Skip to main content

ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมุ่งเสาะแสวงหาผู้ที่คิดต่างกับรัฐเพื่อปราบปรามโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่รุนแรง  แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนองค์ความรู้อย่างรอบด้านในการธำรงความมั่นคงและสงบเรียบร้อยในโลกไซเบอร์ โดยส่งเสริมความก้าวหน้าของตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลไปในคราวเดียวกัน  

จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม "ความรู้" ที่มุ่งสู่การส่งเสริมความเบ่งบานของโครงการไทยแลนด์ 4.0 บนพื้นฐานของการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้คนหลากหลายในสังคม   การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่พึงระลึกเสมอว่า เป้าหมายของมันคือ การรักษาสิทธิของพลเมืองเน็ตทั้งหลายให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงามทางความคิดจินตนาการ  มิใช่ควบคุมให้อยู่ในกระถางบอนไซเล็กๆที่ล้อมกรอบไว้   เพราะการแข่งขันในตลาดโลกสูง ความคิดที่สดใหม่ ไร้กรอบเท่านั้นที่จะทะลุปล้องไปแข่งขันได้

กฎหมายอาชญากรรม สงคราม และความมั่นคงไซเบอร์ 
Law on Cybercrime, Cyber warfare and Cybersecurity

วิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาระบบปฏิบัติการและโครงสร้างการสื่อสารด้านโทรคมนาคมที่มีลักษณะเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายคลื่นและสร้างพื้นที่ชนิดใหม่ที่เรียกว่า “พื้นที่ไซเบอร์” (Cyberspace)

โดยในปัจจุบันมีกรณีศึกษาทั้งระดับรัฐและระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์ รวมทั้งการกำหนดความผิดและโทษต่อการโจมตีหรือก่ออาชญากรรมต่อระบบ อันได้แก่
1) การก่ออาชญากรรมต่อเครือข่ายการสื่อสารทางอินเตอร์ หรือการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
2) การทำสงครามระหว่างประเทศ หรือการโจมตีระบบโดยองค์กรอาชญากรรม หรืออาชญากรข้ามชาติ
3) การแทรกซึม บ่อนทำลายหรือแพร่ข้อมูลที่ทำอันตรายระบบปฏิบัติและเครือข่ายการสื่อสารและความมั่นคง


เวทีประชาคมโลกที่เจรจาหาระบอบในการควบคุมการกระทำความผิดและปกป้องสิทธิของพลเมืองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผลักดันให้รัฐสมาชิกตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกันสถาปนากฎหมายและกลไกมาบังคับใช้มาตรการร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1) กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐบัญญัติของแต่ละประเทศ
2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีระบบปฏิบัติการระหว่างประเทศ และกลไกระหว่างรัฐ
3) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ร่วม และการผลักดันกลไกภายในรัฐ


กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ องค์กร หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปแล้ว อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์ และผู้ควบคุมระบบปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

*หวังว่าจะไม่มีอาจารย์ผู้สอนวิชาเหล่านี้ให้ความเห็นว่า Like สเตตัสเป็นความผิดอาญาอีกนะครั่บ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา