Digital Legacy : วิเคราะห์ชีวิตและผลการกระทำของ Donald J. Trump ผ่านการใช้ Social Media ตอนที่ 1

 

1.         บทนำเข้าสู่กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล    

            Freedom of expression หรือ เสรีภาพในการแสดงออก เป็นส่วนสำคัญในพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้า เนื่องจาก “การแสดงออก” นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และ ก่อเกิดสิ่งใหม่ส่วน “เสรีภาพ”นั้นเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ตามธรรมชาติในการที่มีอิสระในการที่จะกระทำสิ่งใด ดังที่จอห์น สจ๊วต มิลล์[1] มองว่าเสรีภาพและการออกแสดงเป็นส่วนสำคัญ หากต้องการจะพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

           นอกจากการก่อให้เกิดสิ่งใหม่แล้ว เสรีภาพในการแสดงออกยังมีความสำคัญในแง่การก่อให้เกิดการค้นหาความจริง และ ในเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า การแสดงออกนั้นอยู่ในทุกเหตุการณ์ชีวิตและการติดต่อข่าวสาร หรือ พรมแดนความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอีกต่อไปแล้ว ส่งผลให้การแสดงออกนั้นแผ่ขยายไปในวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม โดยเสรีภาพในการแสดงออกนั้นถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลระดับปัจเจกนั้นมีเสรีภาพในการพูด แสดงออกเพื่อแสดงตัวตนทางสังคม หรือ แจ้งข้อเท็จจริง ข่าวสาร ในพื้นที่สาธารณะ โดยในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็ได้ให้สิทธิในการแสดงออก [2]  ที่ว่า “บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นปราศจากการสอดแทรกและที่แสวงหารับตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นผ่านสื่อ ใด ๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน” รวมไปถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19 [3]  ที่บุคคลมีสิทธิการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองได้ทำให้เสรีภาพของการแสดงออกนั้นถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้รับการบัญญัติไว้ในการรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (First Amendment of the Constitution of the United States)[4] โดยเฉพาะการแสดงออกทางวาจา (free speech) ซึ่งในปัจจุบันนี้รูปแบบการแสดงออกทางการเมืองได้มีหลากหลายช่องทางมากขึ้น และในยุคโลกาภิวัฒน์ก็คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยี คือ อินเตอร์เน็ต ในสหรัฐฯ ในปี 2017 มีผู้เข้าถึงการงานใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากถึงมากถึง 22 ล้านคนจากปี 2016 เฉพาะแอพพลิเคชั่น facebook มีผู้ใช้มากถึง 214,000,000 ล้านคน[5] อีกทั้งผู้ผลิตทางเทคโนโลยียังมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เช่น โทรศัพท์มือถือ และพัฒนาโปรแกรม แอพลิเคชั่นต่าง ๆ  ส่งผลให้ปัจจุบัน การแสดงออกทางเสรีภาพนั้นมีการส่งผ่านโดยวิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ต ผ่านช่องทาง  Social media ได้ง่ายขึ้นอย่าง facebook, Twitter เป็นต้น

          ส่วนในประเด็นการเมือง นักการเมืองก็หันมาใช้วิธีการสื่อสารสาธารณะ ในพื้นที่ Social Media มากขึ้นเพื่อแสดงออกถึงจุดยืนของตน หรือ แจ้งข่าวสารต่าง ๆ ไปยังพื้นที่สาธารณะ ซึ่งในบทความชิ้นนี้จะได้วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการใช้ Social media ของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 45 แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลายกรณีที่น่าสนใจในการแสดงออก และ การใช้ประโยชน์ของทรัมป์จาก Social media

2.         การเมืองของพลเมืองอินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย

          ความสำคัญอย่างหนึ่งของอินเตอร์เน็ต คือ ทำให้ประชาชนมีการแสดงออกทางการเมือง เนื่องจากสามารถเข้าถึงพื้นที่ในการแสดงออกของตนได้มากขึ้น แต่กระนั้น เสรีภาพในการแสดงออกควรมีข้อจำกัดหรือไม่อย่างไร ดังเช่น free speech นั้นควรพิจารณาควบคู่ด้วยว่า ใครเป็นผู้นำเสนอและ นำเสนอแบบใด[6] เนื่องจากอาจส่งกระเทือนในวงกว้าง ยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ที่วิธีการการแสดงออกของคนที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ดังเช่นปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง และเกือบทุกกิจกรรมของชีวิตล้วนมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Social media ธุรกรรมทางการเงิน อีกทั้งในปัจจุบันการแสดงออกถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วย จากคำพูดที่ว่า “Pen is mightier than any weapons” (ปากกาคืออาวุธที่ทรงพลานุภาพยิ่งกว่าอาวุธใด) เนื่องจาก ความรุนแรงในปัจจุบันไม่ได้มาจากการเผชิญหน้ากันเหมือนแต่ก่อน แต่มาจากการที่ไม่ต้องเผชิญผ่านการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางสำคัญในการใช้ประโยชน์เพื่อแสดงเสรีภาพของตนผ่านพื้นที่ออนไลน์ และทำให้ผลกระทบจากการใช้อินเตอร์เน็ตขยายพรมแดนอย่างไร้ขีดจำกัด

        ดังเช่น กิจกรรมทางการเมือง เดิมที่การต่อสู้ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาซึ่งมี 2 พรรคการเมืองสำคัญ คือ republican และ  Democrat  จะใช้วิธีการใช้ตอบโต้ผ่านทางสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ หรือ โทรทัศน์ จึงจำเป็นต้องมีการปกป้อง เสรีภาพของสื่อ เพื่อให้เป็นประกันว่าสื่อจะสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่อคติ  แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องต่อสู้ทางการเมือง เช่น ประเด็นเรื่องฮิลลารี่ถูกเปิดเผยก่อนเวลาเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี 2016 ในเรื่องการใช้อีเมล์ส่วนตัวส่งข้อความ ซึ่งในความเป็นจริงต้องใช้อีเมลล์ส่วนกลางของรัฐในการติดต่อ รวมไปถึงถูกเปิดเผยเรื่องการคอร์รัปชั่นในมูลนิธิคลินตัน ซึ่ง ทรัมป์นำประเด็นดังกล่าวมาตอบโต้เพื่อลดความน่าเชื่อถือ และก่อให้เกิดความไม่วางใจในตัว ฮิลลารี่ คลินตัน โดยทรัมป์นั้นใช้ social media  เป็นสนามรบ และ        มี Twitter เป็นอาวุธคู่กายของเขา [7] อีกทั้งใช้ facebook เป็นพื้นที่ในการโจมตีคู่ต่อสู้ทางการเมืองเช่นเดียวกัน คือในปี 2016 ทรัมป์ได้โพสต์เนื้อหาหลายประเด็นเพื่อโจมตีฮิลราลี่ เช่น โฆษณาล้อเลียน Pokemon ko เนื่องจากในช่วงหาเสียงฮิลลารี่ได้ใช้เคมเปญจ์เปิดเวทีหาเสียงโดยใช้สถานที่หาเสียงจัดโปเกมอนยิม ทรัมป์จึงทำการ์ตูนล้อเลียนโดยสร้างคลิปวิดิโอโดยมีเนื้อหา คือ ฮิลลารี่คือตัวโปเกมอนที่กำลังโดนโปเกบอลขว้างใส่และถูกจับเข้าลูกโปเกบอล และใช้ชื่อโปเกมอนที่จับได้แทนว่า Crooked Hilary (นังขี้โกง ฮิลลารี่) ซึ่งเป็นชื่อเล่นที่ทรัมป์ใช้เรียกฮิลลารี่ หรือ เกมส์ Pac-man ซึ่งมีเนื้อหาคือ ฮิลลารี่แสดงเป็นตัว Pac-man กำลังกินจดหมาย ซึ่งในขณะนั้น กำลังมีประเด็นว่าฮิลลารี่ได้ทำการลบอีเมลล์ระหว่างเธอและเจ้าหน้าที่ FBI ซึ่งคนอเมริกันให้ความสำคัญกับข่าวนี้มาก เนื่องจากช่วงเวลาของการเปิดโปงข้อมูลนั้นเกิดขึ้นในช่วงก่อนเวลาเลือกตั้ง 1 อาทิตย์

        รวมไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของทรัมป์ผ่านการใช้ Social Media ซึ่งในทุกการกระทำของทรัมป์ล้วนเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง และถือเป็นการสื่อสารทางการเมืองรูปแบบใหม่ที่ส่งผลสะเทือนกับสังคมในวงกว้าง เนื่องจากความเป็นผู้นำในประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ทำให้ทั่วโลกจับตามองการกระทำ ความคิด ของทรัมป์ผ่านการใช้งาน Social Media  เช่น หากวิเคราะห์ถึงการ tweet ของทรัมป์ใน Twitter พบว่า มีหลายข้อความที่ไม่เข้าข่ายในการที่จะได้รับการคุ้มครองจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดถึงสิ่งที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of expression) ด้วยเช่นกัน ในฐานะประธานาธิบดีของทรัมป์ การแสดงออกและการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตผ่านSocial media อาจส่งผลสะเทือนในประชาคมโลกที่อาจก่อให้เกิดการปะทะทางการเมือง หรือ อาจก่อความไม่สงบ ความรุนแรง เนื่องจากทรัมป์เป็นผู้นำประเทศทรงอิทธิพลอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้เสรีและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกอย่างหนักแน่น แต่กระนั้น ควรคำนึงถึงเนื้อหาในการนำเสนอและผู้นำเสนอด้วย เนื่องจากการคุ้มครองในทางกฎหมายจากการใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถครอบคลุมได้ในทุกปริมณฑลของพื้นที่บนโลก แต่ขณะที่อินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนที่บางพื้นที่ไม่อาจจัดการโดยใช้กฎหมายของรัฐ

3.         ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์

            การดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ไซเบอร์ที่ขยายปริมณฑลอย่างกว้างขวาง ก็เป็นพื้นที่รูปแบบหนึ่งที่จำเป็นจะต้องการดูแล กำกับ ควบคุม เพื่อบรรยากาศอันดีของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไซเบอร์ ในเนื้อหาของ Social Media ก็เช่นเดียวกันที่มีตัวแบบในการกำกับเพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ซึ่งมีหลายตัวแบบด้วยกัน โดยอาจจะออกเป็นกฎ นโยบาย ซึ่งมีรูปแบบเป็นตัวกำหนดดังต่อไปนี้

            -  ข้อกำหนด กติกา นโยบายที่ถูกเขียนโดยผู้เขียนรหัส หรือ โปรแกรม  โดยไม่อิงตามกฎหมายหรือกลไกของรัฐบังคับหากมีการกระทำผิดตามนโยบาย และเนื้อหาที่ถูกควบคุมโดยมากจะเป็นเฉพาะเนื้อหาที่เป็นประเด็นอ่อนไหว  เช่น ตามนโยบายของ Twitter ใน กฎของทวิตเตอร์ (The Twitter Rules) มีการกำหนดในเรื่องพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ หรือ มีความรุนแรง (Abusive Behavior) ได้แก่ พฤติกรรมคุกคาม (Harasses) ข่มขู่ (intimidates) หรือ อาฆาตมาดร้าย (uses fear to silence another user’s voice) รวมไปถึงนโยบายความรุนแรงที่นำไปสู่ความเกลียดชัง (Abuse and hateful conduct) หมายถึง การกระทำความรุนแรง พฤติกรรมทางเพศอันไม่พึงประสงค์ หรือ การนำไปสู่ความเกลียดชัง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการนำไปสู่เกลียดชัง (hateful conduct policy)[8] ระบุว่า Twitter ไม่สนับสนุนการกระทำความรุนแรงหรือ การกระทำที่เกี่ยวกับการโจมตีในประเด็นเกี่ยวกับชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ เพศสภาพ ศาสนา อายุ ความผิดปกติของร่างกาย โรคติดต่อร้ายแรง รวมไปถึง คำหยาบคาย หรือ เนื้อหาที่เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่ง twitter มีมาตรการสำหรับผู้กระทำพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ โดย twitter จะแจ้งถามให้ผู้ใช้ลบเนื้อหาที่เป็นปัญหาก่อนที่ผู้ใช้จะสามารถทวิตข้อความอันใหม่ได้ หรือ มีมาตรการที่ twitter มีสิทธิในการระงับบัญชีผู้ใช้     

          - ข้อกำหนดที่เป็นการกำกับโดยรัฐ โดยทั่วไปจะใช้หลักการเสรีภาพทางการแสดงออก แต่จะพิจารณาถึงการกระทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาบัญญัติในเรื่องของเสรีภาพในการแสดงออก และข้อยกเว้นข้อ 20 ของ ICCPR[9]  ซึ่งปรับใช้กับการแสดงออกผ่านทางโลกไซเบอร์ด้วย โดยการกระทำที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามหลักเสรีภาพในการแสดงออกมีดังต่อไปนี้

          1. การหมิ่นประมาท ซึ่งรวมไปถึงการป่าวประกาศด้วยถ้อยคำหรือการแถลง ซึ่งกล่าวหรืออ้างอิงข้อมูลที่เป็นความเท็จ และสามารถก่อความเสียหายให้กับชื่อเสียงของบุคคลคนหนึ่งได้ แต่มีข้อยกเว้นคือ  หากการกล่าวอ้างนั้น มีมูลความจริงและมีหลักฐานแสดงไว้ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ให้กับทางสาธารณะ ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอีกฉบับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา คือ “Whistleblower Protection Act" ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับ ผู้ที่ช่วยนำเอาความลับ มาแสดงให้ทางสาธารณะทราบแต่คุ้มครองเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่นำข้อมูลออกมาเผยแพร่เท่านั้น

          2. Causing Panic หรือ การแสดงออกที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความหวาดกลัว

          3. Fighting Words คำพูดที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือ ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข

          4. Incitement to Crime คือ การแสดงออกที่เป็นการยุยงให้เกิดอาชญากรรม

          5. Sedition การแสดงออกที่เป็นการปลุกระดม ให้ก่อความไม่สงบรวมไปถึงการก่อกบฏด้วย

          6. Obscenity การแสดงออกในเนื้อหาที่เป็นคำหยาบคาย, ลามก อนาจาร ทั้งการใช้คำพูด, รูปภาพ

          7. Perjury and Blackmail คือ การโกหกต่อสิ่งที่ก่อนหน้านั้นตนได้สาบานก่อนให้คำให้การแล้วว่าจะกล่าวแต่ความสัตย์จริง และการ Blackmail หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์จากการจะถูกเปิดเผยความลับ

          8. Offense คือ การก้าวร้าว ข่มขู่

          ในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์โดยใช้มาตรการที่ผู้พัฒนาบัญญัติขึ้นมา จะมีลักษณะเดียวกัน โดยบังคับใช้กับที่ใช้ทุกคนอย่างไม่มีข้อยกเว้น แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะทำการโต้แย้งถึงความไม่ถูกต้อง หรือ ต่อรองอย่างใด ๆ ได้เลยหากต้องการใช้ตัวโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่น และมักจะเป็นข้อความที่มีความยาว และผู้ใช้งานมักจะไม่อ่าน ทำให้ผู้ใช้งานไม่ทราบถึงข้อจำกัดและสิทธิที่ตนเองมีและหน้าที่ของผู้พัฒนาที่มีต่อผู้ใช้งาน ส่วนวิธีการกำกับพื้นที่ไซเบอร์โดยมีกรอบของกฎหมายนั้น เป็นการปรับใช้กับหลักการทั่วไปของเสรีภาพในการแสดงออก แต่สิ่งที่สำคัญคือการใช้เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นนั้น ผู้แสดงความเห็นต้องรับผิดชอบต่อการแสดงออกของตน  ซึ่งตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ความรับผิดชอบนั้นตกอยู่กับผู้ที่ทำการแสดงออกที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง

4. ความเป็นส่วนตัว และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน Social media       

            โดยปกติเจ้าของหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมหรือ แอพลิเคชั่นจะมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน จุดขายหลักของ social media ที่มีลักษณะเพื่อการสื่อสารเพื่อแสดงออกทางเสรีภาพอย่างเช่น Twitter หรือ facebook จะต้องมีมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลความเป็นส่วนตัวที่ผู้ใช้ไม่ต้องการเผยแพร่ในสาธารณะ รวมไปถึงความปลอดภัยในการใช้งานที่จะไม่ถูกผู้ใช้จะไม่ถูก Hack หรือ Spam จากบุคคลอื่น ในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะให้เนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการนำเสนอ ส่งต่อและแพร่กระจายไปยังผู้ใช้ในวงกว้าง (กรณีผู้ใช้ตั้งค่าแบบสาธารณะ) มากที่สุด

          ใน Social media มาตรการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว เช่น ในเรื่องของข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ หรือ สถานที่ที่ผู้ใช้อยู่ในขณะนั้น ผู้ใช้งานจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนเองเมื่อทำการสมัครเข้าใช้งานจากแอพลิเคชั่นนั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสำคัญ เช่น เลขบัตรประชาชน ซึ่งการปรากฏข้อมูลส่วนตัวในพื้นที่ของผู้ใช้งานจะเป็นในลักษณะที่ผู้ใช้กำหนดตั้งค่าเอง (Customize) ว่าจะให้มีเนื้อหาอย่างไรบ้างปรากฏในพื้นที่ของตนเอง ในขณะที่ผู้ให้บริการ Social media ก็จะมีหน้าที่เก็บความเป็นส่วนตัวของเนื้อหาที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการให้เปิดเผย แต่ปัญหาคือ เมื่อ social media ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Facebook มีการลิ้งค์ข้อมูลกับเว็ปบล็อกอื่น ๆ ซึ่งอาจพบได้อย่าง เกมส์ออนไลน์ หรือ แอพพลิเคชั่นอื่น ที่ผู้ใช้อาจจะต้องทำการ “Login as facebook” เพื่อเชื่อมต่อลิ้งค์ต่าง ๆ ผ่าน Facebook ซึ่งลิ้งค์ข้อมูลที่เราทำการ Log in as facebook  นั้นไม่ได้รับการคุ้มครองข้อมูลจาก Facebook โดยตรง ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้รั่วไหลและถูกนำไปใช้ อย่างในกรณีของทรัมป์ เขาได้อาศัยช่องโหว่ของมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของ Social media อย่าง Facebook [10] ที่อาศัยการเชื่อมลิ้ง Facebook กับ เว็ปไซค์แบบสอบถามบุคลิกภาพที่มีคนกดเข้าไปมากกว่า 50 ล้านคน  โดยที่ผู้พัฒนาเว็ปไซค์สร้างแบบสอบถามนั้น นำข้อมูลที่รั่วไหลจากผู้ใช้งาน Facebook ที่คลิกเข้าไปทำแบบสอบถาม นำไปใช้ประโยชน์ใน Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสร้างกลยุทธ์ให้แก่บริษัทชื่อดังหรือโปรเจคสำคัญต่าง ๆ  รวมไปถึงทรัมป์ โดยการนำข้อมูลที่ไม่ชอบดังกล่าวมาใช้นั้น ทำให้ทรัมป์ได้ประโยชน์ในแง่ของการได้เปรียบคู่แข่งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ในเรื่องของข้อมูล (Big data) ของผู้ใช้งาน Social media ที่อาจสร้างข้อได้เปรียบและสร้างข้อโจมตีแก่พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม [11]

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Mary Altaffer / AP

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

อ่านเนื้อหาตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6307

อ่านเนื้อหาตอนที่ 3 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6308


[1] ความเรียงว่าด้วยเสรีภาพ (On liberty) จอห์น สจ๊วต มิลล์

[2] Human right declaration article 19 “Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers”

[3] ข้อ 19 1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง

2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือ การตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือ โดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก

3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค 2 ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ

            (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

            (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือ ความสงบเรียบร้อย หรือ สาธารณสุข หรือ ศีลธรรมของประชาชน

 

[4] " Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; of the right of the people peaceably to assemble, and to petition the government for a redress of grievances”

[5] สถิติน่ารู้ Digital Movement ทั่วโลก ปี 2017. (2560). จาก : https://www.brandbuffet.in.th/2017/02/digital-overview-global-stat-2017/

[6] Annalisa Merelli. (2560).How the American right co-opted the idea of free speech. Online : https://qz.com/1055351/how-the-american-right-co-opted-the-idea-of-free-...

 

[7] Andrew Buncombe. (2018). Donald Trump one year on: How the Twitter President changed social media and the country's top office. Online : https://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-politics/the-twitte...

[8] Hateful conduct Twitter : You may not promote violence against or directly attack or threaten other people on the basis of race, ethnicity, national origin, sexual orientation, gender, gender identity, religious affiliation, age, disability, or serious disease. We also do not allow accounts whose primary purpose is inciting harm towards others on the basis of these categories.   

[9] ข้อ 20 1. การโฆษณาชวนเชื่อใด ๆ เพื่อการสงคราม เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

            2. การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือ ศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

 

[10] Robinson Meyer. (2018). My facebook was breached by Cambridge Analytica. Was yours? Online : https://www.theatlantic.com/technology/archive/2018/04/facebook-cambridg...

[11] ปรีดี ฤกษ์วลีสกุล. (2561). สรุปประเด็นร้อน: Facebook, Cambridge Analytica และโดนัลด์ ทรัมป์ กับการละเมิดข้อมูลผู้ใช้ 50 ล้านยูสเซอร์. ออนไลน์ : https://www.beartai.com/news/itnews/228445

 

รูปภาพจาก เว็บไซต์ theatlantic.com โดย Mary Altaffer / AP

เขียนโดย นางสาว บงกช ดารารัตน์

การเมืองของกฎหมาย 100: พัฒนาชีวิตแรงงานอิสระด้วยการประกันรายได้พื้นฐาน

การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ

กฎหมายกับเทคโนโลยี 26: มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการเก็บและประมวลผลของบรรษัทเอกชนโดยมิชอบ

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั

การเมืองของกฎหมาย 99: ความเสี่ยงจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจด้านอาหารและสุขภาพ

บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข

การเมืองของกฎหมาย 98: พลเมืองเน็ตกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม

กฎหมายกับเทคโนโลยี 25: รู้ทันพิศวาสอาชญากรรม

เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”