Skip to main content

การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว

สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ กระแสแบ่งแยกดินแดนมาแรงมากถึงขนาด เช่น คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศห้ามหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นติดธงสัญลักษณ์แคมเปญประกาศอิสรภาพคาตาลัน ซึ่งหมายความว่า การติดธงสัญลักษณ์จะช่วยให้พรรคที่ใช้ประเด็นแบ่งแยกดินแดนหาเสียงได้ประโยชน์จากตราสัญลักษณ์นี้   และก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำพิพากษาว่า โรงเรียนที่อยู่ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นคาตาลุนญ่าบังคับใช้ภาษาคาตาลันสอนวิชาต่างๆมากไป ต้องใช้ภาษาสเปนมากขึ้น ด้วย

คำถาม คือ ทำไมรัฐที่มั่นคงและมีบูรณภาพแห่งดินแดนมาช้านานจึงยังหลงเหลือไฟครุกรุ่นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์

หากวิเคราะห์จากฟากประชาชน สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายขวาสมาทานนโยบายเศรษฐกิจแบบลดรายจ่ายภาครัฐ ส่งเสริมบรรษัทและนายทุน   ส่วนพรรคมวลชนฝ่ายซ้ายก็ดูแลสมาชิกสหภาพรุ่นเก๋าจนคนรุ่นใหม่เสื่อมศรัทธาในพรรค 

ความล้มเหลวของพรรคการเมืองระดับชาติสเปน ทำให้คนผิดหวัง จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม" จนสเปนเกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “Podemos” (เราทำได้) ขึ้นมา

พรรค Podemos นี้เน้นโจมตีนโยบายพรรคเก่าๆที่คงนโยบายสร้าง ความเหลื่อมล้ำ รัดเข็มขัด และผูกขาดอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ   แล้วมามุ่งตอบสนองมวลชนอย่างถูกที่ถูกเวลา ตามความต้องการของมวลชน   กระแสตอบรับ Podemos จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแคว้นที่ไม่มีปัญหา "ชาติพันธุ์" ถึงขั้นเป็นความขัดแย้งอยากแยกดินแดน   

แต่ในแคว้นที่มีรากเหง้าความขัดแย้งจากปัญหาชาติพันธุ์ ความอ่อนด้อยของพรรคทั้งสองทำให้เกิด “ความแหลมคม” ของสถานการณ์ เนื่องจากในแคว้นเหล่านี้ไม่น้อยมีความรู้สึกว่าไม่ด้อยกว่า คนคาสตีญ่า(แถบเมืองหลวงมาดริด) หรือคนอัลดาลูซ(แคว้นใหญ่สุดทางตอนใต้ใกล้อัฟริกา) และรู้สึก “แปลกแยก” จากคนสเปน มิได้มีสำนึกว่าเป็นคนชาติ เอสปันญ่อล เหมือนคนสเปนทั่วไป   จึงอยากจะออกแยกดินแดนออกไปบริหารงานเองดีกว่ากอดคอล่มสลายไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ร่อแร่ของสเปนในภาพรวม

สิ่งที่ต้องระลึกอย่าง คือ 19 เขตปกครองท้องถิ่นของสเปน มีความหลากหลายทางการเมืองมาก สเปนน่าจะถือว่าเป็นประเทศยุโรปที่มีการรวมศูนย์อำนาจน้อยสุด เนื่องจากมีการออกแบบเขตการปกครองระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจการในการปกครองตนเองสูง สามารถบริหารจัดการนโยบายต่างๆได้อย่างเป็นอิสระมาก ริเริ่มโครงการและสวัสดิการทั้งหลายต่างไปจากเขตปกครองอื่นได้   หากจะเทียบเคียงก็ใกล้กับมลรัฐต่างๆในสหรัฐอเมริกา   โดยทั้งหมดอยู่ในร่มของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความต้องการอิสระและการปกครองตนเองสูงมีที่มา สืบเนื่องจากความเจ็บปวดในช่วงสงครามกลางเมืองที่นายพลฟรังโกที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มอุดมการณ์ฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยลง แล้วสถาปนารัฐชาตินิยมฟาสซิสต์ขึ้นมา กดความแตกต่างหลากหลายในทุกภูมิภาคไว้ใต้ท้อปบู้ธนานนับ 40 ปี หลังจากระบอบเผด็จการล่มไปพร้อมกับความตายของฟรังโกในปี 1975 กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้มีการคิดค้นการสร้างสมดุลระหว่าง “อำนาจรัฐบาลส่วนกลาง” กับ “อำนาจรัฐบาลเขตปกครองท้องถิ่น” ให้เกิดความสมดุลเพื่อลดความตึงเครียดและความขัดแย้งภายในประเทศไว้เป็นสำคัญ จนกระทั่งประกาศใช้ในปี1978 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   รัฐธรรมนูญสเปนจึงเป็นการลดความขัดแย้งของคนในชาติด้วยการ ขีดแบ่ง และจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ลงตัว

แต่เมื่อถึงระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในยุคนี้ที่ เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายในชีวิตประจำวันของทุกคน การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ประชาชนพุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ทำให้ประชาชนในแคว้นที่มีสำนึกเรื่องชาติที่แปลกแยกไปจากส่วนกลางอยู่แล้ว เริ่มหวนกลับมาคิดว่า จะฝากอนาคตไว้กับชนชั้นนำสเปน หรือจะแยกออกมาแล้วจัดการกันเอง ให้รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่โหมซัดไปทั่วยุโรปใต้ได้อย่างไร

ดังนั้นชนชั้นนำและนักการเมืองท้องถิ่นในแคว้นที่มีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์อยู่แล้ว เลยถือโอกาสเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในการปลุกกระแสแยกดินแดนไปเลย   ซึ่งก็ทำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเปิดเผยเลยทีเดียว  อย่าง คาตาลุนญ่า บาสก์ และกาลีเซียง พรรคมวลชนที่มีกระแสดีระดับประเทศอย่าง Podemos ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับ กระแส "แยกดินแดน" หรือ "ชาติพันธุ์นิยม" ซึ่งมาแรงกว่า เพราะสามารถเชื่อมกลับไปยังรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ได้

การผลักดันแคมเปญโดยรัฐบาลแคว้นและนักการเมืองท้องถิ่นทำกันมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดระบอบเผด็จการ ก็มีการใช้จ่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกเช่นกัน  

การเมืองท้องถิ่น เลยใช้ประเด็นแยกดินแดนนี้มาหาเสียงแทนนโยบายอื่นๆ โดยผลักดันว่า ถ้าแยกมาบริหารเองจะดีกว่าไปผูกติดกับรัฐบาลกลางมาดริด และกลบความเน่าในที่เกิดจากการบริหารระดับท้องถิ่นเองด้วย

การเล่นเรื่องแยกดินแดน ได้ผลเนื่องจาก ประชาชนเบื่อหน่ายการบริหารงานแบบรวมศูนย์ของรัฐราชการสเปน และนักการเมืองท้องถิ่นก็เบี่ยงความเกลียดชังของประชาชนในแคว้นให้มุ่งไปโจมตีรัฐบาลกลาง พรรคระดับชาติ โดยฉวยใช้นโยบายชาตินิยมมาเป็นกุญแจสู่ชัยชนะ

การปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐราชการ และการตอบสนองความต้องการของมวลชนจึงเป็นวิธีการป้องกันกระแสแบ่งแยกดินแดนที่ยั่งยืน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2