Skip to main content

บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น

                ส่วนจะให้สนับสนุนก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ จึงของด เพราะส่วนตัวจะไปลงมติไม่รับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอยู่แล้ว ขอท่านผู้อ่านอย่าได้ปฏิบัติตาม

                การลงประชามติเป็นกระบวนการวัดคะแนนความเห็นของประชากร โดยสามารถกำหนดได้ว่า “ใครมีสิทธิลงคะแนน” หรือ “ลงคะแนนเรื่องอะไร” รวมไปถึง “ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร”

                การทำประชามติระดับชาติในทางหนึ่งเป็นวิธีการยุติความขัดแย้งแหลมคมของคนในชาติ หรือบางครั้งนำไปสู่การแบ่งแยกรัฐ หรือการสร้างรัฐใหม่  เพราะฉะนั้น กระบวนการและผลการลงคะแนนจึงมีผลต่ออนาคตอย่างแน่นอน ดังปรากฏใน การทำประชามติของสหราชอาณาจักร Brexit 2016

                คะแนนที่ออกมาสร้างความประหลาดใจให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะคนบริติชเอง จนถึงขนาดนำไปสู่การเรียกร้องให้ลงคะแนนกันอีกครั้ง เมื่อย้อนไปดูว่าใครโหวตให้ออก และโหวตเพราะอะไร จะพบสิ่งที่น่าสนใจว่า เหตุผลเชิงชาตินิยม และกระแสการต่อต้านผู้อพยพ คนชาติพันธุ์อื่นที่ดูไม่เป็น บริติชดั้งเดิม  โดยอาจไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมสหภาพยุโรปด้วยซ้ำ

                เมื่อบวกกับแคมเปญหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัพป์ ที่ต้องการขับไล่ผู้อพยพออกจากสหรัฐ ยิ่งชัดเจนว่า ปัญหา “การเหยียดสีผิว/ชาติพันธุ์” หลบซ่อนยังมีอยู่ แม้จะแสดงออกตรงๆ โต้งๆ ไม่ได้เพราะเสี่ยงจะผิดกฎหมาย หรือโดนสังคมประณาม แต่การลงคะแนนเสียงแบบลับ กลายเป็นทางออกของคนเหล่านี้ไป

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะอย่างที่เห็นว่า ทหาร ตำรวจ หรือ รปภ. ก็เต็มไปด้วยคนอพยพหรือลูกหลานผู้อพยพ มาโดยตลอด

 

                สิ่งที่ไม่พูดจริงๆ คือ แนวโน้มของคนรุ่นลูกหลานของ Baby Boomer ที่เสวยสุขจากลัทธิอรรถประโยชน์นิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นในยุโรป ที่ค่อนข้างสุขสบาย และมีเสรีภาพที่จะใช้ชีวิตแบบชิลๆ มากกว่า ที่ทำให้ อาชีพ งานช่าง ร้านค้า งานรับจ้าง และธุรกิจ SMEs ที่เป็นงานเหนื่อยหนักเริ่มไปอยู่ในมือผู้อพยพมากขึ้นๆ จนคนยูโรเปียนท้องถิ่นเริ่มวิตก

                แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้อพยพที่ปรับตัวไม่ได้แล้วกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย ก็กลายเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างตั้งใจของรัฐ คือ ไม่ให้เขามีงานทำแย่งโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่ผลักเขาเป็นอาชญากร ผู้ก่อการร้าย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การมี ทหาร ตำรวจ อุตสาหกรรมความมั่นคง/รักษาความปลอดภัย

 

In peaceful democratic society, number matters?!!! (ในสังคมสันติมีประชาธิปไตย จำนวนนับมีความหมาย) ประเด็นจำนวนประชากรที่เชื่อมโยงกับปริมาณชาติพันธุ์ต่างๆที่มีอำนาจในการกำหนดอนาคตสังคมนั้นๆ

 

                ปัญหาที่เป็นรากฐานของการแสดงความรังเกียจผ่านการลงคะแนนเสียง ไม่น่าจะเกิดจากการมีผู้อพยพมุสิลมในยุโรปมากขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ คนท้องถิ่นชาวคริสต์เกิดน้อยลงเรื่อยๆ มากกว่า นี่ยังไม่พูดถึง คนยุโรปที่เป็น Non-Religious มากขึ้นเรื่อยๆ หรือ การไม่สามารถหลอมรวม "คนอื่น" หรือ "ผู้มาใหม่/เกิดใหม่" ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม "ยุโรเปียน" มากกว่า
 

                ผมไม่ได้บอกว่า เสรีภาพในทางเพศหรือการมี/ไม่มีครอบครัว หรือ LGBTIQ เป็นปัญหาด้วยนะ ผมสนับสนุนการอยู่ร่วมกันของคู่หลากหลายทางเพศและรับบุตรบุญธรรมจากคนที่มีลูกแต่ไม่พร้อม ด้วยครับ

 

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะคนที่ต้านผู้อพยพพอไล่เหตุผลไปจะไปสุดตรงคำถามที่ว่า  "เราจ่ายเพื่อช่วยเหลือคนอื่นไปทำไม?"

                ในสังคมเขาก็เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ดีล่ะครับ เพราะโครงสร้างงบประมาณ มาจาก ภาษีทางตรง มากกว่า ภาษีทางอ้อม กลับหัวกลับหางกับรัฐไทย ที่งบประมาณส่วนใหญ่มาจากภาษีทางอ้อม (ยิ่งมีคนเข้ามามากผลิตมากบริโภคมาก รัฐยิ่งจัดเก็บรายได้เยอะ – รวมถึงการผลิต/บริโภคของแรงงานต่างชาติ)
 

                ถ้าจำนวนผลประโยชน์ที่คนอพยพจ่าย กับ ผลประโยชน์ที่ผู้อพยพได้ มันสมดุลย์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่ก็นั่นล่ะครับ เขาไม่ได้คิดกันแค่ "จำนวน" ง่ายๆ แบบนี้

เพราะมันมีอะไรที่มากกว่า "ตัวเลข" กระมังครับ

 

                เยอรมนีพร้อมและเปิดรับผู้อพยพมากกว่ารัฐอื่น เพราะมีประสบการณ์ในการรับผู้อพยพปริมาณมหาศาลมาเมื่อไม่นานมานี้ คือ ชาวเยอรมันตะวันออก เพื่อนร่วมชาติ ครับ

เขาคงเห็นแหละว่ามีแต่ได้กับได้ เมื่อเทียบกับมหาอำนาจคู่แข่งที่เป็นประเทศผู้อพยพเช่นกัน อย่างสหรัฐอเมริกา

 

                ทรัมพ์นี่ก็เป็นปฏิกิริยาของ กลุ่มผู้ไม่มีสำนึกทางประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน นะครับ เพราะ อเมริกันชน ก็คือ ผู้อพยพ โดยการคาดการณ์ว่าปี 2030 ประชากรที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่จะเกิน 50%


                ตอนประชามติ Brexit แล้วฝ่ายอยู่ (Remain) แพ้นั้น เพราะ คนรุ่นใหม่ คนรุ่น Digital ไม่ไปลงคะแนน แต่คนรุ่นเก่า Analog ไปลงคะแนนออก (Leave) (ทั้งที่โพลก่อนลงคะแนนฝ่าย Remain นำมา ทั้งในโพลอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์) และมีวิจัยด้วยว่า คนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสาร มักจะไม่ไปลงคะแนนเสียง แต่จะเสียเงินโหวตรายการเรียลลิตี้ หรือการทำโพลโหวตทางเทคโนโลยีสื่อสาร มากกว่า คือ เน้นการหยั่งเสียงผ่านเทคโนโลยีสื่อสารมากกว่า  แต่รัฐยังเป็น อนาล็อก อยู่นะครับ


                ทั้งหมดนี้ไม่ได้กดดันใครให้ไปโหวตยังไง แค่เล่า งานสายเทคโนโลยีกับความเคลื่อนไหวทางสังคม ให้ฟังครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2