Skip to main content

ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถูกพอไปซื้อหรือใช้บริการกลับมีเงื่อนไขต่างๆจนราคาแพงเท่ากับร้านอื่น ไอ้เราก็เสียเวลาเสียค่าเดินทางไปแล้วด้วยจะถอยก็ใช่ที่   แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรมากนักเพราะตอนเจอเหตุการณ์ก็โกรธอยู่ แต่พอมาคิดดูว่าจะฟ้อง จะร้องเรียนอะไรก็เสียเวลาเสียอารมณ์ไหนจะต้องทำงานอะไรอีกมากมาย จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน   ก็ลองมาดูกันนะครับว่าถ้าเกิดเรื่องเหล่านี้จะทำอย่างไรได้บ้าง

มีพี่คนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าตอนไปเที่ยวต่างจังหวัดช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งคนก็จะเฮกันออกไปรับลมหนาวตามต่างจังหวัด   ซึ่งพี่เค้าก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวกับคนอื่นเพราะทำงานประจำสำนักงาน ถ้าไม่ใช่ช่วงเทศกาลแล้วนั้นก็ต้องใช้เวลาทำงาน  มาเที่ยวสวนทางแบบคนทำงานอิสระไม่ได้   ระหว่างทางที่กำลังขับรถไปยังรีสอร์ตเป้าหมายที่จองไว้ก็รู้สึกหิวกันแล้วเพราะเป็นช่วงเที่ยงสูตรของพี่เค้าคือ ถ้าร้านไหนมีรถจอดเยอะให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะอร่อย พอขับผ่านไปที่ร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดก็เห็นรถจอดเรียงรายเต็มหน้าร้าน ก็คิดว่าน่าจะใช้ได้อยู่แม้รถจะเป็นทะเบียนกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆไม่ใช่ทะเบียนจังหวัดท้องถิ่น อาหารคงไม่แย่มากควรลงไปลองชิมดู 

พอเข้าไปนั่งและเลือกว่าจะสั่งอะไรกลับพบว่าในรายการอาหารไม่ได้กำกับราคาอาหารเอาไว้ให้ลูกค้าทราบ ว่าอาหารแต่ละอย่างมีราคาเท่าไร ด้วยความหิวของคนทั้งครอบครัวและต้องรีบเดินทางต่อด้วยจึงได้สั่งอาหารรับประทานตามปกติโดยที่ไม่ได้สอบถามเรื่องราคาอาหารแต่อย่างใด เมื่อทานเสร็จทางร้านก็มาคิดราคาอาหารซึ่งค่าอาหารมีราคาที่แพงเกินกว่าปกติอย่างมาก เมื่อพี่เค้าไปทักท้วงแก่เจ้าของร้านก็ได้รับคำตอบว่าราคาอาหารปกติและช่วงนี้คนมาเที่ยวเยอะของหมดบ่อยต้องสั่งให้มาส่งเป็นพิเศษ คนส่งของเลยคิดค่าส่งแพงเพราะต้องจ้างคนขับรถส่งของราคาพิเศษในวันหยุดอีก ลูกจ้างในร้านก็มาทำงานวันหยุดเสียเงินจ้างเพิ่มอีกเยอะแยะ แล้วนี่ก็กินหมดเกลี้ยงเลยราคาก็สมกับความอร่อยแล้วนี่ ถ้ากลัวไม่มีเงินจ่ายทำไมไม่สอบถามราคาตั้งแต่แรก เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นพี่คนดังกล่าวจึงจำใจจ่ายค่าอาหารที่แพงมากเมื่อเทียบกับอาหารที่สั่ง เพราะต้องไปต่ออีกไกลและใกล้จะมืดค่ำแล้วทางขึ้นเขาไปรีสอร์ตจะอันตราย และไม่อยากเสียอารมณ์ความรู้สึกในการมาเที่ยวช่วงเทศกาล

การพักผ่อนอีกแบบที่เรานิยมก็คือไปเดินห้าง กินข้าว และดูหนังใช่ไหมครับ ยิ่งตอนจีบกันใหม่นี่เสียเงินกันไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะในเมืองใหญ่จะเดินทางไปไหนหลายแห่งก็เหนื่อย ไปห้างทีเดียวได้ทำครบทุกอย่างเลย ก็เห็นทุกคนมีแฟนกันด้วยกิจกรรมแบบนี้กันเกือบทั้งนั้น และไหนจะต้องหากิจกรรมทำร่วมกันซึ่งพอเริ่มทำงานแล้วก็เห็นจะเป็นการดูหนังนี่ล่ะครับที่สะดวกดีที่จะได้ใช้เวลาอยู่กับคนที่เรารัก   แต่หลังๆมีคนบ่นกันมากว่า ตั๋วหนังและค่าอาหาร-เครื่องดื่มในโรงหนังแพงเกินจริง เป็นการค้ากำไรเกินควรแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้โรงหนังใหญ่ๆก็มีไม่กี่ยี่ห้อและสืบทราบมาว่าอยู่ในเครือใหญ่ๆไม่เกินสามเจ้าในประเทศไทย ซึ่งน่าจะเป็นการกำหนดราคาแพงเพราะเค้าผูกขาดตลาดกันไม่กี่เจ้า และตั้งราคาให้พอๆกันจนผู้บริโภคไม่ค่อยมีทางเลือก  ลูกค้าจำนวนมากเห็นว่าผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์มีการคิดค่าบัตรและราคาสินค้าสูงเกินจริง  

พอไปร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ ก็ได้คำตอบมาตรฐานว่า “หากกำหนดราคาที่เหมาะสม มีการปิดป้ายแสดงราคาชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกฎหมายเข้าไปดูแลเพราะเป็นบริการทางเลือก แต่หากกำหนดราคาสูงเกินความเป็นจริงมากจนมีการร้องเรียนเข้ามามาก ก็สามารถใช้กฎหมายจัดการได้”  ส่วนตัวแทนของผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ก็อ้างว่าการกำหนดราคาตั๋วชมภาพยนตร์แพง เนื่องจากเจ้าของค่ายหนังคิดค่าลิขสิทธิ์แพงทำให้ต้องกำหนดราคาตั๋วแพงตามไปด้วย ส่วนการขายข้าวโพดคั่วหรือป็อปคอร์นแพงเพราะเป็นข้าวโพดนำเข้าจากต่างประเทศ และการไม่อนุญาตให้นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปในโรงหนังก็เหมือนกับร้านอาหารที่มีกฎไม่ให้ลูกค้าเอาอาหารจากที่อื่นเข้ามารับประทานในร้าน

จนสมาคมคนดูหนังได้รวมตัวกันทำข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคว่ามีการกำหนดราคาตั๋วชมภาพยนตร์แพงเกินจริง และมีการขายเครื่องดื่มและของขบเคี้ยวเกินราคามาก

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การเปิดร้านขายอาหารเครื่องดื่ม หรือให้บริการทั้งหลาย ต้องติดป้ายราคาบอกให้ลูกค้าทราบหรือไม่

2.             หากร้านไม่ติดราคาสินค้าและบริการแล้วมีการเรียกเก็บค่าสินค้า บริการที่แพงเกินปกติมากๆ จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

3.             การไปรับชมภาพยนตร์หรือการแสดงต่างๆ ผู้ให้บริการจะต้องมีการแจ้งราคาและโปรโมชั่นต่างๆ พร้อมรายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิหรือไม่

4.             บริษัทห้างร้านผู้ให้บริการที่มีอำนาจเหนือตลาดสามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการได้ตามอำเภอใจหรือไม่

5.             ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้บริษัทห้างร้านที่ขายสินค้าให้บริการได้หรือไม่ หรือต้องร้องเรียนกับหน่วยงานใดให้แก้ไขปัญหา

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การขายสินค้าและบริการทั้งหลายจะต้องมีการติดราคาอย่างชัดเจนพร้อมรายละเอียดพอสังเขปเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจ หากไม่ทำจะมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการค้าภายใน

2.             หากห้างร้านไม่แก้ไข หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องเรียนได้ มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาล รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

3.             ผู้ให้บริการแสดงมหรสพจะมีหน้าที่ติดประกาศราคาชมภาพยนตร์แต่ละเรื่องแต่ละรอบให้ชัดเจน

4.             หากกำหนดราคาที่เหมาะสม มีการปิดป้ายแสดงราคาชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกฎหมายเข้าไปดูแลเพราะเป็นบริการทางเลือก  แต่หากกำหนดราคาสูงเกินความเป็นจริงมากจนมีการร้องเรียนเข้ามามาก ก็สามารถใช้กฎหมายจัดการดูแลให้เหมาะสมได้ 

5.             โดยเรื่องการปรับราคาให้เหมาะสมนั้นอาจเสนอให้กรมการค้าภายในศึกษาโครงสร้างต้นทุนบัตรชมภาพยนตร์ และราคาอาหาร-เครื่องดื่มที่ขายในโรงภาพยนตร์นั้น เสนอคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มี รมว.พาณิชย์เป็นประธานพิจารณา หาก กกร.เห็นชอบให้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์เข้ามาอยู่ในบัญชีบริการควบคุม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เรื่องค้ากำไรเกินควร ไม่ติดป้ายราคา ฯลฯ สามารถแจ้งต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ ได้

2.             หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้ มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

3.             เรื่องการกำหนดราคาแพงเกินจริงสามารถร้องเรียนไปยัง สคบ. หรือ คณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและควบคุมต่อไปได้

สรุปแนวทางแก้ไข

การค้ากำไรเกินควรจากการไม่ติดราคาใช้หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายควบคุมราคาสินค้าในส่วนของกฎหมายการค้าภายใน   โดยร้านค้าต้องกำหนดราคาสินค้าเพื่อผู้บริโภครับรู้ล่วงหน้าก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้อาจแจ้งให้กรมการค้าภายใน หรือสคบ. รับไปดำเนินการต่อไป  ส่วนการกำหนดราคาสินค้าและบริการแพงเกินจริงสามารถร้องเรียนไปยัง สคบ. หรือ คณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อให้ศึกษาโครงสร้างต้นทุนและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและควบคุมต่อไป

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า