Skip to main content

นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสนับสนุนประชาชนและองค์กรต่างๆให้มีความหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐ  ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันอย่างต่อเนื่อง

การต่อสู้ต่อรองเพื่อคืน "สิทธิในการกำหนดอนาคต" คืนอำนาจให้กับประชาชนเจ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดค้นหลักสูตรวิชาใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ที่กองทัพ บรรษัทร่วมกันยึดครองประเทส และสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการทวงคืนประเทศไทยใน 20 ปีให้กับปวงชนชาวไทย 


"กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน"

หลักสูตรนี้จะช่วยให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนที่อาจมีอุปสรรคจากการละเมิดโดยภาครัฐ หรือการเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิโดยเอกชน


การมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งอยู่บนสิทธิพลเมืองและการเมืองที่มีกฎหมายรับรองในประเด็นหลัก 5 ประการ คือ 
1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 
2) เสรีภาพในการแสดงออก 
3) สิทธิในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ 
4) สิทธิในความเป็นส่วนตัวปลอดจากการคุกคามแทรกแซงหรือทำลายเกียรติยศชื่อเสียง 
5) สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างการปราศจากการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ทำให้ตาย


ทั้งนี้ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้ง 5 มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงควรสร้างหลักประกันในรูปแบบกฎหมายและกลไกให้ครอบคลุมลักษณะเฉพาะทั้ง 5 ประเด็น คือ
1) กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ)
2) กฎหมายคุ้มครองความเป็นอิสระในการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน หรือปกป้องการแสดงออกทางวิชาการ หรือรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป (ICCPR, รธน., พรบ.สื่อ, ปอ., Anti-SLAPP Law)
3) กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมหรือการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ (ICCPR, รธน., พรบ.การชุมนุม, พรบ.แรงงานสัมพันธ์, พรบ.พรรคการเมือง, พรบ.จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ, ปพพ.)
4) กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล, ชุดกฎหมายความมั่นคง, พรบ.ดักข้อมูล, ปอ., ปพพ.)
5) กฎหมายต่อต้านการทรมานและขจัดการบังคับให้บุคคลสูญหาย ((ICCPR, CAT, CED, รธน., พรบ.เยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, ปอ.แก้ไขเพิ่มเติมทรมาน/บังคับสูญหาย, ปพพ.)


โดยกลุ่มเป้าหมายของวิชานี้คือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ที่มีบทบาทปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หากผู้พิทักษ์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเสียเองก็ย่อมปกป้องผู้อื่นได้ยากขึ้น


*ไม่สงวนสิทธิคณะวิชาหรือสถาบันใดๆ จะนำไปเปิดเป็นวิชาหรือหลักสูตรอบรมใดใดทั้งสิ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต