Skip to main content

ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูฐานในระยะหลัง คงทราบแล้วว่า รัฐบาลใหม่ของภูฐานเองก็หันไปหาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากกขึ้นเช่นกัน และลดความสำคัญของ “ความสุข” แบบที่คนไทยเคยเข้าใจกัน

ถ้าจะวัดกันให้เห็นเป็นหลักเป็นฐานว่า “ความสุข” คืออะไร ก็อาจต้องดูว่ารัฐนั้นทำให้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยดี กินครบมื้อไม่อดอยาก ได้การศึกษาราคาถูกหรือฟรี มีขนส่งมวลชนทั่วถึง บริการสาธารณสุขมีคุณภาพ มีสวัสดิการในยามตกยาก ทุพพลภาพ ชราภาพ สนับสนุนเด็กให้พัฒนาตนเองได้ ฯลฯ

หากจะวิเคราะห์จริงๆว่า ประเทศใดที่ใช้ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง คงต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอนไหม นั่นก็ได้แก่ การกำหนดว่ารับรอง “ความสุขของประชาชน” ไว้ให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย ประชาชนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และรัฐก็จะต้องให้หลักประกันว่าจะสร้างนโยบายและโครงการต่างๆ ออกมารองรับ   นั่นคือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีเพราะรัฐประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นั่นเอง

พบว่า รัฐที่คำนึงถึงความสุขโดยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือประชาชนต่อสู้ว่า “ความสุข” เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คงไม่พ้น คนยุโรปใต้ และคนลาตินอเมริกา ที่มีวิถีชีวิตแบบ กิน 5 มื้อ มีเวลาพักผ่อนนอนหลับ ทำกิจกรรมนันทนาการ และสามารถมีวันลาหยุดพักผ่อนดูแลครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม และสวัสดิการประกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ นั่นเอง

หลักฐานที่สนับสนุนก็คือ ประเทศเหล่านั้นได้ประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานเป็น "สิทธิตามกฎหมาย" แล้วนั่นเอง   กล่าวคือ รัฐบาลมีหน้าที่เปลี่ยนนโยบายเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธิจากรัฐได้ หากรัฐไม่ทำจะต้องรับผิดทางกฎหมายหรือรับผิดชอบทางการเมือง

ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คือ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และยุโรปใต้ นั่นเอง ทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติได้ทันที หากรัฐบาลของตกบกพร่องในการอำนวยสิทธิเหล่านี้   ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้จะเป็นก็แค่ภาคีกติกาสากลฯ ตัวหลักเฉยๆ

ความจริงจังของประชาชนที่ผลักดันให้รัฐบาลต้องให้สัตยาบันพิธีสารกติกาฯ สะท้อนว่า รัฐและประชาชนในประเทศเหล่านี้ เอาจริงเอาจังกับการ  "สร้างหลักประกันความสุข" อย่างมั่นคงแท้จริง

เนื่องจากหากรัฐยกเลิกเพิกถอนโครงการทั้งหลาย ประชาชนร้องเรียนไปถึงสหประชาชาติได้ทันที รัฐเสี่ยงจะหน้าแหกแบบไม่ทันตั้งตัว  ต่างจากรัฐไทยที่เป็นสมาชิกกติกาฯหลักแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ที่ประชาชนชาวไทยทำอะไรโดยตรงมิได้

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับคนยุโรปใต้และลาตินอเมริกาที่ผ่านสงครามเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน  พวกเขารู้ว่า "เงิน" และ "มูลค่าแลกเปลี่ยน" ของเงิน มันเล่นแร่แปรธาตุได้   อาจจะรวยเงินแต่ไม่มีเวลาใช้ รวยเงินสะสมแต่อาหารไม่สะอาดปลอดภัย  มีตัวเลขในบัญชี แต่ราคาสาธารณูปโภคพุ่งสูงปรี้ด หรือเจอปัญหาเงินเฟ้อสินค้าราคาแพงจนรายได้ไล่ไม่ทัน เพราะปัญหาจากกลไกตลาดและการเก็งราคาทั้งหลาย ไปจนถึงการครอบงำของบรรษัท

ดังนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้จริงๆ คือ ความสุขที่อยู่ใน "อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลเอาใจใส่กัน มีเวลาพักผ่อน นันนาการ และการศึกษาพัฒนาตัวเอง"

ชีวิตคนและความรู้สึกของมนุษย์ จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี มีการลงเงินไปโดยไม่เดือดร้อนแม้จะขาดดุลบัญชีในเชิงตัวเลข แต่คุณภาพชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็ง

คนสเปนตกงานก็จริง แต่ก็มีทักษะวิชาชีพ ออกไปหากินได้ทั่วทวีปอเมริกา และสหภาพยุโรป พูดง่ายๆ คือ สร้างบ้านให้น่าอยู่ ถ้าอยู่ไม่ไหวก็สามารถออกไปผจญภัยได้   คนอิตาลีก็พร้อมพกวิชาและความเชี่ยวชาญทางศิลปะวิทยาการไปหาโอกาสใหม่ๆ ในยามวิกฤตภายใน   หรือแม้แต่เรื่องอุปนิสัยใจคอสดใสร่าเริง มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนในประเทศร่ำรวยเข้ามาใช้ชีวิตและใช้เงินหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในยามวิกฤต

ลองมองย้อนกับมีที่บ้านเรา ที่เน้นการสะสมตัวเลขสูง ลงทุนกับคนน้อย อาชญากรรมและปัญหาสังคมมันเลยเยอะ เพราะประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีวัฒนธรรมแบบสังคมอารยะ   ไหนจะความเปราะบางของสังคมที่พร้อมจะระเบิดเป็นความขัดแย้ง กระทบคนทั้งสังคมได้ตลอดเวลา

เมื่อมองไปถึงต้นทุนของแต่ละคนก็มีทักษะในการหากินนอกประเทศที่น้อยเต็มที   ดังนั้นหากรักษาบ้านและฐานทรัพยากรไว้ไม่ได้ เห็นจะกลายเป็น "ขี้โรคแห่งอาเซียน" ของจริง

การปรับทิศทางการลงทุนกับคนด้วยการศึกษาจึงอาจจะต้องลดการทุ่มไปที่ภาษาอังกฤษ แล้วเพิ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศใกล้กันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่เรายังพอแข่งขันได้

โดยเฉพาะการนำงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในกิจกรรมของฝ่ายความมั่นคงที่เกิด “ข้อมูล/ความรู้” ก็ควรลดงานข่าวภายในประเทศแล้วออกไปผจญภัยในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยจะได้ไปตะลุยอาเซียนได้สักที ไม่ใช่เอาแต่บี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆของประเทศไทยอยู่อย่างนี้

ความสุขจึงจะกลับคืนมาเป็นของประชาชน เสียที!

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า