Skip to main content

เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่   เพราะตอนไม่มีคนก็เป็นอย่างหนึ่ง พอวันนึงมีขึ้นมา เงินมันอยู่ตรงหน้าจะไม่คว้าเอาไว้ก็ใช่ที่ถ้ามันมีโอกาส  จึงต้องวางแผนให้ขาดตั้งแต่ต้นนะครับว่าจะรักษาความสัมพันธ์กันไว้อย่างไร ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเรื่องความสัมพันธ์เกี่ยวกับเงินๆทองๆไว้ละเอียดเลยครับ เพราะประวัติศาสตร์มันบอกมาเสมอว่า คนจะฆ่ากันด้วยทรัพย์สินนี่ล่ะครับ   อย่างเรื่องนี้คนที่เป็นเพื่อนรักกันก็เกือบจะต้องมาห้ำหั่นให้ตายกันไปข้างเพราะเรื่องทางธุรกิจเลยนะครับ ลองไปฟังเรื่องของน้องคนนี้เลยครับ

“เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยเยาว์วัยของหนูเอง ตอนนั้นหนูก็มีชีวิตสุขสบายแบบลูกคุณหนูคนหนึ่งซึ่งไม่ต้องทำอะไรเหนื่อยมากมายเหมือนทุกวันนี้ที่ต้องมายึดอาชีพพริตตี้เอ็มซีแนะนำสินค้า ให้เป็นเหยื่อสายตา และคำแทะโลมจากพวกเหยี่ยวกาที่มาข้องแวะ แต่หนูก็ทำอะไรไม่ได้เพราะต้องรักษามารยาทและภาพลักษณ์เอาไว้ใช้ทำงานหาเงินเรียนให้จบเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นให้ได้   โดยในตอนเด็กนั้น พ่อแม่ของหนู ประกอบธุรกิจส่วนตัว ค่อนข้างมีฐานะดี จึงเป็นที่พึ่งของญาติพี่น้องและผองเพื่อนในการกู้ยืมเงินยามขาดแคลน เพราะคิดว่ายามเรามีเราช่วยเหลือเกื้อกูลกันไว้จะได้รักใคร่ชอบพอกัน เมื่อถึงวันที่เขาลำบากคงไม่ตกยากเพราะคงมีพี่น้องในกงสี และเพื่อนๆที่ดีคอยให้ความช่วยเหลือกันแน่ๆ

แล้วก็มีเพื่อนของพ่อคนหนึ่งซึ่งมีความสนิทสนมกันมากเพราะก็เป็นเครือญาติที่เกี่ยวดองกันในฐานะคู่เขย มาขอกู้ยืมเงินเพื่อไปเข้าหุ้นส่วนกับญาติพี่น้องอีกฟากที่ก็เป็นดองกันกับพ่อเพื่อประกอบธุรกิจบางอย่างซึ่งหนูก็จำไม่ค่อยได้แล้วว่าทำอะไร แต่จำได้ว่าอยู่ๆพวกเขาก็รวยขึ้นมาในช่วงข้ามคืนจากการซื้อมาขายไปอะไรสักอย่าง และก็ไม่เห็นเขาเปิดร้านหรือโรงงานอะไรเลย เห็นมีแต่การไปพบเจอคนนั้นคนนี้ตามที่พ่อเล่าให้ฟัง แม่ก็บอกว่ามันเป็นจังหวะช่วงนี้ใครเล่นหุ้นเล่นที่ก็รวยๆกันทั้งนั้น วันนึงมีเงินเพิ่มขึ้นเป็นล้านๆก็มี   ส่วนพ่อของข้าพเจ้าเห็นเป็นเรื่องไม่เสียหายอะไรถ้าไม่ได้เอาไปทำอะไรผิดกฎหมายหรือทำบาปทำกรรม  และเชื่อใจว่าจะต้องได้เงินคืนเหมือนดังญาติพี่น้องคนอื่นๆ และเขาก็บอกว่าถ้ามีกำไรจะแบ่งให้พ่อในฐานะหุ้นส่วนเงินที่ลงไป แต่ถ้าไม่ได้กำไรจะเอาเงินมาคืนพร้อมดอกเบี้ย

ผ่านไปสักสองปี หลังที่ธุรกิจของพ่อเริ่มก้าวสู่วิกฤตภายใต้เศรษฐกิจฟองสบู่ เงินที่ใช้หมุนเวียนเริ่มขาดแคลนและหนี้สินที่กู้ยืมจากธนาคารเริ่มพอกพูนเพราะดอกเบี้ยทบต้นทบดอกอะไรสักอย่างที่พ่อบ่นกับแม่แต่หนูก็ฟังไม่เข้าใจเท่าไหร่   พ่อจึงตัดสินใจไปทวงเงินก้อนหนึ่งคืนจากเพื่อนคนนี้ แต่เค้าก็ปฏิเสธที่จะคืนเงินและอ้างว่าแน่จริงเอาหลักฐานการกู้ยืมเงินมาโชว์สิแล้วจะให้เงินคืน เพราะตอนยืมมาไม่เห็นมีอะไรมาบอกได้ว่าเขายืมไป คิดไปเองหรือเปล่าว่าให้ยืมมา ซ้ำยังบอกว่าพ่อเลอะเลือนไปแล้วแน่ๆ เพราะให้คนอื่นยืมเงินไปตั้งเยอะตั้งแยะ จำผิดจำถูกล่ะสิไม่ว่าถึงมาทวงเอากับเขา  เรื่องอะไรเขาจะต้องไปยืมเงินพ่อ ดูเขาสิตอนนี้ร่ำรวยมีเงินมีทองตั้งมากมายจะไปยืมจากพ่อมาได้อย่างไร เอาอะไรมาพูด

ด้วยความโมโหที่เพื่อนคนนี้พูดไม่ดีแถมไม่มีสัจจะ ตอนมาขอก็อ้อนวอนสารพัดแต่พอถึงเวลาที่พ่อต้องใช้เงินกลับมาผลักภาระไม่รับผิดชอบอย่างนี้   จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้นเพราะพี่คิดว่าต้องสั่งสอนให้เขารู้บ้างว่าญาติพี่น้องไม่ต้องมีสัญญา ไม่ต้องพูดเรื่องกฎหมาย แต่อยู่กันมาได้เพราะซื่อสัตย์ต่อกัน และนักเลงนั้นต้องต้องยึดมั่นในคำพูด จึงต่อยเค้าจนล้มไปแต่เขาได้ลูกเมียเข้ามาห้ามไว้จึงรอดไปเพราะพ่อสงสารไม่อยากทำให้ลูกเมียเขาตื่นตกใจมากไปกว่านี้   แต่เรื่องทวีความรุนแรงมากขึ้นเพราะเขาเอาเรื่องราวไปเล่าแบบผิดๆ จนให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ญาติพี่น้องจนต้องทะเลาะกันไปมาหาข้อยุติไม่ได้  สุดท้ายสายสัมพันธ์ทางธุรกิจในกงสีตระกูลแซ่ของเราก็แตกสลาย  ต่างคนต่างอยู่แยกจากกัน ไม่เห็นหัวกันอีกต่อไป ใครมีเรื่องอะไรก็แก้กันเอง ไม่มีการไปมาหาสู่เหมือนเมื่ออยู่กันแบบตระกูลใหญ่อีกต่อไป

พ่อถูกฟ้องร้องข้อหาทำร้ายร่างกายและบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัย แล้วเงินที่เสียไปก็ไม่ได้คืน แถมยังต้องเสียค่าปรับอีกต่างหากจะร้องเรียนกับใครก็ไม่ได้ เพราะเป็นความสับเพล่าของตัวท่านเอง เหตุการณ์ในครั้งนี้จึงฝังใจข้าพเจ้าและครอบครัวเป็นอย่างมาก  แต่ถึงแม้ในเหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้พ่อต้องเสียเงินไปจำนวนมาก เสียคนสนิทที่เป็นทั้งญาติทั้งเพื่อน เสียใจ รวมทั้งต้องเสียธุรกิจอันเป็นที่รักไป และเราก็ไม่ได้ข้องแวะกับญาติคนอื่นที่ไม่เข้าใจเราอีกต่อไป แต่ยังคงไว้ซึ่งความเข้าใจในครอบครัวเล็กๆของเรา 

หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นผ่านพ้นไปพ่อก็กลายเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบ สนใจกฎหมายต่างๆ มากขึ้นเพราะต้องการที่จะนำความรู้เรื่องกฎหมายต่างๆมาเป็นเกราะป้องกันจากผู้ที่ไม่หวังดี  เหตุการณ์ร้ายๆนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีกเพราะบิดาของข้าพเจ้าได้ตระหนักดีแล้วว่าการรู้แต่ไม่นำมาใช้นั้นส่งผลร้ายเช่นไร”

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การให้กู้ยืมเงินจะต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันหนี้ และนำมาบังคับชำระหนี้หรือไม่

2.             การตกลงเป็นหุ้นส่วนกันจะต้องทำเป็นหนังสือเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ด้วยหรือไม่

3.             หากไม่มีหลักฐานสัญญาใดๆ จะมีวิธีการอื่นใดในการเรียกร้องให้เขารับผิดและชดใช้เงินหรือไม่

4.             การเข้าไปทวงหนี้ด้วยการไปตามทวงถึงที่บ้านถือเป็นการบุกรุกหรือไม่

5.             การใช้กำลังทำร้ายร่างกายเพื่อสั่งสอนคนที่ผิดสัจจะ หรือญาติพี่น้อง เป็นการกระทำที่กฎหมายอนุญาตหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การให้กู้ยืมเงินจำนวนมากจะต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรลงลายมือของฝ่ายที่เป็นผู้กู้ยืมเพื่อยืนยันหนี้ จึงจะสามารถนำมาบังคับชำระหนี้ได้

2.             การตกลงเป็นหุ้นส่วนกันจะต้องทำเป็นหนังสือเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากต้องมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วน เพื่อนำมายืนยันในการบังคับตามที่ตกลงกันไว้

3.             หากไม่มีหลักฐานสัญญาใดๆ อาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงเพื่อให้รับผิดตามกฎหมายอาญา และอาจนำไปสู่การเรียกร้องให้เขารับผิดและชดใช้เงินได้ แต่การนำสืบเราจะต้องพยายามหาหลักฐานต่างๆมายืนยัน เช่น พยานบุคคล ซึ่งไม่ง่ายที่ศาลจะรับฟัง

4.             การเข้าไปทวงหนี้ด้วยการไปตามทวงถึงที่บ้านถือเป็นการบุกรุกหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ และอาจมีเหตุเพิ่มโทษหากเข้าไปในยามวิกาล

5.             การใช้กำลังทำร้ายร่างกายเพื่อสั่งสอนคนที่ผิดสัจจะ หรือญาติพี่น้อง เป็นการกระทำผิดกฎหมายเพราะไม่ใช่การป้องกันตัว หรือกระทำโดยจำเป็น  แต่อาจได้รับการลดโทษหากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุบันดาลโทสะที่ถูกกระทำเหยียดหยามจากเหตุอันไม่เป็นธรรมยิ่ง ซึ่งกรณีนี้ศาลอาจเห็นว่ายังไม่มากพอก็ได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เรื่องหนี้สินในทางแพ่งและพาณิชย์ เจ้าหนี้จะต้องติดตามไถ่ถามเพื่อทวงหนี้เสียก่อน

2.             หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลแพ่งฯได้

3.             หากไม่มีหนังสือสัญญา จะฟ้องฉ้อโกงจะต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากตำรวจไม่สั่งฟ้องเพราะหลักฐานไม่พอ ก็อาจแต่งทนายขึ้นฟ้องโดยรวบรวมพยานเองก็ได้ โดยฟ้องศาลอาญา

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วน สัญญากู้ยืม และการบังคับชำระหนี้ หรือความผิดฐานฉ้อโกง  รวมถึงความผิดฐานทำร้ายร่างกายและบุกรุก   ซึ่งพ่ออาจฟ้องให้มีการชำระหนี้ด้วยการหาหลักฐานเอกสาร หากไม่มีอาจเปลี่ยนเป็นการฟ้องอาญาฐานฉ้อโกง และให้มีการนำสืบพยานหลักฐานต่างๆที่พอจะหามาได้เพื่อบังคับตามสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนเพื่อแบ่งปันผลประกอบการตามที่ตกลงไว้   ส่วนวิธีการบังคับชำระหนี้ด้วยการบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่นและทำร้ายร่างกายถือเป็นวิธีการที่ไม่ชอบและต้องรับผิดทางอาญาด้วย


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว