Skip to main content

เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมายแพ่งฯ ที่ไม่ควรเอาตัวเข้าไปเสี่ยงเป็นอันขาดหากไม่สามารถจัดการได้จริงๆ เมื่อถึงคราวซวย นั่นคือ การเข้าเป็นนายประกันให้กับคนอื่น เพราะตามกฎหมายแพ่งฯได้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่รับผิดต่อเจ้าหนี้เสมือนเป็นลูกหนี้เสียเอง  หากเจ้าหนี้ตามลูกหนี้ไม่ได้นายประกันต้องชดใช้หนี้จนถึงขั้นล้มละลายได้เลย   แถมยังมีต้องติดตามไล่เบี้ยความเสียหายเอาจากผู้หนีหนี้เสียด้วย   ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆเลยครับที่จะเป็นนายประกัน   ดูเรื่องนี้ครับจะเห็นว่าคนรู้จักใกล้ชิดยังทำกันได้

“แม่ข้าพเจ้าได้รู้จักและสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นรุ่นน้อง ด้วยเหตุที่สนิทกันมานาน เพื่อนแม่จึงมาขอให้เป็นผู้ค้ำประกันเพื่อจะซื้อรถยนต์มูลค่าประมาณ 6 แสนบาท ซึ่งแม่ก็ไม่ได้พูดหรือปรึกษาหารือใดๆกับคนในบ้านเลย   แม่ก็ได้รับปากเป็นผู้ช่วยเหลือและค้ำประกันการซื้อรถให้กับเพื่อนร่วมงานคนนี้ไป จนเขาได้ออกรถใหม่มาใช้ในครอบครัวโดยให้สามีเป็นคนขับขี่เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยบอกว่าหลังๆนี่สบายใจเพราะสามีเอาอกเอาใจขอขับรถไปรับไปส่ง ไม่ต้องเหนื่อยขับรถเองอีกต่อไป   หลังจากได้รถคันนี้มาจึงกลายเป็นว่ามีความสุขในครอบครัวมากขึ้นเป็นกอง 

ต่อมาวันหนึ่งสามีของเพื่อนแม่คนนี้ก็หนีหายไปแต่ไม่ได้ไปตัวเปล่าเพราะเขาเอารถยนต์คันนี้ไปด้วย   เพื่อนคนนี้ก็พยายามติดตามหาตัวกลับมาแต่ก็ไม่เจอ   ตอนแรกๆก็เป็นการติดตามสามีกลับมาอยู่กินกันต่อไป มีวิธีการติดตามหลายอย่าง ทั้งไปตามหาเอากับญาติด้วยตัวเอง สอบถามบริษัทโทรศัพท์ให้ช่วยติดตามสัญญาณ เรื่อยไปจนถึงวิธีคนทรงเจ้าเข้าผี หรือไปหาพระเพื่อดูดวงให้ว่าสามีไปไหนจะกลับมาอยู่ด้วยกันหรือไม่  จนสุดท้ายก็ไม่มีท่าทีว่าจะได้เจอกันอีกแล้ว  จึงตัดสินใจว่าจะรับผิดชอบเรื่องรถยนต์คันนี้กันอย่างไร เพราะหาตัวสามีเท่าไหร่ก็ไม่เจอ  รถยนต์ก็สรุปได้ว่าสามีคงขโมยรถที่ซื้อนี้ไปไม่เอามาคืนด้วยแน่ๆ ความซวยจึงตกอยู่กับเพื่อนแม่และแม่เพราะว่ายังผ่อนได้ไม่ถึงปีมีหนี้สินรออยู่ก้อนโต เพื่อนแม่จึงมาบอกแม่และขอคำปรึกษาอยู่บ่อยๆ

แม่จึงพาเพื่อนคนนี้ไปแจ้งความกับตำรวจเพื่อติดตามรถยนต์กลับคืนมา ตำรวจกลับบอกว่ากรณีนี้ไม่ถือเป็นการขโมยเพราะไม่เห็นตัวคนขโมย  และไม่ยอมให้เราแจ้งความ ดังนั้นแม่กับเพื่อนแม่ก็ต้องชดใช้เงินให้กับทางร้านที่ซื้อรถมาโดยที่รุ่นน้องแม่ก็พยายามตามหาสามีต่อไปด้วย เรื่องนี้ทำให้ทางบ้านข้าพเจ้าเกิดการทะเลาะกันขึ้น  เพราะพ่อโมโหที่แม่ทำอะไรหลับหลังไม่ปรึกษากันก่อน เรื่องเงินๆทองๆของครอบครัวคนอื่นเข้าไปยุ่งทำไม สุดท้ายก็โดนผู้ชายเลวๆหลอกให้เสียใจแถมเสียเงินอีกตะหาก ไม่อายขี้ปากชาวบ้านเหรอที่เขาด่าเพื่อนแม่ แล้วบางคนยังนินทามาถึงแม่ว่าไปค้ำประกันให้ หรือมีความในอื่นๆกับผู้ชายคนนั้น   ทำให้ครอบครัวเราไม่เป็นอันกินอันนอนกันไปหลายวันเลยทีเดียว

และในที่สุดก็หาตัวสามีเพื่อนร่วมงานของแม่ได้  เราพบว่า เขาได้มีการเอารถไปขายที่ด่านชายแดนกัมพูชา และก็หายตัวไปจนเมื่อหมดเนื้อหมดตัวกระเสาะกระแสะกลับมาขอให้เพื่อนแม่ช่วยเหลือจึงได้เจอตัว ซึ่งที่เราแปลกใจกันมากคือเพื่อนแม่ก็เห็นใจและรับเขากลับมาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่กลายเป็นครอบครัวเราที่ต้องเดือดร้อนทั้งเรื่องเงินค่ารถที่ต้องออกให้ก่อน แถมยังมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งและเป็นขี้ปากชาวบ้านอีก  

ตอนนี้รุ่นน้องแม่ก็ได้ผ่อนเงินค่ารถที่อดีตสามีได้นำไปขายและขอบคุณแม่ข้าพเจ้าที่ให้การช่วยเหลือ เรื่องนี้ทำให้เป็นบทเรียนกับครอบครัวเราว่าจะทำการใดก็ต้องปรึกษากัน ถึงแม้จะเป็นเพื่อนหรือญาติสนิทกันแค่ไหนหรือไม่ก็ไม่ควรจะไว้ใจ เราต้องรอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไปเพราะอาจส่งผลกระทบที่ตามมา และเพราะในตอนนั้นข้าพเจ้าก็ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายเพียงพอที่จะรู้เรื่องราวในการฟ้องร้องหรือเรียกสิทธิใดๆ”

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การเป็นนายประกันต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ แม่มีสิทธิและหน้าที่อย่างไรกับเจ้าหนี้ และลูกหนี้ที่เราไปค้ำประกันบ้าง

2.              หากสามีขโมยรถของภรรยาไปสามารถฟ้องร้องหรือแจ้งความกับตำรวจให้ติดตามรถยนต์คืนมาได้หรือไม่

3.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแม่ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ชดใช้กันอย่างไร

4.              แม่ซึ่งเป็นนายประกันจะติดตามไล่เบี้ยความเสียหายได้อย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การเป็นนายประกันต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเสียหายกับเจ้าหนี้ แม่มีสิทธิและหน้าที่กับเจ้าหนี้เสมือนว่าแม่เป็นลูกหนี้เสียเอง และมีสิทธิในการติดตามและไล่เบี้ยเอาจากเพื่อนที่เป็นลูกหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้

2.              หากสามีขโมยรถของภรรยาไป ภรรยาไม่สามารถแจ้งความกับตำรวจให้ติดตามรถยนต์คืนมาได้เพราะถือเป็นบุคคลเดียวกัน สามีกระทำกับทรัพย์ของภรรยาเสมือนทำกับทรัพย์ของตนเอง  แต่หากจะมีการฟ้องร้องเพื่อหย่าร้างอาจติดตามสามีและทรัพย์ได้โดยการฟ้องแพ่งเพื่อติดตามสินสมรสที่ครอบครองร่วมกันมาฟ้องร้องแบ่งกันตามกฎหมาย   แต่แม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้เพราะเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกับบริษัทที่ขายรถ โดยคดีลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์แจ้งความได้ แม้ไม่เห็นผู้ขโมยหรือยักยอกทรัพย์ไป

3.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับนายประกัน ลูกหนี้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยชดใช้ตามจำนวนหนี้ที่แม่ได้ชำระให้กับเจ้าหนี้คนแรก  บวกด้วยดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่นายประกันชำระหนี้แทนให้

4.              แม่ซึ่งเป็นนายประกันจะติดตามไล่เบี้ยความเสียหายได้โดยการติดตามทวงหนี้และฟ้องบังคับคดีทางแพ่งฯ  แต่อาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นก็ได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              การติดตามทวงหนี้ของเจ้าของรถเป็นการใช้สิทธิธรรมดา การต่อสู้คดีทั้งหมดในเรื่องชดใช้หนี้หรือชดเชยความเสียหายจะเป็นคดีแพ่ง ที่ต่อสู้กันในศาลแพ่งฯ

2.              หากมีการปัดความรับผิดชอบจนกลายเป็นคดีลักทรัพย์/ยักยอกทรัพย์ จะกลายเป็นคดีอาญาที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีการแจ้งความดำเนินคดีโดยตำรวจแล้วอัยการสั่งฟ้องหรือบริษัทส่งฟ้องศาลอาญา

3.              เรื่องในครอบครัวจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งฯ

4.              การไล่เบี้ยของนายประกันหากลูกหนี้บิดพลิ้ว ต้องฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อให้มีคำพิพากษาและบังคับคดีกันโดยเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักนายประกันในทางแพ่ง หลักทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาเป็นสินสมรสต้องรับผิดและชอบร่วมกัน  และเรื่องความผิดต่อทรัพย์ในทางอาญา ซึ่งกรณีนี้นายประกันตกอยู่ในฐานะผู้รับภาระชำระหนี้รถ หากผู้ซื้อไม่สามารถชำระหนี้ได้ ส่วนคดีอาญาตำรวจต้องรับแจ้งความเพราะไม่จำเป็นต้องเห็นตัวผู้กระทำผิด ซึ่งภรรยาของผู้ที่เอารถไปต้องรับภาระชดใช้หนี้ต่อไปหากรถหาย แต่เจ้าหนี้อาจฟ้องนายประกันก่อน แล้วนายประกันไปไล่เบี้ยจากลูกหนี้ต่อได้

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว