Skip to main content

นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสนับสนุนประชาชนและองค์กรต่างๆให้มีความหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐ  ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันอย่างต่อเนื่อง

การต่อสู้ต่อรองเพื่อคืน "สิทธิในการกำหนดอนาคต" คืนอำนาจให้กับประชาชนเจ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดค้นหลักสูตรวิชาใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ที่กองทัพ บรรษัทร่วมกันยึดครองประเทส และสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการทวงคืนประเทศไทยใน 20 ปีให้กับปวงชนชาวไทย 


"กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน"

หลักสูตรนี้จะช่วยให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนที่อาจมีอุปสรรคจากการละเมิดโดยภาครัฐ หรือการเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิโดยเอกชน


การมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งอยู่บนสิทธิพลเมืองและการเมืองที่มีกฎหมายรับรองในประเด็นหลัก 5 ประการ คือ 
1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 
2) เสรีภาพในการแสดงออก 
3) สิทธิในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ 
4) สิทธิในความเป็นส่วนตัวปลอดจากการคุกคามแทรกแซงหรือทำลายเกียรติยศชื่อเสียง 
5) สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างการปราศจากการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ทำให้ตาย


ทั้งนี้ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้ง 5 มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงควรสร้างหลักประกันในรูปแบบกฎหมายและกลไกให้ครอบคลุมลักษณะเฉพาะทั้ง 5 ประเด็น คือ
1) กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ)
2) กฎหมายคุ้มครองความเป็นอิสระในการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน หรือปกป้องการแสดงออกทางวิชาการ หรือรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป (ICCPR, รธน., พรบ.สื่อ, ปอ., Anti-SLAPP Law)
3) กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมหรือการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ (ICCPR, รธน., พรบ.การชุมนุม, พรบ.แรงงานสัมพันธ์, พรบ.พรรคการเมือง, พรบ.จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ, ปพพ.)
4) กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล, ชุดกฎหมายความมั่นคง, พรบ.ดักข้อมูล, ปอ., ปพพ.)
5) กฎหมายต่อต้านการทรมานและขจัดการบังคับให้บุคคลสูญหาย ((ICCPR, CAT, CED, รธน., พรบ.เยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, ปอ.แก้ไขเพิ่มเติมทรมาน/บังคับสูญหาย, ปพพ.)


โดยกลุ่มเป้าหมายของวิชานี้คือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ที่มีบทบาทปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หากผู้พิทักษ์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเสียเองก็ย่อมปกป้องผู้อื่นได้ยากขึ้น


*ไม่สงวนสิทธิคณะวิชาหรือสถาบันใดๆ จะนำไปเปิดเป็นวิชาหรือหลักสูตรอบรมใดใดทั้งสิ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา