Skip to main content

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว

การแก้ไขข้อจำกัดในส่วนของการดำเนินธุรกิจของบรรษัทและภาคเอกชน  เช่น การปรับปรุงกฎหมายเรื่องตราสารหนี้ ตราสารทุน การเปิดช่องให้การบริหารจัดการสตาร์ทอัพดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงานในรูปผลตอบแทนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ล้วนสะท้อนให้เห็นความตื่นตัวในการอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจเอกชน

แต่สิ่งที่สำคัญเบื้องต้น คือ การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการในตลาดอิเล็กทรอนิคส์ (E-Market) โดยมิได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่หมายรวมถึงผู้ชี้บริการจากทั่วทุกมุมโลก หากต้องการขยายศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาดของไทยให้ก้าวหน้า

การสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งไทยและต่างประเทศย่อมต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่มีการใช้กันอยู่ในตลาดชั้นนำของโลก เพราะผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงความคุ้นเคยที่ได้รับการประกันสิทธิตามมาตรฐานที่ตนเคยได้รับอยู่ในโลกของตนเป็นหลัก  

ประเทศไทยเลือกมาตรฐานใด? จะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มไหน?  จึงเป็นคำถามหลักที่ต้องตอบ

โลกมีกลุ่มประเทศที่ใช้ระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์หรือจัดการกับตลาดดิจิทัลที่แตกต่างกันอยู่ โดยแบ่งออกเป็นกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

1)       กลุ่มที่ไม่มีมาตรฐานหรือระบอบใดๆเลย เช่น ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาที่ความก้าวหน้าของเอกชนและเทคโนโลยีนำสังคม รัฐยังมิได้ออกมาตรการหรือกฎหมายใดๆมาสร้างกรอบกำกับดูแล

2)       กลุ่มที่รัฐมีมาตรฐานในใจและผลักดันนโยบายที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ(บาล) เป็นที่ตั้ง เช่น ประเทศมหาอำนาจและประเทศที่อยู่นอกระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย

3)       กลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดและใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืน

 

จริงอยู่ที่รัฐทุกรัฐ รวมถึงรัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยในการเลือกระบอบและนโยบายได้เองโดยไม่ต้องเชื่อฟังรัฐอื่นใด  แต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่า คือ เราต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร อยากเจาะตลาดไหน ย่อมต้องสมาทานกฎหมายและนโยบายของประเทศเหล่านั้นเข้ามาเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองของผู้บริโภคในตลาดนั้นด้วย

หากประเทศไทยมุ่งไปในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา หรือไร้มาตรการดูแลผู้บริโภคในตลาด สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ ความไม่แน่นอนของตลาด เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนมั่นคง  การบุกไปตลาดเหล่านั้นก็จะมีต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนแอบแฝง เนื่องจากต้องคอยประสานกับรัฐ หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลในตลาดเหล่านั้น  หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง โดยที่ไม่แน่ใจว่าวันนึงจะถูกสั่งปิด หรือสั่งให้ทำอะไรที่ทำลายแบรนด์และความน่าเชื่อถือของบริษัทตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลประเทศที่ไปลงทุนหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตกไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไร้มาตรการปกป้องผู้บริโภค และไม่มีหลักประกันสิทธิผู้ใช้บริการที่คำนึงสิทธิมนุษยชนแล้ว  ตลาดของประเทศไทยก็จะเป็น “ท่าเรือที่ไม่น่าเข้าเทียบจอด” เพราะไม่อาจประกันความปลอดภัยให้กับชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการทางดิจิทัลได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามโครงการ ดิจิทัลฮับ ของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้  

หากประเทศไทยอยากดึงดูดบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลกให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์หรือวางระบบปฏิบัติการของตนในประเทศไทย   ที่ปรึกษาของบรรษัททั้งหลายก็จะพิจารณาก่อนว่าหากนำ “ทรัพย์สินและระบบ” ของตนไปวางในราชอาณาจักรไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง?

ประเด็นกฎหมายที่กำลังมาแรงและเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาของธุรกิจดิจิทัล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เนื่องจากผู้บริโภคตื่นตัวหลังจากมีเปิดเผยให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐแฮ็ค ดักข้อมูล หรือมีข้อตกลงกับบรรษัท โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อเทคโนโลยีลดลง และมีการเลิกใช้บริการของบางบริษัทที่มีข่าวว่าร่วมมือกับรัฐบาล หรือไม่มีมาตรการที่ดีพอในการปกป้องประชาชน  นั่นคือ แบรนด์ของบริษัทเสียหาย

ในทางกลับกัน ถ้ากฎหมายภายในของไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่ำ บริษัทสัญชาติไทยก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาดที่มาตรฐานสูงกว่าไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไข “ห้ามส่งข้อมูลไปยังดินแดนที่มาตรฐานต่ำกว่า” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย และหน่วยงานที่ผลักดันโครงการดิจิทัลฮับทราบหรือไม่!!!

หากประเทศไทยอยากจะเป็น ดิจิทัลฮับระดับโลก ที่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุน หรือส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติไทย หรือบริษัทที่มาฝากระบบไว้ในดินแดนไทย สามารถเจาะตลาดอื่นได้ โดยเฉพาะตลาดที่ยั่งยืนมั่นคงและมีกำลังซื้อสูงแล้วอย่าง ตลาดประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย

การมีกฎหมายและนโยบายที่ประกันสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นทั้งเสาหลักและสปริงบอร์ดให้สตาร์ทอัพดิจิทัลของไทย และเป็นหลักประกันความมั่นใจให้บริษัทดิจิทัลใหญ่ๆทั่วโลกตัดสินใจมาฝากระบบไว้ในประเทศ

การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยในปี 2016 จึงเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมารฐานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับโลก

คำถามคือไทยมีพระราชาบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “ที่ได้มาตรฐานสากล” หรือไม่?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2