Skip to main content

มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที่แต่เดิมเคยมีให้กับประชาชน 

ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นนโยบายที่องค์กรเศรษฐกิจข้ามชาติอย่าง IMF แนะนำให้ประเทศจำนวนมากปรับใช้ หรือบังคับเป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับการขอกู้ยืมเงินเพื่อพยุงกองทุนสำรองระหว่างประเทศของตน พูดง่ายๆ คือ เงื่อนไขในการรับความช่วยเหลือเมื่อเศรษฐกิจประเทศกำลังล้มละลาย

หากเทียบให้เห็นคู่ตรงข้ามแบบที่คนไทยนึกภาพง่ายๆ ก็คือ เป็นนโยบายตรงกันข้ามกับ Populism หรือประชานิยมนั่นเอง แม้จะไม่ชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมคืออะไร มีขอบเขตว่าแค่ไหนเป็นหรือไม่เป็นประชานิยม   แต่ที่รับรู้ร่วมกัน คือ นโยบายที่รัฐลงทุนไปกับการสร้างสวัสดิการ โครงการ ไปยังกลุ่มคนจำนวนหนึ่งเพื่อหวังคะแนนเสียง โดยเน้นการเอางบประมาณรัฐมาใช้จ่าย โดยบางกรณีถึงขั้นสุรุ่ยสุร่ายเรื่อยเปื่อยไร้จุดหมายว่า ทำไปแล้วจะได้อะไร
นั่นคือ เป็นการลงทุนที่ไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนได้ชัด

ประเด็นที่ต้องขบให้แตก คือ จะลงทุนหรือใช้จ่ายภาครัฐอย่างไรให้เกิดผลตอบแทนกลับมา?

ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลตอบแทนเป็นเงินรายได้ต่อรัฐทางตรง เช่น ลงทุนสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจนมีการลงทุนหรือเกิดการบริโภคมากขึ้นจนจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น   หรือการลงทุนไปกับสวัสดิการในคุณภาพชีวิตมนุษย์ทำให้พลเมืองอยู่อย่างสงบไม่ลักวิ่งชิงปล้น ก่อหวอด หรือมีสุขภาพดีจนไม่ต้องเข้าสถานพยาบาลบ่อยสิ้นเปลืองงบประมาณสาธารณสุข เป็นต้น

หากลองยกตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะความเป็นอยู่ นิสัยใจคอ และเป็นต้นทางให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่อง นโยบายรัดเข็มขัดและประชานิยม เห็นจะไม่พ้น ลาตินอเมริกา และเมื่อจะย้อนเกล็ดไปให้ถึงต้นตอ ก็ต้องพูดถึง อดีตเจ้าอาณานิคมสเปน นั่นเอง

ปีนี้สเปนจะมีการเลือกตั้งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตประเทศ นั่นคือ ดุลการเมืองกำลังจะเปลี่ยน โดยที่เศรษฐกิจของสเปนอยู่ในภาวะวิกฤตมาครึ่งศตวรรษแล้ว เมื่อปี 2011-12 เกิดการชุมนุมใหญ่ทั่วสเปนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่นักศึกษาที่ว่างงานสืบเนื่องมาจากนโยบายรัดเข็มขัด

จนนำไปสู่กระแสถกเถียงในสังคมว่า วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากอะไรกันแน่ เกิดจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไร้วินัย หรือความด้อยประโยชน์ของพรรคการเมืองของชนชั้นนำที่ไม่สร้างนโยบายมาแก้ปัญหาเอาแต่รักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง  ซึ่งไปสอดคล้องกับกระแสต่อต้านการผูกขาดอำนาจของผู้มั่งคั่งเพียง 1% ในอเมริกา จนสร้างกระแส Occupy โดยเหล่านักสู้นิรนาม Annonymous ไปทั่วโลก

อย่างไรก็ดีการเลือกตั้งของชาติยุโรปในระยะหลังเริ่มเห็นความเสื่อมถอยของพรรคฝ่ายซ้ายที่เน้นนโยบายลงทุนกับคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมสวัสดิการต่างๆของประชาชน อย่างล่าสุดพรรคแรงงานอังกฤษก็พ่ายแพ้ไปเช่นกัน มีเพียงกรีซที่รับทราบกันดีว่าสถานการณ์ล่วงเลยจุดปกติไปแล้ว ประชาชนเริ่มทนไม่ไหวกับภาวะรัดเข็มขัดจนเกิดคนว่างงาน ไร้บ้าน เร่ร่อนจำนวนมาก จนเกิดกระแสหวนกลับทำให้พรรคซ้ายจัดกลับมามีชัยชนะและกำลังงัดข้อกับประเทศร่ำรวยของยุโรปอยู่ในขณะนี้ ว่าจะรับเงินพยุงเศรษฐกิจแลกกับเงื่อนไขรัดเข็มขัดและวินัยการเงินอีกหรือไม่

สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแรงและประชาชนเสื่อมศรัทธาในพรรคลงไปมาก  จนในขณะนี้เกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “เราทำได้” (Podemos) ของคนรุ่นใหม่และคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดขึ้นมา ด้วยเหตุที่พรรคการเมือง ทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ของสเปนวิกฤต กล่าวคือ แนวโน้มนโยบายพรรคทั้งสองขั้วแทบไม่ต่างกัน และนับวันพรรคกับประชาชนยิ่งห่างกัน มวลชนรู้สึกไม่ได้รับการตอบสนองจากพรรค คนสเปนทั่วไปรู้สึกว่า นักการเมืองทั้งสองขั้วมีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนาย มีการสืบทอดทายาท ฯลฯ

ความล้มเหลวของ พรรคซ้ายและขวา ของสเปน ทำให้คนเบื่อหน่าย จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม"

อนึ่งต้องเข้าใจว่า คนยุโรปใต้นี่จะสนใจประเด็น ความเหลื่อมล้ำ นายทุน คนรวย ศักดินา ทุนผูกขาด ต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์มาก   พรรคที่เน้นตอบสนองมวลชนอย่าง Podemos เลยมาถูกที่ถูกเวลา

ย้อนกลับไปตอบคำถามข้างต้น คือ แล้วการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างไรล่ะจึงจะเป็นที่พอใจของประชาชน และไม่ทำให้ประเทศล่มสลายไปด้วย

ประชาชนต้องการให้พรรคลดการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เงินในการคงระบบราชการขนาดใหญ่ที่ประชาชนรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ ล่าช้า แม้จะจ้างคนเยอะก็ตาม   การใช้จ่ายด้านการทหาร ฯลฯ

รวมไปถึงการสมยอมกันระหว่างนักการเมืองและแกนนำสหภาพแรงงานเรื่องขยายอายุเกษียณ อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ยิ่งหางานทำยากขึ้นไปอีก

ในระดับท้องถิ่น ก็วิจารณ์ การนำเงินมาจัดงานเทศกาลต่างๆ ที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยหรือดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จริง แต่ก็ดูเหมือนไม่ได้ประโยชน์กับคนนอกภาคธุรกิจท่องเที่ยว  

สิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ การลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ การคงหลักประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการเมื่อว่างงานหรือพ้นวัยทำงาน นั่นก็คือ การลงทุนไปที่การขยายโอกาสทางการผลิต การบริการ มากกว่าอุดหนุนภาคราชการ

การใช้จ่ายภาครัฐไม่ผิด อยู่ที่ว่าจะลงทุนไปกับอะไร ให้ใคร แล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไรต่างหาก

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2