Skip to main content

นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสนับสนุนประชาชนและองค์กรต่างๆให้มีความหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐ  ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันอย่างต่อเนื่อง

การต่อสู้ต่อรองเพื่อคืน "สิทธิในการกำหนดอนาคต" คืนอำนาจให้กับประชาชนเจ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดค้นหลักสูตรวิชาใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ที่กองทัพ บรรษัทร่วมกันยึดครองประเทส และสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการทวงคืนประเทศไทยใน 20 ปีให้กับปวงชนชาวไทย 


"กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน"

หลักสูตรนี้จะช่วยให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนที่อาจมีอุปสรรคจากการละเมิดโดยภาครัฐ หรือการเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิโดยเอกชน


การมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งอยู่บนสิทธิพลเมืองและการเมืองที่มีกฎหมายรับรองในประเด็นหลัก 5 ประการ คือ 
1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 
2) เสรีภาพในการแสดงออก 
3) สิทธิในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ 
4) สิทธิในความเป็นส่วนตัวปลอดจากการคุกคามแทรกแซงหรือทำลายเกียรติยศชื่อเสียง 
5) สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างการปราศจากการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ทำให้ตาย


ทั้งนี้ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้ง 5 มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงควรสร้างหลักประกันในรูปแบบกฎหมายและกลไกให้ครอบคลุมลักษณะเฉพาะทั้ง 5 ประเด็น คือ
1) กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ)
2) กฎหมายคุ้มครองความเป็นอิสระในการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน หรือปกป้องการแสดงออกทางวิชาการ หรือรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป (ICCPR, รธน., พรบ.สื่อ, ปอ., Anti-SLAPP Law)
3) กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมหรือการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ (ICCPR, รธน., พรบ.การชุมนุม, พรบ.แรงงานสัมพันธ์, พรบ.พรรคการเมือง, พรบ.จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ, ปพพ.)
4) กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล, ชุดกฎหมายความมั่นคง, พรบ.ดักข้อมูล, ปอ., ปพพ.)
5) กฎหมายต่อต้านการทรมานและขจัดการบังคับให้บุคคลสูญหาย ((ICCPR, CAT, CED, รธน., พรบ.เยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, ปอ.แก้ไขเพิ่มเติมทรมาน/บังคับสูญหาย, ปพพ.)


โดยกลุ่มเป้าหมายของวิชานี้คือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ที่มีบทบาทปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หากผู้พิทักษ์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเสียเองก็ย่อมปกป้องผู้อื่นได้ยากขึ้น


*ไม่สงวนสิทธิคณะวิชาหรือสถาบันใดๆ จะนำไปเปิดเป็นวิชาหรือหลักสูตรอบรมใดใดทั้งสิ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ