Skip to main content

สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่อเหมือนเดิมล่ะ?

นักคิดนักกิจกรรมชื่อดัง สโลวอย ซีเซ็ก (Slovoj ZIzek) ได้ย่อยเอาปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมลงเป็นประโยคสั้นๆ คือ คุณไม่ได้เกลียดวันจันทร์คุณแค่ชังการเริ่มสัปดาห์ทำงานในระบบทุนนิยม (You don’t hate Monday, You hate Capitalism!) อันมีที่มาจากเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกในใจของคนที่อยู่ในวัฏจักรการผลิตแบบทุนนิยมที่วนเวียนซ้ำซากเหมือนหนูติดจั่น

สำหรับคนที่รักงานที่ทำ ชอบทำสิ่งที่มีคนจ่ายเงินให้ทำ ก็คงไม่รู้สึกแปลกแยกต้อยต่ำ หรือตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่”  แต่หากคนต้องทำอะไรที่ขัดกับความปรารถนา ไม่ตรงกับความถนัด หรือมีความซ้ำซากจำเจ จนเบื่อหน่ายถึงขีดสุด ก็หนีไม่พ้นต้องถามใจตัวเองว่ายังอยากทำงานนี้อยู่หรือไม่ แล้วจะไปทำอย่างอื่นได้รึเปล่า?  

สำหรับหลายคนทางเลือกไม่ได้มีมากนัก!

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนในสังคมทุนนิยมจึงเกี่ยวข้องกับ “การทำงาน” โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลตอบแทนต่ำ ความมั่นคงน้อย สภาพการทำงานแย่ ไปจนถึง ตกงาน                  สภาพในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่อยู่ตัวแล้วมักจะมีสวัสดิการมารองรับคนที่ตกงาน แต่คนที่ว่างงานเรื้อรังย่อมหลีกไม่พ้นกับความรู้สึกจิตใจตกต่ำยาวนาน

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยที่สมาทานตัวเองเข้าไปในสายพานการผลิตของตลาดโลก และสังคมค่อยๆปรับเข้ามาในลักษณะเมืองทุนนิยม ก็ทำให้คนจำนวนมหาศาลตกอยู่ในภาวะ ไม่ชอบแต่ก็ต้องทำ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นที่ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นวงกว้างแต่กลับไม่ได้งานตามที่คาดหวัง ซ้ำยังไม่เห็นวี่แววของการก้าวหน้า ขยับเลื่อนสถานะทางสังคม

การหลุดลอยไปจากสังคม ความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า ไร้คุณค่า ไม่มีตัวตนในสายตาของคนรอบข้าง เป็นภาระให้กับคนที่ตนรัก ย่อมบันดาลความทุกข์ให้เกิดขึ้นมหาศาล   แต่ต้องไม่ลืมว่า มันอาจจะไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคลของเขา แต่เขาอาจเป็นผู้พ่ายแพ้ สูญเสียจากการปรับเปลี่ยนสังคมไปตามการกำหนดของตลาด   ทักษะหรือความเก่งกาจที่เขามีอาจไม่เป็นที่ต้องการ หรือได้ค่าตอบแทนไม่มาก จนกลายเป็นไร้ค่าเมื่อวัดด้วย “เงิน” ที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนในตลาด คนที่ไม่สามารถแปลงความถนัดของตนเป็นสินค้าหรือบริการเพื่ออยู่รอดจึงทุกข์

คำถาม คือ เราจะจัดการกับความทุกข์ของคนที่อยู่ในสังคมทุนนิยมนี้อย่างไร ?

บางกรณีเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองจริง แต่กระแสปัจจุบันเหมือนจะผลักให้ทุกกรณีเป็นเรื่องสารเคมีไปหมดแล้วแก้ด้วยการจ่ายยา ซึ่ง "เหมารวม" เกินไป 

ในประเทศทุนนิยมเก่าจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ หยุดทำให้โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสารเคมี หยุดแก้ปัญหาด้วยยา 
วิพากษ์บรรษัทยาที่ค้ากำไรกับความเศร้าโดยทำปัญหาจิตเวชให้เป็นเงิน    โดยอยากให้แก้ปัญหาโดยรับฟังสาเหตุ และบริบททางเศรษฐกิจสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุด้วยยาอย่างเดียว

อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่หายโดยไม่ต้องกินยาก็มีอยู่ครับ แต่อย่างที่บอก ปัญหาอยู่ที่ "การเหมารวม" ว่า "ต้องใช้ยา" มากกว่า เหมือนเมื่อก่อนบอกว่า เลิกยาเสพติด ต้องใช้สารเคมีช่วย เดี๋ยวนี้กระแสตีกลับกันอีกแล้วว่าต้องชนะใจตน และคนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความเข้าใจไม่ให้หวนกลับไปใช้อีก

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์เสนอสถิติว่าการใช้ยา สารเคมีรักษาได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจเป็นวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทขายยา เมื่อเถียงกันไม่เสด็จน้ำ แต่เอาวิธีการจากผลข้างเดียวมาปฏิบัติกันเป็นวงกว้าง แบบ "เหมารวม" 

หมอไม่เคยมีการตรวจหาสารเคมีในร่างกายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเลยครับ จึงย้อนแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ณ จุดนี้   มีงานวิจัยสังคมวิทยาการแพทย์ด้านจิตเวช บอกว่าความคิดเรื่อง “สารเคมีก่อความเศร้า” มาพร้อมกับช่วงโหมการตลาดเรื่องยากรักษาซึมเศร้าของบรรษัทพอดี และมีเรื่องวิจัยผลข้างเคียง เรื่องยาแก้ซึมเศร้าทำให้ชายหลั่งช้าลง ด้วย ซึ่งมันคิดไปได้ว่า...โฆษณาแฝง

ที่สำคัญ มีปัจเจก จำนวนไม่น้อยหัวเสียกับการไปพบแพทย์แล้ว แต่บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ให้คำปรึกษา หรือตั้งใจวินิจฉัยมากมาก ยิ่งมีการทำให้โรคซึมเศร้าเป็น “อาการ” ที่รักษาด้วยการจ่ายยาไปกิน โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้พบกับที่ปรึกษาหรือใช้เวลาในการพูดคุยบำบัดก็ยิ่งน้อยลง เพราะรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่อยากสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างจิตแพทย์ รึนักจิตวิทยาบำบัด และไม่ต้องพูดถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ “สภาพการทำงาน” หรือ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน”

ถ้าปัญหาเป็นเรื่องเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็จะนำไปสู่การสร้างแนวร่วมผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างขบวนการมวลชนต่อต้านเสรีนิยมใหม่ โดยไม่คลั่งชาติ ไม่เหยียด ไม่กีดกัน แต่รวบรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันเข้ามาร่วมเดิน

 

คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า คุณแค่ผิดหวังจากทุนนิยม!
You don't have depression, Capitalism fails you

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2