Skip to main content

หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง! เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่รับชำระหนี้ด้วยระบบเงินเชื่อโดยการออกกระดาษใบหนึ่งซึ่งเราก็อาจต้องลุ้นกันว่าเมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามที่ระบุในเช็คแล้ว ผู้สั่งจ่ายจะมีเงินพอให้เราเรียกชำระหนี้หรือไม่   ไอ้จะไม่รับเช็คก็ยากอยู่นะครับสำหรับการทำธุรกิจที่ต้องหมุนเงินกันขนานใหญ่ บางเจ้าเขียนเช็คกันครั้งละเป็นล้าน ไหนจะธุรกิจซื้อขายของราคาสูงๆอย่างที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จำต้องรับเช็คมาเพราะบางทีก็ตกลงว่าจะมีการชำระหนี้กันเป็นงวดๆ เพื่อความสะดวกก็จ่ายเช็คล่วงหน้า โดยลงวันสั่งจ่ายกันตามกำหนดชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้   แต่หากกลายเป็นว่าเงินไม่พอจ่ายจะทำอย่างไร คนขายที่ถือเช็คไว้จะทำให้เกิดการชำระหนี้อย่างไรได้บ้าง ไปติดตามในเรื่องนี้กันได้เลยครับ

“แม่ของข้าพเจ้าเปิดธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถมอเตอร์ไซค์ในอำเภอหนึ่งซึ่งอยู่ไกลจากอำเภอเมืองออกไป   โดยธุรกิจของเราก็ไม่ได้ใหญ่อะไรมาก แม่ก็จะหาสินค้าที่คิดว่ากำลังเป็นที่นิยมของคนแถวนั้นมาขายต่อ โดยรับสินค้ามาจากตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ในจังหวัดอีกต่อหนึ่งซึ่งเขาก็ขายราเกือบเท่าทุนให้เพราะเหมือนกับว่าเราเป็นตัวแทนเขาขายในต่างอำเภอเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายของเขาอีกที เห็นแม่ว่าเจ้าของกิจการรายนี้มักจะได้ไปเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นอยู่บ่อยๆเพราะได้ยอดจำหน่ายทะลุเป้า แต่เขาก็ดีกับเราเพราะไม่มาแย่งขายในอำเภอนี้ แต่นึกอีกทีเขาคงไม่อยากมามีปัญหาแบบที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟังด้วยมั้งครับ  เพราะคนที่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้าในอำเภอรอบนอกส่วนใหญ่จะมีฐานะดีมีพรรคพวกเป็นคนมีอิทธิพลในพื้นที่หรือเจ้าหน้าที่รัฐครับ   ซึ่งปกติแม่จะกลัวเรื่องคนมาซื้อเชื่อแล้วไม่จ่ายเงินมากจะต้องบอกไว้ก่อนว่าจะรับซื้อเฉพาะเงินสดเป็นหลัก นานๆครั้งถึงจะรับเช็คถ้าลูกค้ามาซื้อหลายชิ้นและมีคนมาค้ำประกันจริงๆ

จนเมื่อมีลูกค้าคนหนึ่งซึ่งจะมาซื้อของกันเป็นประจำได้มาสั่งของจำนวนมากโดยบอกว่าขอจ่ายเงินเป็นเช็คเพราะว่ายังต้องใช้เงินในการสร้างโรงงานและบ้านพักคนงานยังไม่มีเงินสด แต่ก็เห็นกันอยู่ว่าลูกค้าคนนี้กำลังจะเปิดโรงงานจึงมาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าโรงงานและซื้อมอเตอร์ไซค์เข้าไว้ใช้งานเพิ่มเติม แม่ก็สองจิตสองใจเพราะของที่ซื้อไปมีราคารวมกันสองสามแสนบาท แต่เห็นว่าถ้าไม่ขายก็จะเสียโอกาสมากเหมือนกัน และโดยความเชื่อใจเพราะเขาเป็นลูกค้าที่เคยสั่งของหลายครั้งแม่จึงยอมรับเช็คไว้โดยสั่งจ่ายในอีกสิบห้าวัน เพราะเขาบอกว่าตอนนั้นโรงงานน่าจะเรียบร้อยหมดแล้ว และมีเงินหมุนเวียนพอจะจ่ายได้

พอถึงวันสั่งจ่ายแม่ก็รีบเอาเช็คไปขึ้นเงินกับทางธนาคารแต่ปรากฏว่าเช็คนำไปขึ้นเงินไม่ได้เพราะทางธนาคารแจ้งว่ามีเงินในบัญชีไม่พอกับจำนวนเงินสั่งจ่ายในเช็ค   แม่ตกใจมากจึงได้รีบติดต่อกลับไปหาลูกค้ารายนี้ทันที เขาก็ทำไม่รู้เรื่องและไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แม่พยายามไปพูดคุยเขาก็หลบหน้าไม่มาเจอ มีแต่ลูกน้องที่โรงงานเป็นชายฉกรรจ์หลายคนดักรออยู่ ส่วนเจ้าตัวหายหัวไปไหนแล้วก็ไม่รู้

แม่เห็นท่าจะไม่ดีเสียแล้วจึงไปแจ้งความกับตำรวจที่สถานีในท้องที่ ซึ่งตำรวจซึ่งรับเรื่องก็บอกว่าช่วยอะไรไม่ได้เพราะนี้มันเรื่องเงินๆทองๆให้ไปฟ้องเอาที่ศาลแพ่งฯเอาเอง ไปจ้างทนายฟ้องซะไม่ใช่เรื่องของตำรวจ ไม่ใช่คดีอาญา แม่ก็งงไปเหมือนกันว่าจะทำอย่างไรต่อไปเพราะที่บ้านก็ไม่เคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน จึงต้องกลับไปคิดดูดีๆก่อน และพยายามหาข่าวคราวเกี่ยวกับลูกค้าคนนี้แต่มาติดตรงที่จะทำอะไรกับเขาก็ไม่ได้ง่ายๆ เพราะลูกค้ารายนี้เป็นน้องชายตำรวจนั่นเอง เราเลยเข้าใจแล้วว่าทำไมตำรวจในท้องที่ไม่คิดจะทำอะไรให้   ทำให้แม่ต้องเสียสินค้าไปฟรีๆ และไม่ได้เงินจากสินค้าโดยขอให้ตำรวจช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย 

จากสถานการณ์ในครั้งนั้นทำให้เห็นว่าเราไม่ควรจะไว้ใจใครง่ายๆ  ยิ่งธุรกิจแล้วยิ่งต้องรอบคอบ พยายามหลีกเลี่ยงการรับเช็ค เพราะไม่มีความแน่นอนแม้รู้จักกันมานาน ซึ่งคนโกงก็ยังลอยนวลซึ่งถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เตือนใจเรา”  

ครับ ความไว้ใจในเรื่องเงินๆทองๆไม่ใช่จะมีได้กับทุกคนทุกกรณีนะครับ นี่ขนาดลูกค้าประจำที่เห็นหน้าค่าตามีธุรกิจการค้ากันมานาน เห็นเขามีกิจการเป็นหลักแหล่งก็ยังไม่วายถูกชักดาบ พอไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานก็โดนตอกกลับมาด้วยข้อมูลเท็จอีก   ชีวิตคนทำมาหากินธรรมดาไม่ง่ายเลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.              หากมีคนนำเช็คมาสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แต่เมื่อถึงกำหนดกลับไม่มีเงินในการชำระหนี้ จะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่

2.              ใครจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้น และจะทำอย่างไรกับสินค้าที่เขานำไปใช้แล้ว

3.              หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับเช็ค และการไม่ยอมชำระหนี้ ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่หนีหนี้และจ่ายเช็คเด้ง

4.              ประชาชนผู้เป็นผู้ทรงอำนาจในการเรียกให้จ่ายเงินตามเช็คควรดำเนินการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

5.              ประชาชนผู้เสียหายต้องทำอย่างไรให้เจ้าพนักงานจัดการคดี การไม่รับแจ้งความและให้ข้อมูลเท็จเป็นความผิดรึเปล่า

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              หากมีคนนำเช็คมาใช้จ่ายโดยที่เขาไม่มีเงินพอชำระหนี้ จะเป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากมิได้เกิดการชำระหนี้ตามเช็ค และต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำนั้นด้วย

2.              ผู้ที่นำเช็คมาจ่ายและได้สินค้าไปจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้นบวกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระหนี้ หากไม่มีเงินสามารถนำสินค้าคืนและเรียกค่าเสียหายบวกดอกเบี้ยจากวันที่นำสินค้าไปใช้ได้

3.              หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับเช็คเด้ง สถาบันการเงินผู้ออกเช็คให้ใช้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำเช็คมาชำระหนี้โดยไม่มีเงินพอจ่ายร่วมกับผู้ทรงเช็คด้วย  และเหตุการณ์เกิดในพื้นที่ไหนหรือลูกหนี้อยู่ในพื้นที่ไหนก็สามารถไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ติดตามได้

4.              ประชาชนผู้เป็นเจ้าหนี้สามารร้องดำเนินการติดตามทวงหนี้ได้ทันทีเมื่อครบกำหนด และแจ้งความคดีจ่ายเช็คเด้งและหนีหนี้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากไม่ได้รับการชำระหนี้จากผู้สั่งจ่ายเช็ค เจ้าหนี้ที่เป็นห้างร้านก็อาจร้อง สคบ. ได้เพิ่มเติมอีกด้วย (เป็นความพิสดารของกฎหมายวิธิพิจารณาคดีผู้บริโภคไทย ซึ่งต่างไปจากประเทศไหนๆในโลก)

5.              ประชาชนผู้เสียหายสามารถแต่งทนายขึ้นฟ้องบังคับคดีอาญาและแพ่งฯได้เอง  แต่อย่างไรก็ดีสามารถแจ้งความให้เจ้าพนักงานจัดการคดีเนื่องจากเป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการบริการประชาชนอยู่แล้ว การเพิกเฉยและให้ข้อมูลเท็จเป็นความผิดทางวินัยและอาญาอย่างร้ายแรง

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              เมื่อเกิดเหตุการณ์ให้ติดต่อลูกหนี้ผู้ออกเช็ค และประสานงานกับธนาคารเพื่อติดตามผู้สั่งจ่ายเช็คเด้งทันที

2.              เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สั่งจ่ายเช็คเด้งที่สถานีตำรวจใกล้บ้านหรือเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ

3.              หากสถาบันการเงินไม่ให้การดูแลสามารถร้องเรียน สคบ. หรือธนาคารแห่งประเทศไทยมาดูควบคุมแลหรืออกกฎมาเพิ่มเติมได้ ผู้ทรงเช็คในฐานะเจ้าหนี้การขายสินค้าให้ผู้บริโภคอาจร้องได้

4.              คดีนี้มีความพิสดารในทางกระบวนพิจารณา คือ เจ้าหน้าที่ผู้เป็นเจ้าของกิจการสามารถฟ้องผู้บริโภคได้ในศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภค

5.              การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชา หรือร้องเรียนไปยัง ปปช.

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายการชำระหนี้ต้องกระทำโดยสุจริตและความผิดเกี่ยวกับการหนีหนี้ทางอาญา   ซึ่งกรณีนี้เป็นการจ่ายเช็คเด้งซึ่งเป็นความผิดทางอาญาแจ้งความต่อตำรวจได้ และยังเป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะต้องหาเงินมาชำระหนี้ให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ด้วย โดยอาจแต่งทนายขึ้นฟ้องเองด้วยก็ได้   แต่หากเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตสามารถร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาและร้อง ปปช. เพื่อให้รับผิดทางวินัยและอาญาได้

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว