Skip to main content

การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช. เป็นผู้ผลักดัน  บทความนี้จะไม่พูดถึงเนื้อหา เพราะได้มีข่าวเจาะจำนวนมากตีแผ่กันไปแล้ว แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้เจาะลึกให้สะเด็ดน้ำ คือ ทำไมคนจำนวนมากจึงตื่นตระหนกกับการผลักดันร่างแก้ไขฉบับนี้  และประเด็นไหนที่ “จุดติด” ในหมู่มวลมหาประชาชาวเน็ต

ขบวนการที่ผลักดันและมีมาตรการรุนแรงต่อเนื่อง คือ กลุ่มชาวเน็ตที่เกรงว่า พรบ.คอมพ์ จะก้าวล่วงล้วงมาดู “ชีวิตส่วนตัว” ในโลกออนไลน์มากที่สุด  มากกว่าประเด็น การเซ็นเซอร์ หรือการใช้ พรบ.คอมพ์ฯ ปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองเสียอีก   ดังปรากฏว่า มีการลากประเด็นการแก้ไข พรบ.คอมพ์ไปเชื่อมโยงกับโครงการรวบประตูไหลเวียนการจราจรอินเตอร์เน็ตมาอยู่ที่ช่องทางเดียว (พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์) ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง

แต่ประเด็น คือ ทำไมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตระหนกกับการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว มากกว่า การจำกัดการแสดงออก นั่นเอง

ทำไมคนไทยกลัว การสอดส่องด้วย Single Gateway ซึ่งละเมิดความเป็นส่วนตัว/ข้อมูลส่วนบุคคล มากกว่า การเซ็นเซอร์โดย พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ ที่กระเทือนเสรีภาพในการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิตัลและสังคมอุดมปัญญาพัฒนาเพราะความสร้างสรรค์เกิดจากการทำลายกรอบ หรือไร้กรอบ  นั่นคือ “ไม่ถูกจับจ้องควบคุม”
จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องลองวิเคราะห์ว่า ใคร ทำอะไร ในอินเตอร์เน็ต ถึงไม่อยากให้รัฐสอดส่อง
กลุ่มคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ (New Generation) ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก   คนกลุ่มนี้มีกิจกรรมเชิงผลประโยชน์ในโลกออนไลน์มหาศาล และไม่ต้องการให้ใครทราบถึงรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินการลงทุนผ่านโลกไซเบอร์

กลุ่มหลักๆ ที่เติบโตมากในระบบเศรษฐกิจไทย คือ
1) พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของวัฒนธรรม “ฝากร้านด้วยจ้า”

2) นักลงทุนดิจิตัล ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกที อาทิ เทรดเดอร์ FOREX, หุ้น, กองทุน, ตราสาร, เงิน, ทอง, น้ำมัน, สินค้าเกษตรล่วงหน้า

พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากธรรมชาติเดิมของการรณรงค์ประเด็นความเป็นธรรมทางสังคม ที่เน้นไปจับ กลุ่มคนที่มีสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะพลเมืองที่ตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งนับวันจะมีอัตราส่วนน้อย เพราะโดนตลาดบีบให้ทุ่มเทเวลาแทบทั้งหมดไปกับการ ดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ในสังคมทุนนิยมที่มีความอ่อนแอเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเช่นไทย   ความเสี่ยงในชีวิตส่วนตัวนี่เองที่ทำให้คนจำนวนมาก พุ่งความสนใจไปที่เรื่อง “ผลประโยชน์ส่วนตน” มากกว่า “สำนึกเกี่ยวกับสาธารณะ” ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้อื่น หรือการสร้างสังคมในอุดมคติเพื่อปวงชนเลย

การสนใจเรื่องส่วนตัวนี่แหละที่ทำให้ประเด็น “ความเป็นส่วนตัว” สำคัญมากกับชาวเน็ต มากกว่า “ประเด็นสาธารณะ” ที่ต้องการคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม   การรณรงค์ต่างๆ ที่จะได้รับความนิยม มีผู้ติดตามเข้าร่วมผลักดันประเด็นด้วยจำนวนมาก จึงต้องขยายไปทำงานกับคนกลุ่มหลักๆที่เป็นคนที่มีส่วนได้เสียในโลกออนไลน์อย่างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักเทรดดิจิตัลมากขึ้น นั่นเอง

นี่ยังไม่รวมถึงคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเชิงสันทนาการที่ต้องการความปลอดโปร่งโล่งสบาย ไร้คนจดจ้องในยามพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่า
1) เกมเมอร์ส
2) นักดูหนังและซีรีส์
3) นักเสพสื่อสายดาร์ค
4) นักปฏิบัติการด้านลิขสิทธิซ้ายและส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะวัฒนธรรมแม้ฐานะยากจน (นักอัพ/โหลด)

ก็อย่างที่รู้กัน ขบวนการที่สำเร็จมักมีลักษณะรวมแม่น้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน นั่นเอง (Inclusive Stake-Holders) การผลิตสื่อและเคลื่อนขบวนให้โดนกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 

กลับกันหากรัฐจะลดกระแสต่อต้านก็ต้องสนองตอบความกังวลของคนกลุ่มนี้ในประเด็นประกันความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

หากรัฐบาลต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลให้สตาร์ทอัพด้านไอทีมีลู่ทางในการเติบโตทางธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   การพร่ำพูดซ้ำๆว่าให้เชื่อใจว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้เข้าไปจับจ้องท่าน หรือพูดทำนองว่า “ถ้าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” ถือว่าไม่เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง

เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาก ย่อมรู้ดีว่าการนำเข้าข้อมูลเท็จมาฝากในเครื่องมือสื่อสารโดยอาศัยซอฟแวร์และมัลแวร์ต่างๆ เป็นไปได้หากมีทรัพยากรมากแบบรัฐ   ยิ่งถ้ารัฐล่วงรู้หมดว่า ใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไหร่ ถี่แค่ไหน ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใด  ย่อมเป็นที่สยดสยองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแน่นอน

ยิ่งไปพ่วงกับการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลหลายอย่าง อาทิ เลขบัตรประชาชน ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ เลขบัญชี ข้อมูลทางการเงิน การเสียภาษี แล้วผูกเข้าไปกับกิจกรรมในเครื่องมือสื่อสาร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตย่อมรู้สึกถูกต้นจนมุม ไม่เหลือพื้นที่สบายๆ ไว้ให้ผ่อนคลายอีกเลย

ความผ่อนคลายนี่แหละ คือ ที่มาของการจับจ่ายใช้สอยในอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และโครงการซิงเกิลเกตเวย์โดยตรง อย่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องออกแบบให้ ความไว้ใจของพลเมืองเน็ตเป็นที่ตั้ง  มิใช่ทำตัวเป็น #เทศกิจออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์ #มาเฟียดิจิตัล

หาไม่แล้ว เศรษฐกิจดิจตัล ก็เป็นเพียงอีกโวหารที่ผลาญงบประมาณแต่ไม่สร้างงานสร้างรายได้ให้คนรุ่นใหม่แต่อย่างใด
 

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2