Skip to main content

ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  

กลุ่มที่ตกใจและตื่นตระหนกเป็นที่สุดเห็นจะเป็นผู้ใหญ่ล่วงเข้าวัยชราที่กังวลว่า ใครจะมาทำงาน ใครจะมาดูแล ใครจะมาสืบทอดสืบสานงานที่ยังไม่สิ้นสุด ถึงขนาดคิดขึ้นมาเป็นชุดว่านี่คือสิ่งที่จะทำให้ชาติสิ้นสุดและเศรษฐกิจสะดุดลง ด้วยสิ่งที่เรียกว่า   “สังคมสูงวัย” Aging Society

ลองสาเหตุของภาวะสังคมที่มีคนสูงวัยเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม คงไปโทษว่าระบบสาธารณสุขดี สังคมมีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ได้ เพราะมันสะท้อนว่าสังคมเราได้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้มี “เวลา” พัฒนาตัวเองและสังคมมากขึ้นด้วย

สาเหตุที่แท้จริง คือ จำนวนคนเกิดใหม่ไล่ไม่ทันคนแก่ !
 

แล้วทำไมจึงมีคนเกิดใหม่น้อยลง ?

ทำไม คนจึงตัดสินใจอยู่ด้วยกันน้อยลง มีลูกด้วยกันน้อยลง และลดจำนวนลูกในแต่ละครอบครัวน้อยไปต่ำกว่า อัตราที่เหล่าผู้อาวุโสแห่ง สสส.  คาดหวังให้มีกันสักสามคนต่อครัวเรือน

การเมืองเรื่อง อยากให้คนกลุ่มไหนสถานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาระดับใดมีลูกเยอะก็น่าคิด   แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่คุณแม่วัยรุ่นที่เขาพยายามลดอัตราการเกิด   ยิ่งมีงานวิจัยที่ สสส.สนับสนุน บอกให้แก้ด้วยการเก็บภาษีคนโสดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจพอใช้สามารถมีครอบครัวได้   คงชัดเจนว่า อยากให้คนชั้นกลางขึ้นไปมีลูกมากขึ้น เพื่อมาเพิ่มจำนวนกลุ่มใดในทางการเมืองด้วยรึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้

เมื่อตัดคุณแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่เกินอัตราเกิดใหม่ไปถึง 53% ออกไป คงเห็นกันชัดเจนใช่ไหมว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น   ไหนจะอัตราหย่าร้างที่พุ่งสูงมาก อัตราสตรีโสดของกรุงเทพฯ ที่อยู่อันดับสองของเอเชีย   คงสะท้อนว่า มันมีอะไรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ “หญิง-ชาย” ไทยแน่นอน

คนรุ่นใหม่ และนักวิชาการบอกว่า ทุกวันนี้การแต่งงาน มีคู่ หรือมีลูกหลานครอบครัว ไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดที่ทุกคนต้องทำอีกต่อไป   มีกิจกรรมอีกหลายอย่างให้คนรู้สึกอิ่มเอมและมีความสุขได้แม้จะไม่ผูกมัดตัวเองอยู่กับใคร

แต่ก็ชวนสงสัยว่าแค่ เพลินๆ หรือ เลือกเดินทางนี้มาแต่ไหนแต่ไร     หากตัดกลุ่มนี้ออกไปให้เหลือคนที่อยากมีคู่หรือมีคู่แล้วแต่ไม่อยากมีลูก ไม่กล้ามีครอบครัว น่าจะได้คำตอบชัดเจนกว่า

เราพบคนที่พูดว่า   “ยังไม่มั่นคง”   หรือ   “เสี่ยงเกินไป” บ่อยครั้ง   ทั้งที่ตั้งใจตอบแต่ต้น หรือเมื่อไล่ถามจนถึงแก่น

 

ความไม่มั่นคง” กับ “ความเสี่ยง”
สองสิ่งนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องกำจัดหรือกระชับให้น้อยลงหน่อย หากจะทำให้คนมั่นใจกล้าเสี่ยงมีคู่ และมีลูกเพื่อสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง  

ความเสี่ยง หรือ ไม่มั่นคง   มีหลายปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขขัดขวางชีวิต ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงวัฒนธรรม ที่บิดเบือนธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกสร้างมาขยายเผ่าพันธุ์สืบไปเผื่อว่าใครเกิดมาใหม่จะสร้างความเป็นไปได้อันยิ่งใหญ่ในอนาคต   จึงไม่น่าแปลกใจที่คนเจเนอเรชั่น X หรือ Y ลงมาจะตัดสินใจเป็นโสด หรือไม่มีครอบครัวมากขึ้น

จนเดี๋ยวนี้ “คนโสด” และ “ความโสด” กลายเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ธุรกิจใหญ่น้อยเข้ามาคอยหากิน   โดยขายความตื่นเต้น เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ไปผจญภัย หรือได้เป็นคนสำคัญ เพื่อลบความรู้สึก “โล่ง กลวง โบ๋” ที่โตคับอกคับใจให้แคบลงบ้าง
เพื่อลบความอ้างว้างเหล่านี้ คนโสดต้องเสียอะไรไปมากมาย แต่สังคมอาจไม่ได้อะไรกลับมา

ใช่แล้ว ผมกำลังจะบอกว่า คนไม่ได้อยากโสดเองทั้งหมด  แต่เพราะเงื่อนไขหลายๆอย่างในสังคมทำให้คนเลือกที่จะ “โสดดีกว่า”   เพราะว่าไม่มีอะไรมาทำให้มั่นใจว่า เสี่ยงมีครอบครัวไปแล้วจะมั่นคง

 

แล้วใครล่ะที่มีความมั่นคง?

คนที่มีเวลาสะสมความมั่งคั่งมานาน จะเป็นกลุ่มไหนถ้าไม่ใช่ ผู้อาวุโสที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับเมินเฉยปัญหาเหล่านี้ แถมใช้วิธีดึงคนรุ่นใหม่ให้อยู่ใต้อาณัติโดยไม่ปล่อยให้ไปจัดการชีวิตตนเอง ไม่ให้ทุน ไม่ให้โอกาส ไม่ให้อำนาจจัดการ หรือกำหนดนโยบายสังคม ใดๆทั้งสิ้น

ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างคนแก่ที่กุมอำนาจเศรษฐกิจการเมือง กับ คนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังในการนำพาอนาคตประเทศชาติแต่ขาดทุนตั้งต้น  

สงครามระหว่างเจนเนอร์เรชั่น จึงอาจบังเกิดขึ้น!!!   แทนที่ ความรักความห่วงใยระหว่างกัน


นโยบายสลายโสดและเพิ่มจำนวนประชากร

ภาษีครอบครัว กฎหมายครอบครัว ที่ไม่ส่งเสริมให้คนสร้างครอบครัวใหม่ หรือสร้างมาตรการรองรับเหตุอันไม่คาดฝันในอนาคต ย่อมกดโอกาสให้คนตัดสินใจมีคู่ลดลง ยิ่งมีลูกล่ะไม่ต้องพูดถึง

คนในวิชาชีพขั้นสูง งานใช้ฝีมือ และมีการศึกษา เมื่อตระหนักแล้วว่า เสี่ยง จึงตัดสินใจไม่มีลูก ไม่มีครอบครัว

ส่วนพวกพร้อมแต่ยังไม่เจอเนื้อคู่  ทั้งที่เราเป็นคนสังคมกว้างไกลมีเครือข่ายเยอะแยะจะเห็นว่า  ไอ้คนโสดคนนี้มันอยากได้คุณสมบัติแบบคนนั้น   แต่จะทำอย่างไรให้เขา/เธอได้รู้จักกัน   มันเป็นปัญหาขาดการเชื่อมข้อมูลและเครือข่ายของคนโสด  ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้คนพบกันแบบไม่เกร็ง ขาดพื้นที่ให้คนมีชีวิตว่างร่วมกันทำกิจกรรม หรือขาดตัวกลางที่จัดการข้อมูลให้คนที่เหงา หรืออยากมีคู่ได้เจอกัน เพื่อทำให้ฝันของคนที่มีความคาดหวังแบบที่ตรงกัน แต่หากันไม่เจอ ได้หากันจนเจอ

 

หาก “เวลา” คือ สิ่งสำคัญในชีวิต มนุษย์จะเลือกเติมอะไรลงไปในเวลาที่ตนมีอย่างจำกัด

เรามาร่วมผลักดันให้รัฐสร้างมาตรการและสวัสดิการให้แก่คนทำงานรุ่นใหม่ ให้มี “เวลาว่าง” มากพอ ที่จะสร้างครอบครัวเพื่อส่งต่อ “คบเพลิงแห่งความหวัง”   เป็นพลังรุ่นใหม่ให้ธำรงไว้ซึ่ง มวลมนุษยชาติ กันดีไหม

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2