โดยทฤษฎีสมคบคิดจะเป็นประโยชน์เมื่ออยู่ช่วงที่ข่าวสารรวดเร็วแต่สังคมมีความไม่แน่นอน[4] อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาซึ่งเผชิญเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 ทำให้คนอเมริกันต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หวาดระแวงต่อภยันตรายรอบตัว การที่ทรัมป์หยิบยกเอาประโยชน์จากการเก็บข้อมูลในโปรเจค อะลาโม เป็นกลยุทธ์ที่มีความจิตวิทยาในการที่วิเคราะห์ความรู้สึกของคนผ่านพฤติกรรมใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งนักจิตวิทยา Jan Willem van Prooijen ได้กล่าวว่า “ การใช้ความรู้สึกในการเชื่อมโยงแต่ละจุดเข้าด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องอิงกับความเป็นจริง” ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้

          - Hate speech

          เฮตสปีช (Hate speech) ตาม Encyclopedia of American Constitution หมายถึง การแสดงออกที่โจมตีปัจเจกหรือกลุ่มบุคคลด้วยลักษณะพื้นฐาน เช่น เพศสภาพ, ชาติพันธุ์, ศาสนา, เชื้อชาติ, ความพิการ หรือรสนิยมทางเพศ

          ในแง่กฎหมาย hate speech หมายถึง  การใช้ถ้อยคำ ท่วงที หรือพฤติกรรม ลายลักษณ์อักษร หรือการแสดงออกอย่างใด ๆ ซึ่งต้องห้าม เพราะอาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรง การต่อต้าน หรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองไว้ ในบางประเทศ

          ปัญหาคือ ข้อความที่ทรัมป์โพสต์ใน Twitter นั้นมีการละเมิดสิทธิของผู้อื่นและสร้างความเกลียดชังอย่างไรหรือไม่  ซึ่งหากพิจารณาถึงสิทธิในการแสดงออกแล้ว การแสดงออกก็ต้องมีการจำกัดการใช้สิทธิเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะการแสดงออกผ่านการใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ต หรือ โซเชียลมีเดีย ที่สามารถกระทำได้อย่างกว้างขวางและส่งผลกระเทือนในวงกว้างสำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ต  ซึ่งมีข้อความหลายข้อความของทรัมป์ที่ทวีตแล้วก่อให้เกิดความเข้าใจ หรือรับรู้ที่ก่อให้เกิดการสร้างเกลียดชัง เช่น การทวีตตอบโต้ผู้นำเกาหลีเหนือ และ การแสดงอำนาจที่สามารถใช้งานระเบิดนิวเคลียร์ของตนได้ [5]

          เมื่อวิเคราะห์จากการกระทำของทรัมป์แล้ว อาจมิใช่เป็นอาชญากรรมทางไซเบอร์โดยตรงทั้งหมด แต่อยากให้ชวนคิดถึงมิติของการกระทำทางโลกไซเบอร์ที่สามารถนำไปสู่ความรุนแรง หรือ การก่ออาชญากรรมด้วย ซึ่งจากสถิติของอาชญากรรมคนมุสลิมใน US ในปี 2017 หลังจากมีการเลือกตั้งในปี 2016 พบว่า มีอัตราเพิ่มมากขึ้นถึง 15% แม้ว่า ทรัมป์และคณะจะได้แถลงถึงความชอบธรรมทางกฎหมาย (rule of law) ในการที่จะไม่มีการเหยียดเชื้อชาติ ศาสนา แต่ช่างสวนทางกับการแสดงของเขาใน Social media เหลือเกิน[6]    ที่ได้มีการ retweet วิดิโอของกลุ่มต่อต้านมุสลิม 3 คลิปซึ่งมีเนื้อหาคือ ชายมุสลิมกำลังทำร้ายร่างกายชายอีกคนหนึ่ง โดยคลิปวิดีโอของกลุ่มต่อต้านมุสลิมจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ผู้ก่อความรุนแรงหรือ อาชญากรเป็นชาวมุสลิม                    

 

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Dominick Reuter / Reuters

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6306

อ่านเนื้อหาตอนที่ 3 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6308


[2] Joel Winston. (2017). How the Trump Campaign Built and identity Database and Used Facebook Ads to win the election. Online : https://medium.com/startup-grind/how-the-trump-campaign-built-an-identit...

[3] “They are not just gangs of kids anymore. They are often the kinds of kids that are called ‘super predators.’ No conscience, no empathy. We can talk about why they ended up that way, but first we have to bring them to heel,” 

[4] ธเนศ รัตนกุล. (2560). ทำไมคุณถึงเชื่อทฤษฎีสมคบคิด จิตวิทยามีคำตอบ. ออนไลน์ : https://thematter.co/byte/why-do-people-believe-in-conspiracy-theories/7897

[5] North Korean Leader Kim Jong un just stated that the “Nuclear button is on his desk at all the times.” Will someone from his depleted and food starved regime please inform him that I too have a nuclear button, but it is a much bigger & more powerful than his, and my button works

[6] Reuters. (2018). Hate crimes against US muslims rose 15 percent last year. Online : https://nypost.com/2018/04/23/hate-crimes-against-us-muslims-rose-15-per...

 

 

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Dominick Reuter / Reuters

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

ย้อนกลับไปยังตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6306

การเมืองของกฎหมาย 100: พัฒนาชีวิตแรงงานอิสระด้วยการประกันรายได้พื้นฐาน

การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ

กฎหมายกับเทคโนโลยี 26: มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการเก็บและประมวลผลของบรรษัทเอกชนโดยมิชอบ

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั

การเมืองของกฎหมาย 99: ความเสี่ยงจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้านอาหารและสุขภาพ

บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข

การเมืองของกฎหมาย 98: พลเมืองเน็ตกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม

กฎหมายกับเทคโนโลยี 25: รู้ทันพิศวาสอาชญากรรม

เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”