Skip to main content

จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  

ยิ่งประชาชนรู้แล้วไม่มีส่วนร่วม เข้าไปมีความเห็นหรือแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้ ยิ่งจิตตก สิ้นหวัง   นานไปก็เข้าทำนองถ้าไม่รู้เสียเลยคงสบายใจ หรือไม่วิตกกังวล กลายเป็นภาวะ “เฉื่อยงาน” เลิกคิด เลิกวิจารณ์ เลิกสร้างสรรค์ก็จะกระทบการพัฒนาในระยะยาว

การควบคุมทิศทางข่าวและล้างสมองในอดีตเป็นไปได้ เพราะประชาชนเข้าถึงข่าวสารช้า และรัฐสามารถควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร/ทำการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย และสื่อบางช่องทางก็เกินอำนาจรัฐบาลเพราะอยู่ “นอกเขตอำนาจ” รัฐ

ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้อยู่ในภาครัฐ ดังสื่อยุครัฐสมัยใหม่ที่รัฐกุมอำนาจในการให้ใบอนุญาต หรือเป็นเจ้าของคลื่นและช่องทางสื่อสารเสียเอง  กรณีเรียกผู้ประกอบการไอทีระดับโลกมาเจรจาก็เห็นแล้วว่า จุดยืนของเหล่าบรรษัทระดับโลกเป็นอย่างไร ส่งเสริมการลงทุนดีไหมล่ะ

ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ง่ายแทบทุกที่ตลอดเวลา “เครือข่ายทางสังคม” ก็เอื้อให้คนผลิตข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ต รอคนจำนวนมากสืบค้นได้อย่างง่ายดาย
และเหนืออื่นใด คือ รัฐบาลไทยไม่ได้เตรียมตัวรับสถานการณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก จะมาทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ถ้าทำจริงก็กระทบไปทุกภาคส่วน

หากต้องการพึ่งความสามารถรัฐพันธมิตร อย่างจีน ก็ต้องซื้อยุทโธปกรณ์ทั้งเรือดำน้ำเพื่อดักดูดข้อมูลจากเคเบิ้ลแล้วส่งไปประมวลผลที่ฐานปฏิบัติการของจีน ก็เสมือนสูญเสียเอกราชในการจัดการตนเองไปด้วย   หลังสุดมีข่าวซื้อเทคโนโลยีไอทีเกี่ยวกับการสร้างเสิร์ชเอ็นจิ้น หวังว่าคนไทยจะมาใช้ รัฐจะได้สอดส่อง  ก็ไม่ง่ายนะครับ เพราะเจ้าเดิมก็ยังอยู่ แถมประชาชนระแวงรัฐ

ขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตร 4.0 ก็ต้องมุ้งเป้าไปที่ คนรุ่นใหม่ ลูกหลานเกษตรกรโดยเฉพาะเด็ก หรือสตรี   เพราะแนวทางการพัฒนาชนบทหรือภาคการเกษตรในโลกยุคนี้ หากต้องการหนีจากการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ใช้สารเคมีมากสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสูง   ก็ต้องปรับเป็นการเกษตรเชิงผสมผสาน หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมทำกิจกรรมหรือพักผ่อนท่องเที่ยวไปในตัว

คงไม่มีนักท่องเที่ยวที่ไหน อยากตื่นเช้ามาสูดไอหมอก “ยาฆ่าแมลง” หรอกครับ

 

สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ตลาดในการแลกเปลี่ยนสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม
นอกจากนี้การกระจายสินค้าและข้อมูลสินน้าไปยัง ผู้บริโภคในครัวเรือน หรือบริษัทห้างร้านที่เป็น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการความละเอียดอ่อนและอดทนสูง

การบริการหลังการขาย การรับคำติชมต่างๆ จากคู่ค้า ลูกค้า ก็ต้องอาศัยความอดกลั้น และพิจารณาปัญหาอย่างเยือกเย็น ซึ่งต้องได้รับการอบรม และพร้อมจำปรับปรุงวิถีการทำงาน

คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด

บทบาทในการทำงานนอกบ้านหรือทำงานอยู่กับบ้านมาอยู่ที่สตรีมากขึ้น ส่วนบทบาทชายอาจต้องปรับไปในทิศทางดูแลบ้านและเอาใจคนในพื้นที่ในอาณาบริเวณครอบครัวมากกว่าเดิม
วิกฤตการเมืองแบบตัวแทน คือ วิกฤตพรรค มิใช่วิกฤตประชาธิปไตย

แล้วเราจะใช้การเมืองและยุทธศาสตร์แบบไหนพาประเทศชาติก้าวอุปสรรคไป?
ในยุโรปและอเมริกา หมายถึง พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีนโยบายไม่ต่างกัน ทั้งซ้าย ขวา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และความมั่นคง
การถูกชี้นำโดย เทคโนแครต การประนีประนอมกับระบบราชการ กระบวนการทางการเมืองที่ซับซ้อน ขั้นตอนเชิงเทคนิค กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วม
เสียงประชาชนเลือนหายไปจากสภา เพราะประชาชนอยู่ห่างจากสภามากไป และตัวแทนของตนก็ถูกกลืนหายไปในกระพรรค

ส่วนพรรคก็ทำตามนายทุน ลอบบี้ยิสต์ มากเกินไป ไม่รับฟังเสียงประชาชน  การเมืองมวลชนนอกสภาจึงมาเต็มท้องถนน

ปัญหาจึงอยู่ที่พรรคไม่เป็นตัวแทนของประชาชน
แต่การเอาทหารเข้ามายิ่งไม่รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะลอบบี้ยิสต์กลุ่มทุนทำงานง่ายกว่าเดิม เพราะเคลียร์กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

ประชาธิปไตยจึงต้องยิ่งขยายพื้นที่ต่อรอง ให้เส้นมีหลายสาย  มิใช่การขยุ้มมาอยู่ที่สายเขียว สายเดียว

แนวทางพรรคมวลชนแบบใหม่ในหลายประเทศจึงมา คือ ผู้นำมวลชน นำความคิดผ่านสื่อใหม่ และสามารถรวมกลุ่มย่อยให้เข้ามาอยู่ในขบวนการได้   โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่กระจัดกระจาย

การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง และเข้าใจทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และมีความสามารถ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ เหล่าผู้อาวุโสได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตไปกับ การท่องเที่ยว บริโภค และเลี้ยงดูลูกหลาน  ดีกว่าต้องมาบั่นทอนร่างกายและจิตใจที่เสื่อมไปตามอายุขัยที่มากขึ้น
การมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ให้คนรุ่นถัดไป ย่อมอยู่ที่ การเปิดให้คนรุ่นใหม่ได้กำหนดอนาคตของตนเอง หลังจากคนยุคก่อนหน้าได้ทำพังเพราะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมามากแล้ว
จึงอยู่ที่ท่านผู้ใหญ่แล้วว่าจะมอบความสุขให้คนรุ่นใหม่ และจะเกษียณตนไปเสพสุขเงียบๆได้หรือยัง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว