Skip to main content

หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ

การหาวิธีการอำนวยความยุติธรรมในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนคนสามัญ น่าจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนที่มีทุนสังคมต่ำ(เส้นสายน้อยหรือไม่มี) สามารถต่อรองหรือได้รับการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวกหรือเป็นไปได้มากขึ้นน่ะครับ

จะเป็นเรื่องกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางบังคับบัญชา เพิ่มเครือข่ายหรือองค์กรใหม่ๆให้คนตัวเล็กๆได้เกาะเกี่ยว

หรือจะเป็นแบบเดิมๆที่เสนอแบบลอกฝรั่งมา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐที่รับร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาประชาชน

แต่เท่าที่ดูๆ หลายโมเดล พบว่า การนำระบบตลาดในทางยุติธรรมมาช่วย กลับได้ผลครับ

ยกตัวอย่างนะครับ แต่ก่อนในประเทสอุตสาหกรรม โรงงานปล่อยมลพิษสู่สาธารณะบ่อยมาก แต่พอเริ่มมีสำนักงานทนายมาจับคดีนี้ แล้วฟ้องให้ชาวบ้าน จนสำเร็จ หรือทำให้บรรษัทต้องเข้ามาเจรจาจ่ายค่าเสียหาย พบว่า มีสนง.ทนาย แห่กันไปหาชาวบ้านพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษ เพื่อฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

ไม่ใช่คนดีรักความยุติธรรมอะไรหรอกครับ แต่เม็ดเงินมันใหญ่มาก

รวมไปถึงคดี ฟ้องหมอรักษาห่วย  ฟ้องตำรวจฟ้องผู้ต้องหา หรือคดีสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย

คือพูดง่ายๆ ถ้าเราคาดหวังแค่อุดมการณ์ ความยุติธรรม คงไม่มีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องและอยากมั่นคงมีครอบครัว เข้ามาช่วยแสวงหาความยุติธรรมให้กับชาวบ้านหรอกครับ

อย่างเมืองไทยเนี่ย แค่ ENlaw กับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ก็รับคดีทั่วราชอาณาจักรกันแทบอ้วก เพราะต้องทำกึ่งฟรี

แต่ถ้าเมื่อไหร่คดีเหล่านี้เป็น "เงิน"  การอำนวยความยุติธรรมด้วยมืออาชีพมาแน่ครับ

อันนี้ผมลองเสนอแบบให้เข้ากับโทนบทความอาจารย์ที่ว่าสังคมมีแนวโน้มเป็น "ปัจเจก" มากขึ้นเลยนะครับ

กลับไปก็ว่าจะสร้างเครือข่ายกับลูกศิษย์ที่มีแววปั้นทนายขึ้นมาสักกลุ่มรับทำคดีพวกนี้แล้วให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยครับ

สรุป ถ้าจะประยุกต์เป็นวิจัย ก็น่าจะทำวิจัยว่า โมเดลหรือวิธีการไหนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น เทียบกันเลยก็ได้ครับ ระหว่าง รัฐทำ ภาคประชาสังคมทำ ภาคประชาชนทำ หรือสมาคมวิชาชีพ  หรือสำนักงานทนายเอกชน ทำกันแน่  มีหลายประเทศให้เลือกสรร ครับ

ถ้า เมธีวิจัยอาวุโสสนับสนุน ทศพล ยอมเหนื่อยช่วยหาคนมาทำโครงการวิจัยให้ได้ครับ

แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ก็ต้องทำครบวงจรแบบที่บรรษัททำ คือ นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ยังต้องมีนักสื่อสาร นักยุทธศาสตร์ และนักรบ/รักษาความปลอดภัย และเส้นสายกับภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงงานด้านข่าวกรองและต่อต้านจารกรรม ด้วย

เห็นแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์ด้วยคบไฟแห่งระบบตลาด 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
6. ต่อสู้กับอาชญากรรม
ทศพล ทรรศนพรรณ
3.การกำกับดูแล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทนำ            การมีชีวิตอยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “เกม” (Ga
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media
ทศพล ทรรศนพรรณ
5. ความหละหลวมทางความมั่นคงทางไซเบอร์นำไปสู่ชัยชนะของทรัมป์        
ทศพล ทรรศนพรรณ
 1.         บทนำเข้าสู่กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล    
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีว
ทศพล ทรรศนพรรณ
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล
ทศพล ทรรศนพรรณ
            สถานการณ์เขม็งเกลียวทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการพยายามผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย(ตัน) ของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีคะแนนเสียงในสภาล่างถึง 310 เสียงนั้น   ได้ผลักให้ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2553 และประชาชนผู้รัก