Skip to main content

ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก

เนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ

                เพราะสองบรรษัทที่เดิมต่างจะแยกกันไปพัฒนาและสร้างระบบของตัวเอง กลับร่วมมือกันยิงโดรนส์ ปล่อยบอลลูน ไปส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงมิให้มีพื้นที่ “สุญญากาศอินเตอร์เน็ต” อีกต่อไป

แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ที่เข้าถึงบริการ และเทคโนโลยีข่าวสาร และในทางกลับกัน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานก็จะไหลเข้าสู่เหมืองข้อมูลของสองบรรษัทด้วย

เมื่อพูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญพื้นฐานก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างถ้วนหน้า "Universal Internet Access"  ซึ่งต้องเป็น "ก้าวแรก" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน"

                ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "เสียง" ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นตัวแทนของ "ปวงชน" อย่างแท้จริง หาไม่แล้วเสียงในอินเตอร์เน็ตก็เป็นเพียง “เสียงของคนจำนวนน้อย” และเพิกเฉยเสียงของคนจำนวนมากไปเสีย

หากในอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีแต่คนฐานะดีพอจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท้อป ก็ยิ่งตอกย้ำว่า มีความเหลื่อมล้ำและกีดกันมิให้คนที่ฐานะทางเศรษฐกิจมีที่ทางและปากเสียงในโลกออนไลน์

                Facebook ซื้อบรรษัทโดรนส์ก็ถือเป็น “การลงทุน” ที่ผู้ถือหุ้นบรรษัทคาดหวังดอกผล โครงการปล่อยสัญญาณไวไฟฟรีก็ต้องรอเก็บเกี่ยวผลทางใดทางหนึ่ง

Google ที่ทำเรื่องนี้ก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลซื้อเทคโนโลยี บอลลูน ดาวเทียม และโดรนส์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล

                ชัดเจนว่า เป็นการลงทุนที่หวังผลทางธุรกิจ และชวนให้คิดว่าเป็นการเดินหมากในการเมืองระหว่างประเทศ รุกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีมหาอำนาจอื่นใดสนใจนัก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก จึงเดินทางไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐทั้งหลายเปิดน่านฟ้าและลดอุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อจะได้เดินหน้าโครงการปล่อยสัญญาณ เหนือ “น่านฟ้า” ของรัฐอื่นๆ นั่นเอง

ในงานเดียวกันมีนายกประเทศหนึ่งไปรับรางวัล เรื่องการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานของรัฐบาลก่อนหน้าที่ตนโค่นไป   UN ให้รางวัลเพราะโครงการแท็ปเล็ตที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พอได้รางวัลกลับไปรับเฉยครับ

โครงการพัฒนาถ้ารั่วไหล ก็อุดรูรั่วครั่บ ไม่ใช่ยกเลิก คนเสียประโยชน์คือ ประชาชน เพราะการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในโลกยุคดิจิตอล

 

การลงทุนสร้างเครือข่าย เพื่อให้คนเข้ามาใช้งาน แล้วควบคุมและประมวลข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นก็ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อมูล" อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงการตลาดพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการปกครอง

ซึ่งสะเทือนไปถึงประเด็น "สิทธิส่วนบุคคล" และ "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" และเรื่อง "สัญญาสำเร็จรูป" กับ "ใครเป็นเจ้าของข้อมูล" ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น

นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ แผนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นรูปหนึ่งของ “ข่าวกรอง” ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐผู้สนับสนุนโครงการและมีความสัมพันธ์กับบรรษัทสัญชาติตน  ประเทศเจ้าของน่านฟ้าจึงอาจระแวงเรื่องการจารกรรมข้อมูลได้เช่นกัน

ชัดเจนที่สุด คือ ภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และ นิติธรรม อย่างสหภาพยุโรป ก็มีมาตรการปกป้อง "ข้อมูลส่วนบุคคล" โดยกลไกทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
อาจจะเป็นว่า ภูมิภาคนี่อยู่กับสารพัดกลยุทธ์ของ "สายลับ" มานาน  และเชี่ยวชาญการต่อต้านจารกรรมโดยมาตรการกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตน และป้องกันการกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามว่า ตนกีดกันทางการค้า หรือหามาตรการตอบโต้ 
                เราอยู่ในยุคสันติภาพร้อน ที่สงครามสายลับเกิดขึ้นตลอดเวลา

เห็นชัดว่าสหภาพยุโรป จัดหนักบรรษัท IT ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมยุโรป(ECJ) ได้ยกเลิกข้อตกลง Safe Harbor  ระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหรัฐ ในส่วนการกักข้อมูล (Data Retention) ทิ้งแล้ว สืบเนื่องจาก ศาลเพิ่งเพิกถอน EU Data Retention Directive 2006 ที่ขัดกับ สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights ไปเมื่อ เมษายน 2014

ล่าสุดมีคำพิพากษาศาลฯ สั่ง ห้ามส่งข้อมูลของพลเมืองยุโรปกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกอาณาเขตที่ขาดมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ
                ถือเป็นคำพิพากษาสำคัญ ต้อนรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับ บีบให้สหรัฐลงนามใน Umbrella Agreement between US&EU ซึ่งเหลือเพียง 1 ใน 13 ประเด็น ที่ยังตกลงกันไม่ได้ คือ การตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและเยียวยาสิทธิผู้ถูกละเมิด

เบื้องต้น EU ขอให้มี One-Stop-Shop ใน ประเทศต่างๆของ EU เพื่ออำนวยความสะดวกให้พลเมืองฟ้องรัฐ บรรษัท ได้ทันที โดยไม่ต้องจ้างทนายไปฟ้องในต่างแดน
ล่าสุด สหรัฐยอมให้ พลเมืองยุโรปฟ้องในศาลสหรัฐได้ หากพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลโดนละเมิดโดยองค์กรสัญชาติสหรัฐ

อีกประเด็นที่เครียดกันมากก็คือ การดูดกักข้อมูล ซึ่งเดิมบรรษัทเก็บข้อมูลไว้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงและปราบอาชญากรรมใช้เป็นฐานข้อมูลสืบสวน ซึ่งละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights 2009 จนทำให้ ศาล ECJ มีคำพิพากษาออกมายกเลิกดังที่กล่าวไป
                ถ้าถามว่าประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีอย่างไทยจะทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องเริ่มจาก มีกฎหมายรับรอง “สิทธิในข้อส่วนบุคคล” เพื่อป้องกันการถูกล้วงตับไปฟรีๆ และ ส่งเสริม “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากสารพัดข่าวสารที่อยู่ในโลกออนไลน์

รัฐบาลจึงต้องหาทางเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มิใช่ ทำให้ถอยหนีด้วย Single Gateway

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2