Skip to main content

หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้

1.       การรับรองสิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยยืนยันสิทธิส่วนบุคคลก่อนที่จะบอกว่า รัฐหรือบรรษัทมีอำนาจในการเข้าไปกักเก็บ ดัก หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ในมาตราแรกๆ ต้อง รับรองสิทธินี้ของบุคคลว่าเป็นเจ้าของข้อมูล มีสิทธิในการอนุญาตหรือปัดป้องการใช้ของมูลส่วนบุคคลโดยบริษัทหรือรัฐ

2.       การกำหนดนิยาม/องค์ประกอบว่าอะไร คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ให้รายละเอียดว่าข้อมูลใดบ้างที่ได้รับการคุ้มครอง หรือข้อมูลอ่อนไหวใดๆที่จะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ เช่น การกำหนดว่าธนาคารที่มีข้อมูลการใช้จ่ายผ่านระบบ E-Banking จะต้องรักษาข้อมูลอะไร และข้อมูลอ่อนไหวพิเศษ เช่น รหัส หรือธุรกรรมของลูกค้าไว้เป็นความลับห้ามทำให้รั่วไหลออกไปสู่บุคคลอื่น   หรือบอกเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ของข้อมูลบางประเภท ว่านำข้อมูลไปขายต่อให้บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้หรือไม่อย่างไร

3.       การกำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบและประมวลผลข้อมูล เนื่องจากผู้ที่จัดการข้อมูลทางเทคนิค คือ ผู้ประกอบการที่ได้ข้อมูลมา และอาจประมวลวิเคราะห์ผลจนได้รายงานต่างๆ แล้วส่งข้อมูลต่อ และขายต่อได้ เช่น กำหนดว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยี่ห้อต่างๆ ต้องรักษาข้อมูลการเข้าใช้เว็บไซต์ของประชาชน ไม่นำไปขายต่อให้บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจโดยพลการ  

4.       การประกันสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน/ผู้บริโภค โดยการลงลึกในสิทธิย่อยๆ เช่น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้อง “ยินยอม” ก่อนที่ผู้ประกอบการจะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือผู้ให้บริการต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลว่าจะมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล   ดังกรณีที่ก่อนการติดตั้งแอพลิเคชั่น หรือเข้าใช้เว็บไซต์ต่างๆ จะมีการแจ้งเตือนเรื่องสิทธิส่วนบุคคลทั้งหลาย (Privacy Policy)

5.       การกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและประมวลผล กำหนดหน้าที่ให้ผู้ควบคุมข้อมูลจัดการโดยเชื่อมโยงกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การบอกวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จะทำลายข้อมูลทิ้งเมื่อไหร่ และจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ประชาชนจะเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้หรือไม่

6.       การกำหนดเงื่อนไขในการส่งข้อมูลไปให้บุคคลที่สามหรือข้ามพรมแดน ครอบคลุมกรณีที่ผู้ที่จัดการข้อมูลรายแรกส่งต่อข้อมูลไปยังบริษัทแม่ของตนที่อยู่ต่างประเทศ หรือการส่งข้อมูลจากผู้ประกอบการรายหนึ่งไปผู้ประกอบการรายอื่น   เช่น   บริษัทกูเกิลในยุโรปต้องให้หลักประกันว่าการส่งข้อมูลไปยังกูเกิลสหรัฐจะมีการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานของอียู

7.       มาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากภัยพิบัติหรืออาชญากรรม  หน่วยงานรัฐ/ผู้ประกอบการเก็บมีหน้าที่ป้องกันภัยจาการโจรกรรมของข้อมูลโดยอาชญากร หรือแม้แต่การจารกรรมข้อมูลโดยผู้ก่อการร้าย หรือหน่วยงานรัฐ  รวมไปถึงกรณีเกิดภัยพิบัติธรรมชาติด้วย   เช่น   ติดตั้งเทคโนโลยีป้องกันที่ได้มาตรฐาน ISO ด้านการป้องกันความเสี่ยงต่อข้อมูล

8.       การกำหนดเงื่อนไขในการกักเก็บข้อมูล กำหนดขอบเขตระยะเวลาในการเก็บข้อมูล หากพ้นระยะเวลาที่กำหนดผู้ให้บริการสื่อสาร หรือหน่วยงานที่เก็บกักข้อมูลไว้จะต้องทำลายข้อมูลเหล่านั้นเสีย หรือไม่ส่งข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของประชาชนให้หน่วยงานความมั่นคงของรัฐ โดยไม่มีหมายศาลสั่งมา

9.       การปราบปรามอาชญากรรมป้องกันการก่อการร้าย   โดยขอข้อมูลส่วนบุคคลเป้าหมายที่เป็นภัยยึดโยงกับกระบวนการยุติธรรมและต้องมีหมายศาล โดยข้ออ้างทั้งหลายจะต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ มีความเสี่ยงเกิดอาชญากรรมตามประมวลกฎหมายอาญา หมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบสุข ชีวิต ทรัพย์สิน นั่นเอง มิใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยปราศจากการตรวจสอบจากศาล ไร้กลไกคุ้มครองสิทธิทั้งหลาย

10.       การสร้างกลไกหรือองค์กรในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องตั้งองค์กรขึ้นตรวจตราหน่วยงาน/ผู้ประกอบการต่างๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การปรับบทบาทของหน่วยงาน/องค์กรอิสระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคมให้รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ และออกมาตรการต่างๆเพื่อบังคับผู้ประกอบการ/หน่วยงานให้แก้ไขปัญหา หรือเป็นตัวแทนประชาชนในการฟ้องบังคับคดีในศาล

11.    การบังคับตามสิทธิโดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายมหาชนและโทษทางอาญา ออกแบบกลไกในการเข้าไปตรวจสอบ เพื่อระงับการละเมิดสิทธิ ปรับปรุงแก้ไขปัญหา หรือทำลายข้อมูลทิ้งที่เก็บหรือประมวลผลโดยขัดกับกฎหมายหรือผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับผู้ใช้บริการทั้งหลาย   เช่น   กรณีมีผู้ร้องเรียนว่าสถาบันทางการเงินเอาข้อมูลของลุกค้าไปขายต่อให้บริษัทอื่นๆ จนมีการติดต่อมาขายสินค้าทางโทรศัพท์หรืออีเมลล์ที่ได้มาจากสถาบันการเงินเหล่านั้น โดยที่เจ้าของข้อมูลมิได้ยินยอม  ก็ต้องมีการกำหนดบทลงโทษทางอาญาและมีมาตรการบังคับให้ยุติการส่งข้อมูลหรือทำลายข้อมูลทิ้งเสีย เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

12.    การสร้างช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์และกลไกเยียวยาสิทธิให้ประชาชน เนื่องจากผู้ใช้บริการคนเดียวอาจมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าบรรษัทหรือหน่วยงานรัฐที่เก็บข้อมูลของตนไว้ จึงต้องสร้างกลไกที่รับปัญหาของประชาชน เพื่อนำไปสู่การหามาตรการเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ถ้าเจ้าของข้อมูลเห็นว่าเว็บไซต์จัดหางานแห่งหนึ่งมีชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองซึ่งมีประวัติการทำงานผิดไป หรือมีเนื้อหาเท็จเกี่ยวกับชีวิตของตน ก็สามารถร้องขอให้ศาลหรือองค์กรคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบังคับให้เว็บไซต์เหล่านั้นลบข้อมูล หรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

เหล่านี้คือสิ่งที่รัฐพึงสวรก่อนออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว