Skip to main content

เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น

การป้องกันเหตุวินาศกรรมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จึงเป็นแนวทางที่รัฐจำนวนมากเลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้บริโภคทั้งหลายเพื่อให้แน่ใจว่า หากมาใช้บริการแล้วจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในพื้นที่ของเอกชนจึงต้องมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการด้านความปลอดภัยมาทำหน้าที่ประจำ และมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สอดส่อง ตรวจตราบุคคลมาไว้ใช้

ระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่พูดถึงกันมาก คือ ระบบไบโอเมตริกซ์ และเทคโนโลยียืนยันตัวบุคคล ซึ่งยังมีการสับสนมากว่า คืออะไร และประเทศไทยมีการนำระบบและเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้แล้วหรือไม่

ระบบไบโอเมตริกซ์ คือ ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมเอาข้อมูลทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ สีผิว กรุ้ปเลือด พันธุกรรม ของ “บุคคลเป้าหมาย” เพื่อประกอบกันเป็นฐานข้อมูลของประชากรแต่ละคน โดยที่บุคคลทั้งหลายอาจไม่เคยรับรู้เลยก็ได้ว่ามีข้อมูลใดของตนบ้างที่อยู่ในการครอบครองของเจ้าของระบบบ้าง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงานเจ้าของระบบว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลชุดต่างๆมาเชื่อมโยงสร้างเป็นฐานประวัติของบุคคลได้บ้าง

นอกจากนี้องค์กรต่างๆยังพยายามเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลให้กว้างและลึกที่สุดเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อยอด เช่น   ข้อมูลพื้นฐานในทะเบียนราษฎร์ วันเดือนปีเกิด ภูมิลำเนา เบอร์ติดต่อ แล้วขยายไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต อีเมลล์ การเดินทาง การใช้จ่ายเงินผ่านบัตรอิเล็คโทรนิกส์ หรือแม้กระทั่งข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย การยืมอ่านหนังสือ และการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหลาย ฯลฯ   ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรเจ้าของระบบมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน

แต่ปัจจุบันก็ปรากฏข้อกังวลในประเทศผู้ใช้เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลว่า “ละเมิดความเป็นส่วนตัว” และขัดต่อหลักการ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ที่กฎหมายรับรองสิทธิไว้ให้ประชาชนปลอดจากการแทรกแซงตามอำเภอใจ   รัฐและองค์การระหว่างประเทศจึงต้องถ่วงดุลย์เรื่องความมั่นคงกับสิทธิมนุษยชน ด้วยการร่างกฎหมายและสนธิสัญญา

การลงทุนสร้างฐานข้อมูลเพื่อสอดส่องบุคคลจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายเหล่านี้ด้วย เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลไปโดยมิชอบ จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ อันจะขยายวงไปสู่ความกังวลและยุติการทำธุรกรรมของประชาชนทั่วไป เพราะรู้สึกว่ากำลังถูกจับจ้องอยู่

ฐานข้อมูลหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบสร้างไบโอเมตริกซ์ คือ เทคโนโลยีการยืนยันบุคคลโดยใช้ใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งมีใช้มานานกว่าทศวรรษในประเทศเจ้าของเทคโนโลยี แต่ประเทศไทยมิได้มีการลงทุนประเทศนี้ จนมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้การนำของฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องลงทุนขนานใหญ่เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้บริโภค

เทคโนโลยียืนยันตัวบุคคลนี้ ประกอบด้วยข้อมูลสองชุดใหญ่ๆ คือ รูปใบหน้าในฐานข้อมูลที่เก็บไว้โดยรัฐ/องค์กร กับ รูปใบหน้าที่ติดอยู่ในเอกสารยืนยันสถานะบุคคลที่ถือโดยเจ้าของตัวตน   ในหลายประเทศได้มีการฝังชิปเพื่อตรวจจับโครงหน้าและรายะลเอียดบนใบหน้าไว้ในรูปถ่ายติดบัตร/หนังสือ ที่ประชาชนถือ จนเป็นที่มาของมุขตลกสมัย โน้ตเดี่ยว 8 ที่ว่า ทำไมรูปถ่ายขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาจะต้องเห็นหูและเปิดหน้าผาก

โครงหน้า สีผิว และอวัยวะบนใบหน้า จึงเป็นวัตถุแห่งการตรวจสอบ  ดังนั้นผู้ก่อการร้าย สายลับ หรืออาชญากร จึงมีความพยายามในการปรับแปลงโฉมหน้าตลอดเวลาเพื่อมิให้ระบบเฝ้าระวังต่างๆตรวจจับตนได้   เช่น ในพื้นที่เศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรม รัฐและองค์กรเอกชนจะมีกล้องถ่ายภาพและการเคลื่อนไหวตลอดเวลา   หากมีบุคคลต้องสงสัยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ก็อาจมีการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังผู้ที่รับผิดชอบ

ดังนั้นการลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพของอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในประเทศทุนนิยมจึงเกิดขึ้นตามการเติบโตของเมืองและตลาดทางเศรษฐกิจ  แต่ต้องย้ำว่า ซื้อมาโดยไม่ปรับเข้ากับรูปหน้าหรือกิจกรรมของประชากรตนก็ไม่ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจที่ลงทุนเรื่องนี้มากและพยายามส่งออกระบบเหล่านี้ให้ประเทศอื่นใช้เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลของประเทศต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งกับระบบตนหรือในนามองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ตำรวจสากล INTERPOL หรือ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ NSA

อย่างไรก็ดีสิ่งที่มากกว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยี คือ การข่าวที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาเสริมฐานข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล “ตัวบุคคล” เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคคลที่อาจปฏิบัติการร่วมกัน หรืออยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ  

ประเทศไทยนอกจากจะโชคดีมีความปลอดภัยเนื่องจากผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากร ละเว้นการก่อวินาศกรรมเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งกบดาน หรือประเทศทางผ่านในการหลบหนีไปประเทศอื่นแล้ว   มิตรประเทศทั่วโลกยังได้ประสานข่าวกรองกับหน่วยงานความมั่นคงไทยด้วย 

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ปรากฏตัวเลขการลงทุนช่วยเหลือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆในปีท้ายๆ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารแล้วรัฐบาลสหรัฐต้องยุติการสนับสนุนงบประมาณไปตามเงื่อนไขของข้อกฎหมายที่ “ห้ามมีความสัมพันธ์กับรัฐเผด็จการทหาร” เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรปและประเทศประชาธิปไตยอื่น

การรักษาความมั่นคงภายใต้ร่มประชาธิปไตยของโลกจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อุกกาบาต อนุสาวรีย์ นั้นไม่เกี่ยว

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2