Skip to main content

สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่อเหมือนเดิมล่ะ?

นักคิดนักกิจกรรมชื่อดัง สโลวอย ซีเซ็ก (Slovoj ZIzek) ได้ย่อยเอาปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมลงเป็นประโยคสั้นๆ คือ คุณไม่ได้เกลียดวันจันทร์คุณแค่ชังการเริ่มสัปดาห์ทำงานในระบบทุนนิยม (You don’t hate Monday, You hate Capitalism!) อันมีที่มาจากเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกในใจของคนที่อยู่ในวัฏจักรการผลิตแบบทุนนิยมที่วนเวียนซ้ำซากเหมือนหนูติดจั่น

สำหรับคนที่รักงานที่ทำ ชอบทำสิ่งที่มีคนจ่ายเงินให้ทำ ก็คงไม่รู้สึกแปลกแยกต้อยต่ำ หรือตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่”  แต่หากคนต้องทำอะไรที่ขัดกับความปรารถนา ไม่ตรงกับความถนัด หรือมีความซ้ำซากจำเจ จนเบื่อหน่ายถึงขีดสุด ก็หนีไม่พ้นต้องถามใจตัวเองว่ายังอยากทำงานนี้อยู่หรือไม่ แล้วจะไปทำอย่างอื่นได้รึเปล่า?  

สำหรับหลายคนทางเลือกไม่ได้มีมากนัก!

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนในสังคมทุนนิยมจึงเกี่ยวข้องกับ “การทำงาน” โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลตอบแทนต่ำ ความมั่นคงน้อย สภาพการทำงานแย่ ไปจนถึง ตกงาน                  สภาพในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่อยู่ตัวแล้วมักจะมีสวัสดิการมารองรับคนที่ตกงาน แต่คนที่ว่างงานเรื้อรังย่อมหลีกไม่พ้นกับความรู้สึกจิตใจตกต่ำยาวนาน

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยที่สมาทานตัวเองเข้าไปในสายพานการผลิตของตลาดโลก และสังคมค่อยๆปรับเข้ามาในลักษณะเมืองทุนนิยม ก็ทำให้คนจำนวนมหาศาลตกอยู่ในภาวะ ไม่ชอบแต่ก็ต้องทำ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นที่ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นวงกว้างแต่กลับไม่ได้งานตามที่คาดหวัง ซ้ำยังไม่เห็นวี่แววของการก้าวหน้า ขยับเลื่อนสถานะทางสังคม

การหลุดลอยไปจากสังคม ความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า ไร้คุณค่า ไม่มีตัวตนในสายตาของคนรอบข้าง เป็นภาระให้กับคนที่ตนรัก ย่อมบันดาลความทุกข์ให้เกิดขึ้นมหาศาล   แต่ต้องไม่ลืมว่า มันอาจจะไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคลของเขา แต่เขาอาจเป็นผู้พ่ายแพ้ สูญเสียจากการปรับเปลี่ยนสังคมไปตามการกำหนดของตลาด   ทักษะหรือความเก่งกาจที่เขามีอาจไม่เป็นที่ต้องการ หรือได้ค่าตอบแทนไม่มาก จนกลายเป็นไร้ค่าเมื่อวัดด้วย “เงิน” ที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนในตลาด คนที่ไม่สามารถแปลงความถนัดของตนเป็นสินค้าหรือบริการเพื่ออยู่รอดจึงทุกข์

คำถาม คือ เราจะจัดการกับความทุกข์ของคนที่อยู่ในสังคมทุนนิยมนี้อย่างไร ?

บางกรณีเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองจริง แต่กระแสปัจจุบันเหมือนจะผลักให้ทุกกรณีเป็นเรื่องสารเคมีไปหมดแล้วแก้ด้วยการจ่ายยา ซึ่ง "เหมารวม" เกินไป 

ในประเทศทุนนิยมเก่าจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ หยุดทำให้โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสารเคมี หยุดแก้ปัญหาด้วยยา 
วิพากษ์บรรษัทยาที่ค้ากำไรกับความเศร้าโดยทำปัญหาจิตเวชให้เป็นเงิน    โดยอยากให้แก้ปัญหาโดยรับฟังสาเหตุ และบริบททางเศรษฐกิจสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุด้วยยาอย่างเดียว

อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่หายโดยไม่ต้องกินยาก็มีอยู่ครับ แต่อย่างที่บอก ปัญหาอยู่ที่ "การเหมารวม" ว่า "ต้องใช้ยา" มากกว่า เหมือนเมื่อก่อนบอกว่า เลิกยาเสพติด ต้องใช้สารเคมีช่วย เดี๋ยวนี้กระแสตีกลับกันอีกแล้วว่าต้องชนะใจตน และคนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความเข้าใจไม่ให้หวนกลับไปใช้อีก

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์เสนอสถิติว่าการใช้ยา สารเคมีรักษาได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจเป็นวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทขายยา เมื่อเถียงกันไม่เสด็จน้ำ แต่เอาวิธีการจากผลข้างเดียวมาปฏิบัติกันเป็นวงกว้าง แบบ "เหมารวม" 

หมอไม่เคยมีการตรวจหาสารเคมีในร่างกายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเลยครับ จึงย้อนแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ณ จุดนี้   มีงานวิจัยสังคมวิทยาการแพทย์ด้านจิตเวช บอกว่าความคิดเรื่อง “สารเคมีก่อความเศร้า” มาพร้อมกับช่วงโหมการตลาดเรื่องยากรักษาซึมเศร้าของบรรษัทพอดี และมีเรื่องวิจัยผลข้างเคียง เรื่องยาแก้ซึมเศร้าทำให้ชายหลั่งช้าลง ด้วย ซึ่งมันคิดไปได้ว่า...โฆษณาแฝง

ที่สำคัญ มีปัจเจก จำนวนไม่น้อยหัวเสียกับการไปพบแพทย์แล้ว แต่บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ให้คำปรึกษา หรือตั้งใจวินิจฉัยมากมาก ยิ่งมีการทำให้โรคซึมเศร้าเป็น “อาการ” ที่รักษาด้วยการจ่ายยาไปกิน โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้พบกับที่ปรึกษาหรือใช้เวลาในการพูดคุยบำบัดก็ยิ่งน้อยลง เพราะรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่อยากสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างจิตแพทย์ รึนักจิตวิทยาบำบัด และไม่ต้องพูดถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ “สภาพการทำงาน” หรือ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน”

ถ้าปัญหาเป็นเรื่องเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็จะนำไปสู่การสร้างแนวร่วมผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างขบวนการมวลชนต่อต้านเสรีนิยมใหม่ โดยไม่คลั่งชาติ ไม่เหยียด ไม่กีดกัน แต่รวบรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันเข้ามาร่วมเดิน

 

คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า คุณแค่ผิดหวังจากทุนนิยม!
You don't have depression, Capitalism fails you

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า