Skip to main content

ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกรรมตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆของตลาด  

ยิ่งธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้วสามารถทะลุทะลวงไปเจาะตลาดในต่างประเทศหรือดึงดูดนักลงทุนหรือลูกค้าจากต่างประเทศมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าได้ก็ยิ่งเป็นที่ปรารถนาของรัฐบาล เป็นตัวช่วยขับดันเศรษฐกิจที่ใครๆก็รู้ว่าโดนกีดกันอันเนื่องมาจากระบอบการเมืองการปกครองประเทศในตอนนี้

เมื่อพูดว่ารัฐจะลงมาช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการรายย่อยหน้าใหม่ๆ เข้าสู่โครงการตั้งตัวสร้างธุรกิจ ทำให้คิดขึ้นได้ทันทีว่า ใช้พลังภายในอะไรมาขับเคลื่อน?   เห็นจะไม่พ้นงบประมาณ และการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ

รัฐในปัจจุบันมักถูกเรียกร้องให้แสดงบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือเข้าไปแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด จนลืมไปว่าต้องตั้งสติให้ดีว่า อะไรเป็นหน้าที่ของรัฐบ้าง สิ่งไหนรัฐแค่อำนวยความสะดวก และประเด็นไหนที่รัฐต้องเข้าไปกำกับควบคุม หรืออะไรที่รัฐต้องลงไปทำเสียเอง 

ความเหมาะสมตรงนี้ไม่ได้เอามาวัดผลงานรัฐบาล แต่จะเป็นตัวบอกว่า ผู้ประกอบการจะยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองต่อไปได้หรือไม่ เมื่อหมดกำลังภายในของรัฐพยุงอีกต่อไปแล้ว

ระบอบเศรษฐกิจการเมืองที่รัฐเลือกจะเป็นตัวบอกว่า รัฐเข้ามาแทรกแซงมากน้อยเพียงไร และเอกชนต้องช่วยเหลือตัวเองมากขนาดไหน  ไล่มาตั้งแต่  รัฐรวบอำนาจทุกอย่างมาทำเองแบบรวมศูนย์การตัดสินใจ   รัฐออกกฎระเบียบไว้แล้วให้สมาคมผู้ประกอบการไปดำเนินการตามแนวทางและควบคุมกันเอง ไปจนถึงการปล่อยให้ผู้ประกอบการสร้างอาณาจักรธุรกิจและวางกฎกติกาโดยการตกลงกับลูกค้าโดยตรง ฯลฯ

หากมองธุรกิจที่พูดถึงเยอะในยุคเศรษฐกิจดิจิตัลที่รัฐแถลงไว้ว่าจะใช้เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน  “ธุรกิจบริการ” โดยใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร น่าจะเป็นสิ่งที่ควรหยิบมาวิเคราะห์

ประเด็นนี้โดนนักคิดบางส่วนดักทางไว้แต่ต้นว่า โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของรัฐบาลเป็นการหาเสียงเชิงประชานิยมกับ “ชนชั้นกลางที่มีการศึกษา” หรือไม่?  เพราะรูปแบบการเขียนโครงการเอย การพัฒนานวัตกรรม การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ล้วนแล้วแต่ไกลเกิน คนรากหญ้าที่ทำมาหากินข้างถนนหรือในชนบท

ยิ่งมีชนักติดหลังเกี่ยวกับการเคยโจมตีนโยบายประชานิยมของรัฐบาลเลือกตั้งว่า เอาเงินไปโปรยให้กับวิสาหกิจชุมชนแบบประชานิยม ทั้งกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน ที่กลายเป็นการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซื้อโทรศัพท์ มอเตอร์ไซค์ รถกระบะ (มีวิจัยพบว่า ชาวบ้านซื้อมือถือเพื่อติดต่อซื้อขายและรับจ้างงาน มอเตอร์ไซค์ทำให้ความสามารถในการออกไปรับจ้างได้ไกลขึ้น รถกระบะทำให้ส่งของหรือไปรับงานต่างถิ่นได้กว้างขึ้น)

หากมองว่า ธุรกิจใดจะรอดได้มีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Speed  เพิ่มความเร็วในการให้บริการ ขาย/ส่งสินค้า รวมไปถึงสะดวกสบายให้กับลูกค้า

2. Diversity รองรับความต้องการที่มากมายจากลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ต่างพื้นที่ หรือมีเวลาในการซื้อขาย/ใช้บริการไม่ประจำ

3. Trust ประกันความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าธุรกรรมที่ทำไปจะมีผลบังคับได้จริง และได้รับการดูแลเป็นอย่างดีหากมีปัญหา
เราจะเห็นว่า บทบาทภาครัฐที่แท้จริงอยู่ที่ ข้อ 3 คือการสร้าง “ความไว้วางใจ” ให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรงในการกำหนดกฎเกณฑ์และบังคับให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสัญญาที่ได้ให้ไว้ และปรับปรุงบริการให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง กลับเป็นภาครัฐทยอยใช้อำนาจกฎหมายทื่อๆและล้าหลังเข้าไปปิด โมเดลธุรกิจที่ Startup มาจากต่างประเทศ และเริ่มมีผู้ประกอบการรายย่อยไทยเข้าไปร่วม อาทิ UberMoto, GrabBike, Airbnb โดยมีสาเหตุหลักจริงๆ จากการเสียประโยชน์ของผู้อยู่ในตลาดมาก่อน และมีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ได้ประโยชน์รู้สึกวิตกกังวลจนต้องสกัดกั้น  และนำมาสู่การลอกโมเดลธุรกิจมาทำเองในนามของ “รัฐ”  มิพักต้องพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ หรือโครงสร้างบริษัทประชารัฐกลุ่มทุนเดิมๆเข้ามาอยู่กุมบังเหียน  

จนชวนให้คิดไปว่า รัฐไทยมีการจัดระบอบเศรษฐกิจการเมือง อย่างไรกันแน่? 

เอกชนควรจะเป็นแรงขับดันหลัก หรือผู้ประกอบการรายย่อยต้องเข้าไปสยบต่อรัฐ หรืออยู่เป็นลูกไล่ของทุนใหญ่

หากมองว่า ทุนของรัฐไทย ที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจได้ ก็มีธุรกิจอีกกลุ่มที่น่าพูดถึง คือ ธุรกิจที่ใช้มรดกทางวัฒนธรรม เป็นศูนย์กลาง นั่นก็คือ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ รวมไปถึงการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่มีข่าวว่า ประเทศเพื่อนบ้านขอขึ้นทะเบียน "โขน" เป็น Intangible Cultural Heritage: ICH ตามอนุสัญญา Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage  มีข่าวว่า ไม่ต้องตกใจ เพราะเราก็เตรียมการเรื่อง "โขน" ไว้แล้ว  อีกทั้งยังมีอีก 4 รายการ คือ นวดแผนไทย โนราห์ มวยไทย และสำรับอาหารไทย   แต่จริงๆเรายังทำไม่ได้เพราะเราไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ

กฎหมายระหว่างประเทศสายอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมรดกวัฒนธรรม ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม มักจะต้องพยายามหาวิธีการชักจูงให้รัฐภาคีดูแล "มรดก" ที่อยู่ในเขตอำนาจของตน


 

การจดทะเบียน หรือ ขึ้นทะเบียน มิได้ทำให้ กรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของเปลี่ยนไปก็จริง แต่สิ่งที่เกิดคือ

การนำไปใช้ประโยชน์ในทางการตลาดท่องเที่ยวระดับโลก เพราะเป็นการผูกเอา มรดกนั้นเข้ากับรัฐ กลายเป็น Brand สำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามา เพื่อเสริมสร้าง ตำแหน่งแห่งที่ของตน Position ให้คนที่กำลังตัดสินใจเห็นชัดขึ้น

ใน ยุโรปตะวันตก กับ ญี่ปุ่น นี่ยื่นจดทะเบียนกันมากมายทั้งมรดก "อรูป" และ มรดกวัฒนธรรม/ธรรมชาติ   ซึ่งเอกชนทำเองไม่ได้ นี่เป็น หน้าที่รัฐในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ใช้กฎหมายภายในไปห้ามโน่น ห้ามนี่ กีดกันไปเรื่อย

จริงอยู่ว่าไม่ถึงกับต้องเดือดร้อนถึงขั้นเป็นความขัดแย้งทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ การช้ากว่าทุกก้าวย่อมเป็น “ต้นทุนค่าเสียโอกาส”  กล่าวคือ  การขึ้นทะเบียน “วัฒนธรรมอรูป” โดยเชื่อมกับชื่อของ “รัฐ” นั้นประเทศที่มีชื่อจะได้ประโยชน์ในเชิง Branding และสร้าง Positioning ในทางธุรกิจการท่องเที่ยว และสินค้า/บริการ วัฒนธรรม ระหว่างประเทศครับ

มีกรณีศึกษาของกลุ่มประเทศโลกที่ 3  จดทะเบียนมรดกวัฒนธรรมต่างๆ ไป ทั้ง “วัฒนธรรมอรูป” หรือ “มรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติ” (ตาม Convention Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage – เขาใหญ่ และกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร) โดยมิได้สร้างเครือข่ายในการหาประโยชน์มาล้อมไว้ให้พร้อม   ก็จะเกิดการสูญเสียโอกาสและถูกชุบมือเปิบไปนั่นก็คือ บรรษัทข้ามชาติมาล้อมหมด ทั้งโรงแรม และร้านอาหาร ทัวร์ สินค้าที่ระลึก ปลอดภาษี และการเดินทางของคนและสินค้า


หากรัฐต้องการขับเคลื่อนภาคธุรกิจก็ต้องรู้หน้าที่หลัก และเร่งดำเนินการประสานกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นในการเร่งทำข้อมูลและขึ้นทะเบียนมรดกทั้งหลาย

ครับ ปัญหาคลาสสิกของราชการไทย

ส่วนเรื่องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆปล่อยให้ผู้ประกอบการหาทางกันไปถ้ามันมีช่องทาง จะห้ามทำไมล่ะครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว