Skip to main content

ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก

เนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ

                เพราะสองบรรษัทที่เดิมต่างจะแยกกันไปพัฒนาและสร้างระบบของตัวเอง กลับร่วมมือกันยิงโดรนส์ ปล่อยบอลลูน ไปส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงมิให้มีพื้นที่ “สุญญากาศอินเตอร์เน็ต” อีกต่อไป

แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ที่เข้าถึงบริการ และเทคโนโลยีข่าวสาร และในทางกลับกัน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานก็จะไหลเข้าสู่เหมืองข้อมูลของสองบรรษัทด้วย

เมื่อพูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญพื้นฐานก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างถ้วนหน้า "Universal Internet Access"  ซึ่งต้องเป็น "ก้าวแรก" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน"

                ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "เสียง" ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นตัวแทนของ "ปวงชน" อย่างแท้จริง หาไม่แล้วเสียงในอินเตอร์เน็ตก็เป็นเพียง “เสียงของคนจำนวนน้อย” และเพิกเฉยเสียงของคนจำนวนมากไปเสีย

หากในอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีแต่คนฐานะดีพอจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท้อป ก็ยิ่งตอกย้ำว่า มีความเหลื่อมล้ำและกีดกันมิให้คนที่ฐานะทางเศรษฐกิจมีที่ทางและปากเสียงในโลกออนไลน์

                Facebook ซื้อบรรษัทโดรนส์ก็ถือเป็น “การลงทุน” ที่ผู้ถือหุ้นบรรษัทคาดหวังดอกผล โครงการปล่อยสัญญาณไวไฟฟรีก็ต้องรอเก็บเกี่ยวผลทางใดทางหนึ่ง

Google ที่ทำเรื่องนี้ก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลซื้อเทคโนโลยี บอลลูน ดาวเทียม และโดรนส์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล

                ชัดเจนว่า เป็นการลงทุนที่หวังผลทางธุรกิจ และชวนให้คิดว่าเป็นการเดินหมากในการเมืองระหว่างประเทศ รุกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีมหาอำนาจอื่นใดสนใจนัก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก จึงเดินทางไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐทั้งหลายเปิดน่านฟ้าและลดอุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อจะได้เดินหน้าโครงการปล่อยสัญญาณ เหนือ “น่านฟ้า” ของรัฐอื่นๆ นั่นเอง

ในงานเดียวกันมีนายกประเทศหนึ่งไปรับรางวัล เรื่องการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานของรัฐบาลก่อนหน้าที่ตนโค่นไป   UN ให้รางวัลเพราะโครงการแท็ปเล็ตที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พอได้รางวัลกลับไปรับเฉยครับ

โครงการพัฒนาถ้ารั่วไหล ก็อุดรูรั่วครั่บ ไม่ใช่ยกเลิก คนเสียประโยชน์คือ ประชาชน เพราะการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในโลกยุคดิจิตอล

 

การลงทุนสร้างเครือข่าย เพื่อให้คนเข้ามาใช้งาน แล้วควบคุมและประมวลข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นก็ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อมูล" อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงการตลาดพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการปกครอง

ซึ่งสะเทือนไปถึงประเด็น "สิทธิส่วนบุคคล" และ "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" และเรื่อง "สัญญาสำเร็จรูป" กับ "ใครเป็นเจ้าของข้อมูล" ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น

นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ แผนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นรูปหนึ่งของ “ข่าวกรอง” ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐผู้สนับสนุนโครงการและมีความสัมพันธ์กับบรรษัทสัญชาติตน  ประเทศเจ้าของน่านฟ้าจึงอาจระแวงเรื่องการจารกรรมข้อมูลได้เช่นกัน

ชัดเจนที่สุด คือ ภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และ นิติธรรม อย่างสหภาพยุโรป ก็มีมาตรการปกป้อง "ข้อมูลส่วนบุคคล" โดยกลไกทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
อาจจะเป็นว่า ภูมิภาคนี่อยู่กับสารพัดกลยุทธ์ของ "สายลับ" มานาน  และเชี่ยวชาญการต่อต้านจารกรรมโดยมาตรการกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตน และป้องกันการกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามว่า ตนกีดกันทางการค้า หรือหามาตรการตอบโต้ 
                เราอยู่ในยุคสันติภาพร้อน ที่สงครามสายลับเกิดขึ้นตลอดเวลา

เห็นชัดว่าสหภาพยุโรป จัดหนักบรรษัท IT ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมยุโรป(ECJ) ได้ยกเลิกข้อตกลง Safe Harbor  ระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหรัฐ ในส่วนการกักข้อมูล (Data Retention) ทิ้งแล้ว สืบเนื่องจาก ศาลเพิ่งเพิกถอน EU Data Retention Directive 2006 ที่ขัดกับ สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights ไปเมื่อ เมษายน 2014

ล่าสุดมีคำพิพากษาศาลฯ สั่ง ห้ามส่งข้อมูลของพลเมืองยุโรปกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกอาณาเขตที่ขาดมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ
                ถือเป็นคำพิพากษาสำคัญ ต้อนรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับ บีบให้สหรัฐลงนามใน Umbrella Agreement between US&EU ซึ่งเหลือเพียง 1 ใน 13 ประเด็น ที่ยังตกลงกันไม่ได้ คือ การตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและเยียวยาสิทธิผู้ถูกละเมิด

เบื้องต้น EU ขอให้มี One-Stop-Shop ใน ประเทศต่างๆของ EU เพื่ออำนวยความสะดวกให้พลเมืองฟ้องรัฐ บรรษัท ได้ทันที โดยไม่ต้องจ้างทนายไปฟ้องในต่างแดน
ล่าสุด สหรัฐยอมให้ พลเมืองยุโรปฟ้องในศาลสหรัฐได้ หากพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลโดนละเมิดโดยองค์กรสัญชาติสหรัฐ

อีกประเด็นที่เครียดกันมากก็คือ การดูดกักข้อมูล ซึ่งเดิมบรรษัทเก็บข้อมูลไว้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงและปราบอาชญากรรมใช้เป็นฐานข้อมูลสืบสวน ซึ่งละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights 2009 จนทำให้ ศาล ECJ มีคำพิพากษาออกมายกเลิกดังที่กล่าวไป
                ถ้าถามว่าประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีอย่างไทยจะทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องเริ่มจาก มีกฎหมายรับรอง “สิทธิในข้อส่วนบุคคล” เพื่อป้องกันการถูกล้วงตับไปฟรีๆ และ ส่งเสริม “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากสารพัดข่าวสารที่อยู่ในโลกออนไลน์

รัฐบาลจึงต้องหาทางเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มิใช่ ทำให้ถอยหนีด้วย Single Gateway

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า