Skip to main content

ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูฐานในระยะหลัง คงทราบแล้วว่า รัฐบาลใหม่ของภูฐานเองก็หันไปหาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากกขึ้นเช่นกัน และลดความสำคัญของ “ความสุข” แบบที่คนไทยเคยเข้าใจกัน

ถ้าจะวัดกันให้เห็นเป็นหลักเป็นฐานว่า “ความสุข” คืออะไร ก็อาจต้องดูว่ารัฐนั้นทำให้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยดี กินครบมื้อไม่อดอยาก ได้การศึกษาราคาถูกหรือฟรี มีขนส่งมวลชนทั่วถึง บริการสาธารณสุขมีคุณภาพ มีสวัสดิการในยามตกยาก ทุพพลภาพ ชราภาพ สนับสนุนเด็กให้พัฒนาตนเองได้ ฯลฯ

หากจะวิเคราะห์จริงๆว่า ประเทศใดที่ใช้ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง คงต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอนไหม นั่นก็ได้แก่ การกำหนดว่ารับรอง “ความสุขของประชาชน” ไว้ให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย ประชาชนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และรัฐก็จะต้องให้หลักประกันว่าจะสร้างนโยบายและโครงการต่างๆ ออกมารองรับ   นั่นคือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีเพราะรัฐประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นั่นเอง

พบว่า รัฐที่คำนึงถึงความสุขโดยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือประชาชนต่อสู้ว่า “ความสุข” เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คงไม่พ้น คนยุโรปใต้ และคนลาตินอเมริกา ที่มีวิถีชีวิตแบบ กิน 5 มื้อ มีเวลาพักผ่อนนอนหลับ ทำกิจกรรมนันทนาการ และสามารถมีวันลาหยุดพักผ่อนดูแลครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม และสวัสดิการประกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ นั่นเอง

หลักฐานที่สนับสนุนก็คือ ประเทศเหล่านั้นได้ประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานเป็น "สิทธิตามกฎหมาย" แล้วนั่นเอง   กล่าวคือ รัฐบาลมีหน้าที่เปลี่ยนนโยบายเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธิจากรัฐได้ หากรัฐไม่ทำจะต้องรับผิดทางกฎหมายหรือรับผิดชอบทางการเมือง

ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คือ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และยุโรปใต้ นั่นเอง ทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติได้ทันที หากรัฐบาลของตกบกพร่องในการอำนวยสิทธิเหล่านี้   ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้จะเป็นก็แค่ภาคีกติกาสากลฯ ตัวหลักเฉยๆ

ความจริงจังของประชาชนที่ผลักดันให้รัฐบาลต้องให้สัตยาบันพิธีสารกติกาฯ สะท้อนว่า รัฐและประชาชนในประเทศเหล่านี้ เอาจริงเอาจังกับการ  "สร้างหลักประกันความสุข" อย่างมั่นคงแท้จริง

เนื่องจากหากรัฐยกเลิกเพิกถอนโครงการทั้งหลาย ประชาชนร้องเรียนไปถึงสหประชาชาติได้ทันที รัฐเสี่ยงจะหน้าแหกแบบไม่ทันตั้งตัว  ต่างจากรัฐไทยที่เป็นสมาชิกกติกาฯหลักแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ที่ประชาชนชาวไทยทำอะไรโดยตรงมิได้

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับคนยุโรปใต้และลาตินอเมริกาที่ผ่านสงครามเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน  พวกเขารู้ว่า "เงิน" และ "มูลค่าแลกเปลี่ยน" ของเงิน มันเล่นแร่แปรธาตุได้   อาจจะรวยเงินแต่ไม่มีเวลาใช้ รวยเงินสะสมแต่อาหารไม่สะอาดปลอดภัย  มีตัวเลขในบัญชี แต่ราคาสาธารณูปโภคพุ่งสูงปรี้ด หรือเจอปัญหาเงินเฟ้อสินค้าราคาแพงจนรายได้ไล่ไม่ทัน เพราะปัญหาจากกลไกตลาดและการเก็งราคาทั้งหลาย ไปจนถึงการครอบงำของบรรษัท

ดังนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้จริงๆ คือ ความสุขที่อยู่ใน "อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลเอาใจใส่กัน มีเวลาพักผ่อน นันนาการ และการศึกษาพัฒนาตัวเอง"

ชีวิตคนและความรู้สึกของมนุษย์ จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี มีการลงเงินไปโดยไม่เดือดร้อนแม้จะขาดดุลบัญชีในเชิงตัวเลข แต่คุณภาพชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็ง

คนสเปนตกงานก็จริง แต่ก็มีทักษะวิชาชีพ ออกไปหากินได้ทั่วทวีปอเมริกา และสหภาพยุโรป พูดง่ายๆ คือ สร้างบ้านให้น่าอยู่ ถ้าอยู่ไม่ไหวก็สามารถออกไปผจญภัยได้   คนอิตาลีก็พร้อมพกวิชาและความเชี่ยวชาญทางศิลปะวิทยาการไปหาโอกาสใหม่ๆ ในยามวิกฤตภายใน   หรือแม้แต่เรื่องอุปนิสัยใจคอสดใสร่าเริง มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนในประเทศร่ำรวยเข้ามาใช้ชีวิตและใช้เงินหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในยามวิกฤต

ลองมองย้อนกับมีที่บ้านเรา ที่เน้นการสะสมตัวเลขสูง ลงทุนกับคนน้อย อาชญากรรมและปัญหาสังคมมันเลยเยอะ เพราะประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีวัฒนธรรมแบบสังคมอารยะ   ไหนจะความเปราะบางของสังคมที่พร้อมจะระเบิดเป็นความขัดแย้ง กระทบคนทั้งสังคมได้ตลอดเวลา

เมื่อมองไปถึงต้นทุนของแต่ละคนก็มีทักษะในการหากินนอกประเทศที่น้อยเต็มที   ดังนั้นหากรักษาบ้านและฐานทรัพยากรไว้ไม่ได้ เห็นจะกลายเป็น "ขี้โรคแห่งอาเซียน" ของจริง

การปรับทิศทางการลงทุนกับคนด้วยการศึกษาจึงอาจจะต้องลดการทุ่มไปที่ภาษาอังกฤษ แล้วเพิ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศใกล้กันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่เรายังพอแข่งขันได้

โดยเฉพาะการนำงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในกิจกรรมของฝ่ายความมั่นคงที่เกิด “ข้อมูล/ความรู้” ก็ควรลดงานข่าวภายในประเทศแล้วออกไปผจญภัยในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยจะได้ไปตะลุยอาเซียนได้สักที ไม่ใช่เอาแต่บี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆของประเทศไทยอยู่อย่างนี้

ความสุขจึงจะกลับคืนมาเป็นของประชาชน เสียที!

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2