Skip to main content

ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  

กลุ่มที่ตกใจและตื่นตระหนกเป็นที่สุดเห็นจะเป็นผู้ใหญ่ล่วงเข้าวัยชราที่กังวลว่า ใครจะมาทำงาน ใครจะมาดูแล ใครจะมาสืบทอดสืบสานงานที่ยังไม่สิ้นสุด ถึงขนาดคิดขึ้นมาเป็นชุดว่านี่คือสิ่งที่จะทำให้ชาติสิ้นสุดและเศรษฐกิจสะดุดลง ด้วยสิ่งที่เรียกว่า   “สังคมสูงวัย” Aging Society

ลองสาเหตุของภาวะสังคมที่มีคนสูงวัยเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม คงไปโทษว่าระบบสาธารณสุขดี สังคมมีความปลอดภัยมากขึ้นไม่ได้ เพราะมันสะท้อนว่าสังคมเราได้พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้มี “เวลา” พัฒนาตัวเองและสังคมมากขึ้นด้วย

สาเหตุที่แท้จริง คือ จำนวนคนเกิดใหม่ไล่ไม่ทันคนแก่ !
 

แล้วทำไมจึงมีคนเกิดใหม่น้อยลง ?

ทำไม คนจึงตัดสินใจอยู่ด้วยกันน้อยลง มีลูกด้วยกันน้อยลง และลดจำนวนลูกในแต่ละครอบครัวน้อยไปต่ำกว่า อัตราที่เหล่าผู้อาวุโสแห่ง สสส.  คาดหวังให้มีกันสักสามคนต่อครัวเรือน

การเมืองเรื่อง อยากให้คนกลุ่มไหนสถานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาระดับใดมีลูกเยอะก็น่าคิด   แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่คุณแม่วัยรุ่นที่เขาพยายามลดอัตราการเกิด   ยิ่งมีงานวิจัยที่ สสส.สนับสนุน บอกให้แก้ด้วยการเก็บภาษีคนโสดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจพอใช้สามารถมีครอบครัวได้   คงชัดเจนว่า อยากให้คนชั้นกลางขึ้นไปมีลูกมากขึ้น เพื่อมาเพิ่มจำนวนกลุ่มใดในทางการเมืองด้วยรึเปล่าก็ไม่อาจทราบได้

เมื่อตัดคุณแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ที่เกินอัตราเกิดใหม่ไปถึง 53% ออกไป คงเห็นกันชัดเจนใช่ไหมว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น   ไหนจะอัตราหย่าร้างที่พุ่งสูงมาก อัตราสตรีโสดของกรุงเทพฯ ที่อยู่อันดับสองของเอเชีย   คงสะท้อนว่า มันมีอะไรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ “หญิง-ชาย” ไทยแน่นอน

คนรุ่นใหม่ และนักวิชาการบอกว่า ทุกวันนี้การแต่งงาน มีคู่ หรือมีลูกหลานครอบครัว ไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดที่ทุกคนต้องทำอีกต่อไป   มีกิจกรรมอีกหลายอย่างให้คนรู้สึกอิ่มเอมและมีความสุขได้แม้จะไม่ผูกมัดตัวเองอยู่กับใคร

แต่ก็ชวนสงสัยว่าแค่ เพลินๆ หรือ เลือกเดินทางนี้มาแต่ไหนแต่ไร     หากตัดกลุ่มนี้ออกไปให้เหลือคนที่อยากมีคู่หรือมีคู่แล้วแต่ไม่อยากมีลูก ไม่กล้ามีครอบครัว น่าจะได้คำตอบชัดเจนกว่า

เราพบคนที่พูดว่า   “ยังไม่มั่นคง”   หรือ   “เสี่ยงเกินไป” บ่อยครั้ง   ทั้งที่ตั้งใจตอบแต่ต้น หรือเมื่อไล่ถามจนถึงแก่น

 

ความไม่มั่นคง” กับ “ความเสี่ยง”
สองสิ่งนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องกำจัดหรือกระชับให้น้อยลงหน่อย หากจะทำให้คนมั่นใจกล้าเสี่ยงมีคู่ และมีลูกเพื่อสร้างครอบครัวอย่างมั่นคง  

ความเสี่ยง หรือ ไม่มั่นคง   มีหลายปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขขัดขวางชีวิต ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงวัฒนธรรม ที่บิดเบือนธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกสร้างมาขยายเผ่าพันธุ์สืบไปเผื่อว่าใครเกิดมาใหม่จะสร้างความเป็นไปได้อันยิ่งใหญ่ในอนาคต   จึงไม่น่าแปลกใจที่คนเจเนอเรชั่น X หรือ Y ลงมาจะตัดสินใจเป็นโสด หรือไม่มีครอบครัวมากขึ้น

จนเดี๋ยวนี้ “คนโสด” และ “ความโสด” กลายเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ธุรกิจใหญ่น้อยเข้ามาคอยหากิน   โดยขายความตื่นเต้น เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ไปผจญภัย หรือได้เป็นคนสำคัญ เพื่อลบความรู้สึก “โล่ง กลวง โบ๋” ที่โตคับอกคับใจให้แคบลงบ้าง
เพื่อลบความอ้างว้างเหล่านี้ คนโสดต้องเสียอะไรไปมากมาย แต่สังคมอาจไม่ได้อะไรกลับมา

ใช่แล้ว ผมกำลังจะบอกว่า คนไม่ได้อยากโสดเองทั้งหมด  แต่เพราะเงื่อนไขหลายๆอย่างในสังคมทำให้คนเลือกที่จะ “โสดดีกว่า”   เพราะว่าไม่มีอะไรมาทำให้มั่นใจว่า เสี่ยงมีครอบครัวไปแล้วจะมั่นคง

 

แล้วใครล่ะที่มีความมั่นคง?

คนที่มีเวลาสะสมความมั่งคั่งมานาน จะเป็นกลุ่มไหนถ้าไม่ใช่ ผู้อาวุโสที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับเมินเฉยปัญหาเหล่านี้ แถมใช้วิธีดึงคนรุ่นใหม่ให้อยู่ใต้อาณัติโดยไม่ปล่อยให้ไปจัดการชีวิตตนเอง ไม่ให้ทุน ไม่ให้โอกาส ไม่ให้อำนาจจัดการ หรือกำหนดนโยบายสังคม ใดๆทั้งสิ้น

ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างคนแก่ที่กุมอำนาจเศรษฐกิจการเมือง กับ คนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังในการนำพาอนาคตประเทศชาติแต่ขาดทุนตั้งต้น  

สงครามระหว่างเจนเนอร์เรชั่น จึงอาจบังเกิดขึ้น!!!   แทนที่ ความรักความห่วงใยระหว่างกัน


นโยบายสลายโสดและเพิ่มจำนวนประชากร

ภาษีครอบครัว กฎหมายครอบครัว ที่ไม่ส่งเสริมให้คนสร้างครอบครัวใหม่ หรือสร้างมาตรการรองรับเหตุอันไม่คาดฝันในอนาคต ย่อมกดโอกาสให้คนตัดสินใจมีคู่ลดลง ยิ่งมีลูกล่ะไม่ต้องพูดถึง

คนในวิชาชีพขั้นสูง งานใช้ฝีมือ และมีการศึกษา เมื่อตระหนักแล้วว่า เสี่ยง จึงตัดสินใจไม่มีลูก ไม่มีครอบครัว

ส่วนพวกพร้อมแต่ยังไม่เจอเนื้อคู่  ทั้งที่เราเป็นคนสังคมกว้างไกลมีเครือข่ายเยอะแยะจะเห็นว่า  ไอ้คนโสดคนนี้มันอยากได้คุณสมบัติแบบคนนั้น   แต่จะทำอย่างไรให้เขา/เธอได้รู้จักกัน   มันเป็นปัญหาขาดการเชื่อมข้อมูลและเครือข่ายของคนโสด  ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้คนพบกันแบบไม่เกร็ง ขาดพื้นที่ให้คนมีชีวิตว่างร่วมกันทำกิจกรรม หรือขาดตัวกลางที่จัดการข้อมูลให้คนที่เหงา หรืออยากมีคู่ได้เจอกัน เพื่อทำให้ฝันของคนที่มีความคาดหวังแบบที่ตรงกัน แต่หากันไม่เจอ ได้หากันจนเจอ

 

หาก “เวลา” คือ สิ่งสำคัญในชีวิต มนุษย์จะเลือกเติมอะไรลงไปในเวลาที่ตนมีอย่างจำกัด

เรามาร่วมผลักดันให้รัฐสร้างมาตรการและสวัสดิการให้แก่คนทำงานรุ่นใหม่ ให้มี “เวลาว่าง” มากพอ ที่จะสร้างครอบครัวเพื่อส่งต่อ “คบเพลิงแห่งความหวัง”   เป็นพลังรุ่นใหม่ให้ธำรงไว้ซึ่ง มวลมนุษยชาติ กันดีไหม

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า