Skip to main content

เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น

การป้องกันเหตุวินาศกรรมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จึงเป็นแนวทางที่รัฐจำนวนมากเลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้บริโภคทั้งหลายเพื่อให้แน่ใจว่า หากมาใช้บริการแล้วจะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในพื้นที่ของเอกชนจึงต้องมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการด้านความปลอดภัยมาทำหน้าที่ประจำ และมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สอดส่อง ตรวจตราบุคคลมาไว้ใช้

ระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีที่พูดถึงกันมาก คือ ระบบไบโอเมตริกซ์ และเทคโนโลยียืนยันตัวบุคคล ซึ่งยังมีการสับสนมากว่า คืออะไร และประเทศไทยมีการนำระบบและเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้แล้วหรือไม่

ระบบไบโอเมตริกซ์ คือ ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมเอาข้อมูลทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ สีผิว กรุ้ปเลือด พันธุกรรม ของ “บุคคลเป้าหมาย” เพื่อประกอบกันเป็นฐานข้อมูลของประชากรแต่ละคน โดยที่บุคคลทั้งหลายอาจไม่เคยรับรู้เลยก็ได้ว่ามีข้อมูลใดของตนบ้างที่อยู่ในการครอบครองของเจ้าของระบบบ้าง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของหน่วยงานเจ้าของระบบว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลชุดต่างๆมาเชื่อมโยงสร้างเป็นฐานประวัติของบุคคลได้บ้าง

นอกจากนี้องค์กรต่างๆยังพยายามเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลให้กว้างและลึกที่สุดเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อยอด เช่น   ข้อมูลพื้นฐานในทะเบียนราษฎร์ วันเดือนปีเกิด ภูมิลำเนา เบอร์ติดต่อ แล้วขยายไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต อีเมลล์ การเดินทาง การใช้จ่ายเงินผ่านบัตรอิเล็คโทรนิกส์ หรือแม้กระทั่งข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย การยืมอ่านหนังสือ และการดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหลาย ฯลฯ   ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรเจ้าของระบบมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน

แต่ปัจจุบันก็ปรากฏข้อกังวลในประเทศผู้ใช้เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลว่า “ละเมิดความเป็นส่วนตัว” และขัดต่อหลักการ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ที่กฎหมายรับรองสิทธิไว้ให้ประชาชนปลอดจากการแทรกแซงตามอำเภอใจ   รัฐและองค์การระหว่างประเทศจึงต้องถ่วงดุลย์เรื่องความมั่นคงกับสิทธิมนุษยชน ด้วยการร่างกฎหมายและสนธิสัญญา

การลงทุนสร้างฐานข้อมูลเพื่อสอดส่องบุคคลจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายเหล่านี้ด้วย เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลไปโดยมิชอบ จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ อันจะขยายวงไปสู่ความกังวลและยุติการทำธุรกรรมของประชาชนทั่วไป เพราะรู้สึกว่ากำลังถูกจับจ้องอยู่

ฐานข้อมูลหนึ่งที่นำมาใช้ประกอบสร้างไบโอเมตริกซ์ คือ เทคโนโลยีการยืนยันบุคคลโดยใช้ใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งมีใช้มานานกว่าทศวรรษในประเทศเจ้าของเทคโนโลยี แต่ประเทศไทยมิได้มีการลงทุนประเทศนี้ จนมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยที่อยู่ภายใต้การนำของฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องลงทุนขนานใหญ่เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้บริโภค

เทคโนโลยียืนยันตัวบุคคลนี้ ประกอบด้วยข้อมูลสองชุดใหญ่ๆ คือ รูปใบหน้าในฐานข้อมูลที่เก็บไว้โดยรัฐ/องค์กร กับ รูปใบหน้าที่ติดอยู่ในเอกสารยืนยันสถานะบุคคลที่ถือโดยเจ้าของตัวตน   ในหลายประเทศได้มีการฝังชิปเพื่อตรวจจับโครงหน้าและรายะลเอียดบนใบหน้าไว้ในรูปถ่ายติดบัตร/หนังสือ ที่ประชาชนถือ จนเป็นที่มาของมุขตลกสมัย โน้ตเดี่ยว 8 ที่ว่า ทำไมรูปถ่ายขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาจะต้องเห็นหูและเปิดหน้าผาก

โครงหน้า สีผิว และอวัยวะบนใบหน้า จึงเป็นวัตถุแห่งการตรวจสอบ  ดังนั้นผู้ก่อการร้าย สายลับ หรืออาชญากร จึงมีความพยายามในการปรับแปลงโฉมหน้าตลอดเวลาเพื่อมิให้ระบบเฝ้าระวังต่างๆตรวจจับตนได้   เช่น ในพื้นที่เศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการก่อวินาศกรรม รัฐและองค์กรเอกชนจะมีกล้องถ่ายภาพและการเคลื่อนไหวตลอดเวลา   หากมีบุคคลต้องสงสัยเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ก็อาจมีการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังผู้ที่รับผิดชอบ

ดังนั้นการลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพของอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในประเทศทุนนิยมจึงเกิดขึ้นตามการเติบโตของเมืองและตลาดทางเศรษฐกิจ  แต่ต้องย้ำว่า ซื้อมาโดยไม่ปรับเข้ากับรูปหน้าหรือกิจกรรมของประชากรตนก็ไม่ได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจที่ลงทุนเรื่องนี้มากและพยายามส่งออกระบบเหล่านี้ให้ประเทศอื่นใช้เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลของประเทศต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งกับระบบตนหรือในนามองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ตำรวจสากล INTERPOL หรือ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ NSA

อย่างไรก็ดีสิ่งที่มากกว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยี คือ การข่าวที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาเสริมฐานข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล “ตัวบุคคล” เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคคลที่อาจปฏิบัติการร่วมกัน หรืออยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ  

ประเทศไทยนอกจากจะโชคดีมีความปลอดภัยเนื่องจากผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากร ละเว้นการก่อวินาศกรรมเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งกบดาน หรือประเทศทางผ่านในการหลบหนีไปประเทศอื่นแล้ว   มิตรประเทศทั่วโลกยังได้ประสานข่าวกรองกับหน่วยงานความมั่นคงไทยด้วย 

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ปรากฏตัวเลขการลงทุนช่วยเหลือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆในปีท้ายๆ ก่อนจะเกิดการรัฐประหารแล้วรัฐบาลสหรัฐต้องยุติการสนับสนุนงบประมาณไปตามเงื่อนไขของข้อกฎหมายที่ “ห้ามมีความสัมพันธ์กับรัฐเผด็จการทหาร” เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรปและประเทศประชาธิปไตยอื่น

การรักษาความมั่นคงภายใต้ร่มประชาธิปไตยของโลกจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

อุกกาบาต อนุสาวรีย์ นั้นไม่เกี่ยว

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า