Skip to main content

การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว

สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ กระแสแบ่งแยกดินแดนมาแรงมากถึงขนาด เช่น คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศห้ามหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นติดธงสัญลักษณ์แคมเปญประกาศอิสรภาพคาตาลัน ซึ่งหมายความว่า การติดธงสัญลักษณ์จะช่วยให้พรรคที่ใช้ประเด็นแบ่งแยกดินแดนหาเสียงได้ประโยชน์จากตราสัญลักษณ์นี้   และก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำพิพากษาว่า โรงเรียนที่อยู่ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นคาตาลุนญ่าบังคับใช้ภาษาคาตาลันสอนวิชาต่างๆมากไป ต้องใช้ภาษาสเปนมากขึ้น ด้วย

คำถาม คือ ทำไมรัฐที่มั่นคงและมีบูรณภาพแห่งดินแดนมาช้านานจึงยังหลงเหลือไฟครุกรุ่นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์

หากวิเคราะห์จากฟากประชาชน สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายขวาสมาทานนโยบายเศรษฐกิจแบบลดรายจ่ายภาครัฐ ส่งเสริมบรรษัทและนายทุน   ส่วนพรรคมวลชนฝ่ายซ้ายก็ดูแลสมาชิกสหภาพรุ่นเก๋าจนคนรุ่นใหม่เสื่อมศรัทธาในพรรค 

ความล้มเหลวของพรรคการเมืองระดับชาติสเปน ทำให้คนผิดหวัง จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม" จนสเปนเกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “Podemos” (เราทำได้) ขึ้นมา

พรรค Podemos นี้เน้นโจมตีนโยบายพรรคเก่าๆที่คงนโยบายสร้าง ความเหลื่อมล้ำ รัดเข็มขัด และผูกขาดอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ   แล้วมามุ่งตอบสนองมวลชนอย่างถูกที่ถูกเวลา ตามความต้องการของมวลชน   กระแสตอบรับ Podemos จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแคว้นที่ไม่มีปัญหา "ชาติพันธุ์" ถึงขั้นเป็นความขัดแย้งอยากแยกดินแดน   

แต่ในแคว้นที่มีรากเหง้าความขัดแย้งจากปัญหาชาติพันธุ์ ความอ่อนด้อยของพรรคทั้งสองทำให้เกิด “ความแหลมคม” ของสถานการณ์ เนื่องจากในแคว้นเหล่านี้ไม่น้อยมีความรู้สึกว่าไม่ด้อยกว่า คนคาสตีญ่า(แถบเมืองหลวงมาดริด) หรือคนอัลดาลูซ(แคว้นใหญ่สุดทางตอนใต้ใกล้อัฟริกา) และรู้สึก “แปลกแยก” จากคนสเปน มิได้มีสำนึกว่าเป็นคนชาติ เอสปันญ่อล เหมือนคนสเปนทั่วไป   จึงอยากจะออกแยกดินแดนออกไปบริหารงานเองดีกว่ากอดคอล่มสลายไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ร่อแร่ของสเปนในภาพรวม

สิ่งที่ต้องระลึกอย่าง คือ 19 เขตปกครองท้องถิ่นของสเปน มีความหลากหลายทางการเมืองมาก สเปนน่าจะถือว่าเป็นประเทศยุโรปที่มีการรวมศูนย์อำนาจน้อยสุด เนื่องจากมีการออกแบบเขตการปกครองระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจการในการปกครองตนเองสูง สามารถบริหารจัดการนโยบายต่างๆได้อย่างเป็นอิสระมาก ริเริ่มโครงการและสวัสดิการทั้งหลายต่างไปจากเขตปกครองอื่นได้   หากจะเทียบเคียงก็ใกล้กับมลรัฐต่างๆในสหรัฐอเมริกา   โดยทั้งหมดอยู่ในร่มของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความต้องการอิสระและการปกครองตนเองสูงมีที่มา สืบเนื่องจากความเจ็บปวดในช่วงสงครามกลางเมืองที่นายพลฟรังโกที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มอุดมการณ์ฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยลง แล้วสถาปนารัฐชาตินิยมฟาสซิสต์ขึ้นมา กดความแตกต่างหลากหลายในทุกภูมิภาคไว้ใต้ท้อปบู้ธนานนับ 40 ปี หลังจากระบอบเผด็จการล่มไปพร้อมกับความตายของฟรังโกในปี 1975 กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้มีการคิดค้นการสร้างสมดุลระหว่าง “อำนาจรัฐบาลส่วนกลาง” กับ “อำนาจรัฐบาลเขตปกครองท้องถิ่น” ให้เกิดความสมดุลเพื่อลดความตึงเครียดและความขัดแย้งภายในประเทศไว้เป็นสำคัญ จนกระทั่งประกาศใช้ในปี1978 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   รัฐธรรมนูญสเปนจึงเป็นการลดความขัดแย้งของคนในชาติด้วยการ ขีดแบ่ง และจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ลงตัว

แต่เมื่อถึงระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในยุคนี้ที่ เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายในชีวิตประจำวันของทุกคน การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ประชาชนพุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ทำให้ประชาชนในแคว้นที่มีสำนึกเรื่องชาติที่แปลกแยกไปจากส่วนกลางอยู่แล้ว เริ่มหวนกลับมาคิดว่า จะฝากอนาคตไว้กับชนชั้นนำสเปน หรือจะแยกออกมาแล้วจัดการกันเอง ให้รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่โหมซัดไปทั่วยุโรปใต้ได้อย่างไร

ดังนั้นชนชั้นนำและนักการเมืองท้องถิ่นในแคว้นที่มีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์อยู่แล้ว เลยถือโอกาสเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในการปลุกกระแสแยกดินแดนไปเลย   ซึ่งก็ทำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเปิดเผยเลยทีเดียว  อย่าง คาตาลุนญ่า บาสก์ และกาลีเซียง พรรคมวลชนที่มีกระแสดีระดับประเทศอย่าง Podemos ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับ กระแส "แยกดินแดน" หรือ "ชาติพันธุ์นิยม" ซึ่งมาแรงกว่า เพราะสามารถเชื่อมกลับไปยังรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ได้

การผลักดันแคมเปญโดยรัฐบาลแคว้นและนักการเมืองท้องถิ่นทำกันมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดระบอบเผด็จการ ก็มีการใช้จ่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกเช่นกัน  

การเมืองท้องถิ่น เลยใช้ประเด็นแยกดินแดนนี้มาหาเสียงแทนนโยบายอื่นๆ โดยผลักดันว่า ถ้าแยกมาบริหารเองจะดีกว่าไปผูกติดกับรัฐบาลกลางมาดริด และกลบความเน่าในที่เกิดจากการบริหารระดับท้องถิ่นเองด้วย

การเล่นเรื่องแยกดินแดน ได้ผลเนื่องจาก ประชาชนเบื่อหน่ายการบริหารงานแบบรวมศูนย์ของรัฐราชการสเปน และนักการเมืองท้องถิ่นก็เบี่ยงความเกลียดชังของประชาชนในแคว้นให้มุ่งไปโจมตีรัฐบาลกลาง พรรคระดับชาติ โดยฉวยใช้นโยบายชาตินิยมมาเป็นกุญแจสู่ชัยชนะ

การปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐราชการ และการตอบสนองความต้องการของมวลชนจึงเป็นวิธีการป้องกันกระแสแบ่งแยกดินแดนที่ยั่งยืน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า